Translate

วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2560

แทนนิน

แทนนิน
ช่วงหน้าฝนแบบนี้ผลไม้ต่างมากมายมีมาขายตามท้องตลาด วันนี้ผมจะพามารู้จักสารสกัดจากเปลือกของผลไม้ ที่ส่วนมากกินเสร็จก็ทิ้งไม่เกิดประโยชน์ สารที่ทีในเปลือกของผลไม้ที่มีรสฝาดมีอยู่ตัวนึงที่ค่อนข้างมีประโยชน์ในการต่อต้านและป้องกันการเกิดของเชื้อราต่างๆได้ เรียกว่า แทนนิน สารแทนนินกำจัดและยับยั้งเชื้อราในการเพาะเห็ด สารแทนนินมีมากในผลไม้ชนิดต่างๆเปลือกไม้รสฝาด ใบของพืชบางชนิดเช่น เปลือกมังคุด เปลือกเงาะ ใบฝรั่ง เปลือกของเม็ดบัว ใบชา สารแทนนินที่ผ่านการสกัดสามารถยับยั้งการเติบโตของเชื้อรา ที่ส่งผลต่อเห็ดเช่น ราดำ ราส้ม ราเขียว รากระหล่ำ และราอื่นๆ แนะนำใช้ในการป้องกันคือใช้ในขั้นตอนอบไอน้ำ โรยเชื้อ ตัดใย
วิธีสกัดเพื่อนำมาใช้ นำมาตากให้แห้งแล้วนำมาต้มกับน้ำเปล่า สัดส่วน 1 กก/น้ำเปล่า 2 ลิตร ต้มที่ความร้อน จะใช้เวลา 2 ชั่วโมงหรือจนนำลดลงครึ่งหนึ่งสามารถนำไปใช้ได้ น้ำที่ได้จะมีลักษณะสีเหลือง **ควรใช้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังต้มเสร็จ สารแทนนินไม่ส่งผลต่อใยเห็ดสามารถใช้ผสมน้ำฉีดที่วัสดุเพาะได้ในช่วง 1.อบไอน้ำ ผสมน้ำที่ใช้อบไอน้ำ อัตราส่วน 1:5 2.ฉีดช่วงโรยเชื้อและตัดใยอัตราส่วน 1:10 3.เมื่อเจอเชื้อรา อัตราส่วน 1:1 (บางชนิด)

light

24-06-2017 #แสง
. เป็นหนึ่งสิ่งที่จะว่าสำคัญก็ได้หรือไม่สำคัญเลยก็ไม่ผิด อยู่ที่ความเข้าใจ แสงเป็นตัวช่วยที่ทำงานพร้อมกับออกซิเจนให้เห็ดจับดอก มีแค่แสงไม่มีออกซิเจนเห็ดจับเม็ดไม่ได้ มีออกซิเจนไม่มีแสงเห็ดจับเม็ดได้ แต่ถ้ามีทั้งแสงทั้งออกซิเจนเห็ดจะจับเม็ดได้ดีกว่าเพราะดึงเอาอากาศได้มากและเร็วกว่า โดยบางสถานะการณ์เราจะให้แสงพร้อมกับอากาศหลังจากที่ตัดใยแล้วเพื่อบังคับให้เห็ดจับเม็ด แสงที่ใช้กระตุ้นดอกใช้ได้ทั้งแสงสว่างธรรมชาติและแสงจากหลอดไฟ การให้แสงควรให้ในปริมาณที่พอดีมีความเข้มที่เหมาะสม ถ้ามากเกินไป จะทำให้เห็ดดำไม่สวย หากน้อยไปเห็ดจะจับเม็ดช้า. แสงที่พอดีควรประมาณแสงที่เราอ่านหนังสือได้ จะเป็นแสงสีฟ้า สีขาว หรือเหลือง ก้อได้ กรณีใช้หลอดไฟ ควรหลีกเลี่ยงหลอดใส้ที่มีความร้อน และใช้หลอด แอล อี ดี แทน
แสงนั้นแม้จะไม่มีความสำคัญมาก.แต่ถ้าเข้าใจเรื่องแสงแล้ว เราจะสามารถบังคับให้เห็ดเกิดได้ไม่ยาก เป็นเสมือนเบี้ยตัวหนึ่งในเกมส์กระดาน ที่จะพาเราชนะหากเดินถูกวิธี ซึ่งในการเพาะแบบโรงเรือนนั้นสามารถชี้ถึงเปอรเซนต์การเกิดและความสำเร็จในการเพาะแต่ละรุ่นได้เลย
แล้วถ้าไม่มีแสงเห็ดจะสามรถเกิดและโตได้ไหม คำตอบคือเกิดและโตได้ปกติ เพราะตัวที่จะทำให้เห็ดจับเม็ดจริงๆนั่นคือออกซิเจน หากรู้วิธีป้อนออกซิเจนให้เห็ดทั่วถึงเราจะไม่ใช้แสงมาช่วยก็ได้ เห็ดฟางก็เหมือนกับคนเหมือนสัตว์ที่มีสัญชาติญาณการเอาตัวรอด สัญชาติญาณการสืบพันธ์ุ การเพาะเห็ดฟางตะกร้า กองเตี้ย หรือโรงเรือน ก็คือการจำลองสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับความต้องการ ของเห็ด สมัยปู่ย่าตายายเมื่อก่อนกว่าจะได้เห็ดฟางมากินนี่ก็ยุ่งยาก ไม่มีเชื้อเห็ดเหมือนทุกวันนี้ จะกินทีต้องใช้เวลาเป็นเดือน อาจจะออกหรือไม่ออกก็ได้ ตอนเด็กๆ อยู่ท้องนา พ่อจะเอาฟางมากอง เอาขี้วัวใส่หน่อยแล้วก็รดน้ำทุกวัน ครบอาทิตย์ ก็โกยเอาด้านล่างขึ้นมา ไม่นานก็จะมีเห็ดฟางให้เก็บ จะว่าไปมันก็คงคล้ายทุกวันนี้ที่เราเพาะเห็ด ที่ต้องมีการให้อาหาร มีอากาศ มีอุณหภูมิ มีความชื้นที่เหมาะสม นอกจากนั้นเรายังสามารถบังคับให้เห็ดออกดอก ให้เห็ดเดินใย ให้เห็ดสะสมอาหาร ปัจจัยหลักๆก็เป็นแค่พื้นฐาน มีแค่ อาหาร อากาศ ความชื้น อุณหภูมิ วนเวียนกันอยู่แบบนี้ คนที่เข้าใจพื้นฐานเหล่านี้แล้วสามารถลดค่าใช้จ่ายได้เยอะ ใช้ในสิ่งที่ควรใช้ ไม่จำเป็นต้องมีฮอร์โมน ไม่จำเป็นต้องใช้อาหารเสริม ไม่จำเป็นต้องมีเตาอบสตรีมแพงๆ ไม่จำเป็นต้องมีตัวควบคุมอุณภูมิหรูๆ เขาก็ยังเพาะเห็ดออกมาได้จริงไหม..



สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการตัดใยเห็ด

นำเสนอเรื่องนี้เพราะหลายคนเจอปัญหาเส้นใยเคลือบหน้าวัสดุ อยากชี้ชัดให้เข้าใจเกี่ยวกับการตัดใยที่ถูกต้อง. การตัดใยไม่ใช่แค่ฉีดน้ำ ใส่เส้นใยก็เสร็จ การตัดใยไม่ใช่การเพิ่มความชื้นเพราะถึงไม่ฉีดน้ำใส่ก็ตัดใยได้ การตัดใยจึงแบ่งเป็นสองแบบตามสภาพแวดล้อมและลักษณะของเส้นใย คือตัดแบบใช้น้ำ และตัดโดยอากาศ ไม่ใช่เราจะตัดโดยใช้น้ำได้อย่างเดียวเพราะนั่นคือคุณจะเข้าใจผิดตลอดไปนะครับ. การตัดใยที่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ที่ถูกคือทำยังไงก็ได้ให #้เส้นใยได้รับออกซิเจนมากที่สุด หากทำการตัดใยด้วยน้ำต้องตัดให้เส้นใยขาดจากกัน ไม่ใช่แค่ยุบ บางท่านอาจจะสงสัยทำไมต้องขาด แล้วแบบไหนเรียกว่าขาด ที่ต้องให้ขาดเพราะการตัดใยโดยใช้น้ำนั้นจะทำเมื่อเส้นใยเดินนอกวัสดุเพาะ แล้วมันจะฟูมาก ถ้าเราพ่นแต่ผ่านๆ เส้นใยจะแค่ยุบตัว แล้วจะมีปัญหาตามมาทีหลังคือ ใยเคลือบวัสดุหรือที่เรียกว่าหนังหมู มันจะแข็งแล้วเห็ดรุ่นต่อมาจะขึ้นได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็นเพราะใยเก่าจะปิดกั้นอากาศไว้ เราจึงต้องใช้น้ำที่มีความแรง ไม่ต้องกลัวว่าน้ำแรงมากเชื้อที่โรยจะหล่นแล้วเห็ดจะไม่ขึ้น เพราะเมื่อมีเส้นใยเกิดส่วนหนึ่งก็จะอยู่ในวัสดุแล้ว ดังนั้นตัดแรงๆไปเลย จนมองไม่เห็นเส้นใยนั่นแหละ และการที่จะตัดเส้นใยให้ดีไม่มีปัญหาทีหลังนั้นเราต้องย้อนไปถึง
1.ขั้นตอนโรยเชื้อ. หลังโรยเชื้อแล้วพยายามฉีดน้ำใส่เชื้อเห็ดให้ยุบติด วัสดุมากที่สุดเพื่อให้เส้นใยเดินในวัสดุ ไม่ให้มันฟูมากเกินไป ถ้าฟูมากมันตัดใยไม่ค่อยขาด เราเพาะเห็ดเพื่อให้ได้เห็ดที่สมบูรณ์ แข็งแรง เราไม่ได้เพาะเห็ดเพื่อโชว์ว่าใยเยอะ. เส้นใยบอกอะไรเราได้หลายอย่าง เพราะใยเยอะฟูมากหมายถึง มันหาอาหารไม่ได้ แม้อาหารจะมีเพียบก็ตาม บางคนชอบใยเยอะ ใยเยอะเห็ดจับเม็ดเยอะแต่แป้บเดียวมันก็บานครับ แถมลูกจะเล็กด้วย
ผมจึงอยากให้รดน้ำหลังจากโรยเชื้อไปแล้วเพื่อให้ใยมันติดวัสดุมันจะได้หาอาหารง่ายๆ เวลาตัดใยก็ง่าย เห็ดก็ออกสวยไม่เป็นกลุ่มไม่เป็นใข่ตุ๊กแก ไม่เป็นพวงองุ่น ตัดตูดก็ง่าย ชีวิตดี้ดี...
2.การตัดเส้นใย. ควรใช้ปั้มที่แรงดันสูงนิดนึงเพื่อที่เส้นใยจะได้ขาดจากกัน ถ้าเกิดตัดไม่ดี จะมีใยเหลือ แล้วใยจะเดินต่อ พอเราเห็นใยฟูส่วนมากจะเปิดอากาศ วิธีนี้จะทำให้เส้นใยแข็ง และเคลือบหน้าวัสดุ แก้ไม่ได้นะครับ ถ้าเจอปัญหาแบบนี้ ขั้นแรกให้ตรวจดูว่ามีเห็ดจับเม็ดมากไหม ถ้าไม่มาก เราต้องตัดสินใจ เลือกส่วนมากไว้ก่อน คือปิดโรงให้เส้นใยนิ่มแล้วตัดใยไหม่อีกที วิธีที่จะทำให้เห็ดที่เกิดแล้วรอดคือตัดในช่วงที่อุณหภูมิต่ำที่สุด เป็นช่วงกลางคืนดีที่สุด หลังตัดต้องระบายความชื้นออก คือเปิดให้อากาศถ่ายเทจนถึงเช้า
เมื่อเราตัดใยเสร็จแล้วเราต้องระบายอากาศเดิมที่อยู่ในโรงทิ้งเสียก่อน หากไม่ทำเห็ดจะเกิดเฉพาะจุด เช่น เกิดแค่ข้างชั้น เกิดแค่ด้านบน เกิดแค่ด้านล่าง เกิดเป็นจุดๆไม่สม่ำเสมอ หรือยังมีใยขึ้นเห็ดไม่ยอมจับเม็ด แบบนี้คือยังมีคาร์บอนไดออกไซด์อยู่มาก เราจึงต้องเอาอากาศไหม่เข้าไป ทำได้โดยเปิดโรงหน้าหลังให้อากาศถ่ายเทในช่วงที่เราตัดใย หรือพ่นฝอยไล่อากาศเอาจากนั้นค่อยปิดโรง และเปิดช่องระบายอากาศเพื่อให้อากาศมีการหมุนเวียนตลอดประมาณสองสามวันเห็ดจะจับเม็ด เมื่อจับเม็ดแล้วจึงลดระดับการใช้ช่องระบาย เพื่อที่วัสดุจะได้ไม่แห้ง จากนั้นปรับตามขนรอบดอก เรีียกใยรอบดอกจะน่ารักกว่านะ.... วิธีปรับปรับไม่ยาก ใยรอบดอกเยอะให้เพิ่มช่องระบาย ไม่มีใยเลยให้ลดจำนวนช่องระบาย เห็ดที่จะสวยสมบูรณ์ต้องมีใยรอบดอกแบบรำไรๆ
จะให้ดีที่สุดคือต้องละเอียดทุกขั้นตอนเราจะได้ไม่ต้องมาแก้ทีหลังครับ เพราะเกิดปัญหาแล้วแก้ยากจริงๆ เทคนิคการตัดในมีหลากหลาย นี่เป็นเพียงแนวทางเท่านั่น เมื่อเราเพาะไปนานๆเราก็จะพลิกแพลงได้เป็นสูตรของเราเอง
บทความจากกลุ่มย่อย เพาะเห็ดฟางอย่างมืออาชีพ by หัวหน้าชม รมคนแอบมัก

เพาะเห็ดในฤดูร้อน

          เข้าสู่หน้าร้อนกันแล้วนะพี่น้องชาวเห็ดฟางมืออาชีพ ช่วงนี้เป็นช่วงที่ต้องบอกว่าเห็ดออกดีที่สุด ได้เยอะเก็บกันจนขี้เกียจเลยทีเดียว แต่อย่าเผลอเชียวเพราะกำไรคุณอาจจะบานได้ อิอิ ....
ฤดูร้อนนี่เป็นฤดูกอบโกย แต่ก็เป็นฤดูที่ควบคุมเรื่องอากาศความชื้นสัมพัทได้ยาก บางครั้งเราตื่นไม่ทันเก็บเห็ด ยังไม่ทันตี5 ก็บานกันแล้ว นอกจากนั้นปัญหาจากเชื้อราและวัชเห็ดก็ใช่ว่าจะลดน้อยลง มันก็แอบมาตีท้ายครัว เอ้ย...ท้ายโรง ให้เราเจ็บช้ำได้เหมือนกัน ราที่ชอบความร้อนแบบนี้ได้แก่ราคี เอ้ย..ราคา..เอ้ย...ราขาว..เอ้ย...ถูกแล้ว อย่าว่ากันชงเองกินเอง 55+. ต่อๆ นอกจากราขาวแล้วราเม็ดผักกาด ราส้ม ก็มาด้วย วัชเห็ดอย่าง เห็ดโคนน้อย เห็ดขี้ม้า หรือแม้แต่เห็ดผักชี ก็สามารถเกิดได้ สาเหตุก็เพราะว่า เรารดน้ำบ่อยกว่าฤดูปกตินั่นเอง เอาละเรามาดูสิว่าเราจะเตรียมรับมือกับฤดูร้อนที่กำลังมาถึงได้อย่างไร
#เตรียมเชื้อเห็ดให้ตรงกับฤดูกาล หลายคนเริ่มสงสัย อธิบายอย่างนี้ครับ เชื้อเห็ดที่เขาขายกันในท้องตลาดมี 3 สายพันธุ์ พูดแบบบ้านๆคือ เบา-กลาง-หนัก ซึ่งแต่ละสายพันธ์ุมีข้อดีและข้อด้อยในตัวของเขาเอง แล้วหน้าร้อนแบบนี้ควรใช้เชื้อแบบไหน ถ้าเรายังไม่เก่งเรื่องการควบคุมอากาศ การไล่อากาศ และความชื้นขอแนะนำให้ใช้เชื้อพันธ์ุหนัก เป็นหลัก ข้อดีและข้อเสียของเชื้อสายพันธุ์หนักก็คือ โตช้า เปลือกหนา มีน้ำหนัก ออกไม่เยอะ แต่ทนต่อสภาพแวดล้อม เมื่อเราเอามาใช้ในฤดูร้อน มันจะพอดี เพราะความร้อนจะเป็นตัวเร่งให้เห็ดโตเร็วขึ้นจากที่มันโตช้า มันจะโตแบบพอดี ไม่ช้าและเร็วเกินไป ปกติทั่วไปเห็ดจะใช้เวลาตั้งแต่จับเม็ดถึงเก็บ ประมาณ 4 วันครับ เป็นเวลาที่เหมาะสม
#เตรียมโรงเรือนใหม่ ปัญหาเกี่ยวกับโรงเรือนที่ได้รับผลกระทบมากในฤดูร้อนคือ โรงเรือนที่ทำจากผ้าใบล้วน หลังคาเป็นผ้าแสลน เพราะความร้อนที่สูงมากเกินไปมักจะทำให้ผู้เพาะประสบปัญหาเห็ดยืด หัวสูง และบานก่อนกำหนด แต่เราสามารถแก้ปัญหานี้ได้ง่ายๆครับ. คือ
1.ยกแสลนให้สูงกว่าเดิม เพราะแสลนสีดำจะดูดความร้อน เป็นความร้อนสะสมไปถึงโรงเรือน ส่งผลต่อเห็ด จะให้ดีต้องยกให้ห่างจากผ้าใบครับ ยิ่งสูงก็จะยิ่งช่วยลดความร้อนและระบายอากาศได้ดี
2.ช่องระบายอากาศ ไม่ควรมีมากเกินไป ยิ่งช่องระบายมีเยอะความร้อนจะยิ่งเยอะตาม การเปิดช่องระบายอากาศในช่วงฤดูร้อนมากไปจะทำให้ความชื้นหาย ช่วงนี้จึงควรลดช่องระบาย แล้วใช้เทคนิคการระบายอากาศเข้าช่วย (อ่านเพิ่มเติมในโพสเก่าเรื่อง ช่องระบายอากาศ 3 ระดับ)
#การระบายความร้อน. วิธีการระบายความร้อนในช่วงที่อุณหภูมิร้อนสุดๆแบบนี้ วิธีลดอุณหภูมิที่ง่ายที่สุดคือการรดน้ำหรือพ่นฝอย. แต่ไม่ใช่ว่าปุบปั๊บ จะไปรดเลยไม่ได้เดี๋ยวได้เก็บเห็ดบานยกโรงพอดี การรดน้ำในหน้าร้อนแบบนี้ต้องอิงหลักวิทยาศาสตร์กันสักหน่อย ..ใหนใครรู้จักความกดอากาศบ้าง ?? ...จักแหล่ว อิหยังน้อกดอากาศ. เคยแต่กดอย่างอื่น ..ฮี้ววว...^ ^". หยุดครับ. เข้ากูเกิ้ลแล้วพิมพ์ว่าความกดอากาศ. แล้วมาอ่านต่อ
.
.
.
.
เชื่อเถอะไม่มีใครพิมพ์หรอก ที่นั่งอ่านยิ้มๆนี่ก้อไม่ทำ ่ใช่ไหมละ. แต่ไม่เป็นไรผมอธิบายคร่าวๆ ตามนี้คือ ความร้อนจะวิ่งไปหาหรือแทนที่ความเย็น เราใช้หลักการนี้ เพื่อเพิ่มหรือลดความร้อนในโรงเรือนได้ ตั้งแต่1-5 องศาเซลเซียส อาจมากกว่านี้ขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างความร้อนในโรงและนอกโรง. ด้วยเหตุผลนี้เราจึงรดน้ำในโรงเรือนได้ในช่วงที่อุณหภูมิภายนอกต่ำ เช่นเช้าหรือเย็น. และรดด้านนอกโรงเรือนได้ในช่วงกลางวัน และอากาศร้อนจัด. การรดน้ำในโรงช่วงกลางวันหรือช่วงที่อากาศร้อนมากๆจึงเป็นความคิดที่ผิด เพราะความร้อนจากด้านนอกจะเข้าแทนที่ความเย็นในโรง ทำให้โรงร้อนยิ่งขึ้น ใน 1 ชม.หลังจากรดน้ำเห็ดคุณจะยืดและบานครับ แก้ใขไม่ได้นะครับ
น่าจะมีคำถามนี้นะ. ติดสปริงเกอร์ได้ไหม ตอบครับ. ได้ ถ้าทุนเยอะ
#วัสดุเพาะลดต้นทุน. เห็นใจพี่ๆน้องที่ใช้ทลายปาล์มครับ ช่วงนี้ทลายขาดตลาด บางที่ก้อแสนจะแพง ค่าขนส่งก้อแรง. ได้แต่ทัมใจ กับปวดหาย โอกาสคุณมาถึงแล้วครับ เพราะฤดูร้อนเป็นฤดูที่ใช้อะไรเพาะก็ได้ ฝ้ายเป็นทางเลือกหนึ่งครับ เปรียบเทียบกับปาล์ม วัดกันที่ปริมาณ ปาล์ม 10000. บาท กับฝ้าย 10000 บาท. ได้เห็ดต่างกันมาก. ฝ้ายเก็บไว้ใช้ได้นาน. หลายเดือน สำหรับคนที่มีโรงเป็นผ้าใบ หน้าร้อนนี้ลองเปลี่ยนมาใช้ฝ้าย หรือกากมัน ดู การลดต้นทุนก็คือการเพิ่มกำไรแบบง่ายๆ ไม่มีสูตรถามในกลุ่มได้ไม่มีใครหวงจร้า
 โดย  หัวหน้าชมรมคนแอบมัก เพจ เห็ดฟางมืออาชีพ

การดูแลเห็ดฟางหลังจากการตัดใย



          การดูแลเห็ดฟางให้ออกมาสวย ให้ออกมามากหรือน้อยนั้นเป็นเทคนิคการบังคับเฉพาะบุคคล สำหรับมือไหม่ต้องใช้เวลาสักระยะเพื่อเรียนรู้ความต้องการของเห็ด เพื่อความเข้าใจง่ายผมจึงแบ่งการดูแลเห็ดออกเป็นสามระยะ เพื่อเป็นแนวทางในการดูแล เห็ดฟางนั้นมีอายุเฉลี่ยตั้งแต่จับเม็ดจนถึงเก็บอยู่ที่ 4 วัน ถ้าหนาวอาจจะมากกว่านี้หรือร้อนอาจจะน้อยกว่านี้
ช่วงที่ 1 (ตั้งแต่ตัดใยจนถึงจับเม็ด) เมื่อเราทำการตัดใยแล้ว เราต้องทำการเปิดอากาศ เพื่อให้ออกซิเจนไปกระตุ้นให้เห็ดจับเม็ด วิธีที่จะได้ผลเร็วที่สุดและเห็ดจะจับเม็ดทั่วชั้นควรจะทำดังนี้จะทำพร้อมกับตัดใย หรือหลังตัดใยก็ได้ ใช้เวลาไม่นานประมาณ 5-10 นาที
1. เปิดให้โรงเรือนให้ลมโกรกเพื่อระบายอากาศเก่าในโรงออกให้หมด เปิดหน้าโรง หลังโรงถ้าทำได้ ถ้าไม่ได้ให้เอาพัดลมมาเป่าใล่อากาศ
2.ปิดโรงเรือนแล้วเปิดช่องระบาย ครึ่งหนึ่งจากปกติ เน้นอากาศเข้าด้านล่างสุด แต่อย่าเปิดมากไปหน้าจะแห้ง
3.ถ้าโรงมืดให้ติดหลอดไฟ แสงสว่างจะทำให้เส้นใยรับออกซิเจนได้มากขึ้น ส่งผลให้จับเม็ดเร็วขึ้น กระบวนการนี้จะใช้เวลาประมาณ 2-4 วันตามสภาพอากาศ ค่อยๆสังเกตุจุดใหนที่เห็ดเกิดน้อยให้ย้ายหลอดไฟไปจุดนั้น เมื่อเห็ดจับทั่วชั้นแล้ว ทำโรงให้มืดที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เห็ดรับอากาศมากไป
ช่วงที่ 2 (ตั้งแต่จับเม็ดจนถังอายุ 2 วัน)เมื่อเห็ดจับเม็ดแล้วเราลดการให้แสงแล้วเห็ดจะค่อยๆโต ช่วงนี้ต้องระวัง ความร้อน อย่าให้ร้อนเกิน 35 องศา อย่าให้ชื้นเกิน เพราะเห็ดอาจจะเน่าได้ การเปิดอากาศ ให้ระวังลมให้มากเพราะลมจะทำให้หน้าแห้ง เพราะลมจะเอาความชื้นออกมาด้วย ส่งผลให้เห็ดดอกเล็กที่พึ่งจับเม็ดฝ่อ ช่วงนี้ควบคุมอุุณภมิให้ร้อน-ชื้น คือร้อนประมาณ 32-35 ความชื้นสัมพัท 80% ถ้าหากมีปัญหาโรงเรือนไม่ร้อนให้ปิดช่องระบายอากาศทุกช่อง งดการให้น้ำโดยไม่จำเป็นเพราะหากไม่ชำนาญจะทำให้เห็ดฝ่อได้ ดูแลไปเรื่อยๆตามลักษณะของเห็ดในช่วงนี้ คือ
1.เห็ดเป็นขน แสดงว่าขาดอากาศให้เพิ่มอากาศอีก 2.สีคล้ำ เกิดจากลม /ความเย็น
3.เห็ดพุ่ง ยืด เกิดจากอากาศและความร้อนมากไป เห็ดจะโตเร็วกว่าอายุ
 อย่าลืมสังเกตสิ่งปกติ ได้แก่รา ถ้าเจอให้เก็บทิ้งทันที ราที่เจอในช่วงนี้ได้แก่ ราเม็ดผักกาด รากะหล่ำ
ช่วงที่ 3 (เห็ดอายุ2 วันจนถึงเก็บผลผลิต)การให้น้ำ เราสามารถให้น้ำพ่นฝอยได้เมื่อเห็ดอายุ 2-3 วันนับจากจับเม็ด การฉีดน้ำจะทำหรือไม่ทำก็ได้ ตามสภาพแวดล้อมในโรงถ้าแห้งมาก ก็ฉีดได้แต่อย่าเยอะ ทำโรงให้มืด การฉีดหรือพ่นฝอยห้ามแช่นะครับให้พ่นผ่านๆ เท่านั้น อ้ออีกอย่างคืออย่าเปิดเข้าออกโรงเรือนบ่อยๆ
สงสัยฝากคำถามไว้ครับ..........
โดย หัวหน้าชมรมคนแอบมัก เพจเห็ดฟางมืออาชีพ
ในภาพอาจจะมี อาหาร

วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ใครมีปัญหาเรื่องราในเห็ดฟางมาอ่านกัน

เชื้อราในการเพาะเห็ดฟางและวิธีกำจัด

          เชื้อราที่ราเราพบเจอในการเพาะเห็ดฟางนั้นมีหลายชนิด แต่ละชนิดส่งผลต่อเห็ดมาก-น้อยต่างกัน โดยจะกล่าวถึงแค่ 7 ชนิด แบ่งเป็น 5ระดับ(แบ่งเอง อิอิ) ที่เจอกันบ่อยๆคือ
          1.ความน่ากลัวระดับ 1 ดาว
                 - ราเขียว มีสีเขียวอ่อน ไปจนถึงเขียวเข้ม เกิดจากเชื้อไตโคเดอมาและเพนนิซิเลียม เราจะเจอราเขียวได้เมื่ออุณหภูมิภายในโรงเรือนต่ำ ความชื้นในวัสดุสูง อากาศน้อย ในวัสดุที่เป็นฝ้ายจะเจอมากกว่าวัสดุอื่น เชื้อที่มากับเชื้อเห็ด ราเขียวเป็นราที่กำจัดง่ายไม่ส่งผลต่อเห็ดมากเพราะเติบโตและแพร่พันธ์ช้า กินพื้นที่เป็นจุดๆ จุดละไม่เกิน 30 เซนต์ พื้นที่ที่มีราเขียวถ้าวัสดุยังมีความร้อน หรือเชื้อแข็งแรงก้อสามารถเติบโตได้ปกติแต่ดอกเล็กอาจฝ่อบ้าง วิธีกำจัด ใช้EM ราด หรือใช้ บีเอส พลายแก้ว งดการให้น้ำโดนบริเวณที่เป็นเชื้อรา 
               -ราส้ม มีสีส้มเมื่อแก่จะมีสีส้มแกมน้ำตาล ราส้มเติบโตตรงข้ามกับราเขียวคือ อากาศเยอะ แสงเยอะ อุณหภูมิวัสดุสูง อากาศแห้ง เราจะเจอราส้มมากในช่วงแรกของการเพาะช่วงที่เห็ดเริ่มจับเม็ดไปจนถึงการเก็บเห็ดรุ่นแรก สาเหตุเชื้อราจะเจริญได้ดีเมื่อ การย่อยของวัสดุไม่สมบุรณ์ การเกิดแก้สจากวัสดุจะทำให้ราส้มเติบโตดียิ่งขึ้น วิธีกำจัด ราดด้วยEM หรือน้ำเปล่า หรือใช้ บีเอสพลายแก้ว ลดอุณหภูมิ ในห้อง เพิ่มความชื้นให้วัสดุ ลดแสง
          2.ความน่ากลัวระดับ 2 ดาว 
                - ราขาวราร้อน ราสองตัวนี้เป็นราชนิดเดียวกันแต่เกิดต่างที่ เกิดในกระบวนการหมักเรียกว่าราขาว เกิดในโรงเรือนหรือเมื่อทำการเพาะเรียกว่าราร้อน ราร้อนเป็นราที่ต้องการออกซิเจนต่ำ ลักษณะสีขาวคล้ายใยเห็ดแต่จะขาวกว่าและฟูกว่า เมื่อมีราร้อนแล้วจะทำให้เห็ดเกิดอาการอย่างหนึ่งเรียกว่าบ้าใยคือใยเดินแต่ไม่จับเม็ดเส้นใยเคลือบหน้าวัสดุเพาะเห็ดรุ่นหลังเกิดไม่ได้เพราะขาดอากาศ อาจจะมีอาการเห็ดเป็นขนร่วมด้วย วิธีแก้ใขและกำจัด เปิดอากาศเพิ่มออกซิเจนเข้าไป ราร้อนจะยุบตัว และหายไป หรือจะทำการฉีดน้ำบริเวณที่เป็นก้อได้
          3.ความน่ากลัวระดับ 3 ดาว 
               - รากะหล่ำ รากเน่า สาเหตุไม่แน่นอน ข้อมูลที่มีคือเกิดจากการย่อยของโปรตีน ของเชื้อบัคเตรีชื่อซูโดโมเนส ลักษณะคล้ายราร้อนเกิดแล้วขยายเป็นวงกลม มีสองชนิดคือเป็นแผ่นแข็ง และเป็นใยขาว อย่างที่สองจะส่งผลต่อเห็ดมากกว่าเพราะจะปล่อยกาซเสียทำให้เห็ดคล้ายมีฝุ่นติดและต่อมาเป็นตุ่มผิวคล้ายคางคก ดอกเล็กจะนิ่มคล้าเม็ดโฟม หากเกิดในช่วงที่เห็ดโตเห็ดจะมีอากรโดนหรือดอกแตก แล้วมีน้ำเหนียวไหลออกมา บางดอกมีอาการยืดเปลือกบางนิ่มผิวช้ำ อาจมีอาการเน่าด้านในขึ้นอยู่กับโดนเชื้อมากหรือน้อย วิธีกำจัด เนื่องจากราชนิดนี้จะซอกซอนไปตามเส้นใย ไม่เกิดเฉพาะหน้าวัสดุดังนั้นการกำจัดโดยการใช้ พลายแก้ว EM หรือปูนขาวนั้นไม่สามารถกำจัดให้ราตัวนี้ตายได้ วิธีที่ดีที่สุดคือการเก็บบริเวณที่เป็นออกไปทิ้งให้หมดแล้วใช้พัดลมใล่อากาศเสียทิ้งเอาอากาศไหม่เข้าไป เห็ดจะดีขึ้นใน 1-2 วัน
          4.ความน่ากลัวระดับ 4 ดาว 
                 - ราดำ ลักษณะทั่วไปคือเป็นสีดำเตลือบไปตามเส้นใยเห็ดเกิดจากเชื้อตระกูลเอสเพอจิลัสเมื่อเชื้อแก่จะเป็นตุ่มดำมีสปอร์พร้อมขยายพันธ์ เราจะพบราดำได้ในวัสดุเพาะที่เก่ามากๆ โดนน้ำโดนฝนบ่อยๆ วัสดุไม่มีความร้อนแต่ความชื้นสูง จากอาหารเสริมที่มีรำเป็นส่วนผสมไม่ผ่านการอบ จากรำที่เก็บไว้นานๆ จากสปอร์ที่ปลิวมาจากที่อื่น ราดำเมื่อเกิดแล้วสามารถลามไปได้อย่างรวดเร็ว ถ้าหากมีความชื้นสูงราดำจะลามเร็วเป็นพิเศษ สามารถลามในวัสดุที่เป็นฝ้ายใช้เวลา 2-3 วันลามได้ทั่วทั้งโรงเรือน ทลายปาล์ม 5-7 วัน นอกจากจะสังเกตจากเส้นใยสีดำแล้วเรายังสังเกตได้จากอาการของเห็ด ที่ดอกเล็กฝ่อแห้งเป็นกลุ่ม มีอาการดอกเล็กบานเร็วกว่าปกติ ดอกผิดรูปมีอาการบวมถ้าผ่าดูดูด้านในจะสีน้ำตาลเหมือนเห็ดแก่ ถ้าหากพบอาการดังนี้ให้ตรวจหาราดำแล้วเก็บออก งดการให้น้ำเพราะจะทำให้ราดำลามเร็วขึ้น
          5.ความน่ากลัวระดับ 5 ดาว 
                 - ราเมือกสีขาว ราเมือกสีเหลือง ราตัวนี้น่ากลัวมากเดินใยเป็นแผ่นคล้ายรากไม้ หากินคล้ายอมีบา เติบโตแพร่พันธ์เหมือนแบคทีเรีย สีขาวจะพบมากกว่าสีเหลือง ลักษณะเป็นเมือกคล้ายนมแช่แข็ง เวลาจับจะละลายคล้ายน้ำเรียกว่าไซโตพลาซึม เมื่อลามแรกๆจะเป็นกองแล้วหยดลงพื้นคล้ายอ้วกหมา (เห็นภาพเลยนะ ) ราตัวนี้จะเกิดในครั้งแรกของการเพาะเป็นส่วนมาก ลามทั่วโรงได้ในเวลา 20 ชั่วโมง จะส่งผลให้ เห็ดฝ่อ ไม่จับเม็ด เน่า และไม่โต กรณีที่โรงเรือนติดกันเชื้อสามารถลามไปโรงเรือนอื่นได้ในเวลาไม่กี่วันถ้ากำจัดไม่ถูกต้อง บอกได้เลยว่าเจ๊งแน่นอน เคยมีผู้ที่เจอราตัวนี้แล้วส่งผลให้เห็ดไม่เกิดทุกโรง เกือบ 20 โรง กินข้าวไม่ได้หลายเดือน สำหรับใครที่ทำโรงเรือนติดกันระวังราตัวนี้ให้ดี วิธีแก้ใขเมื่อเจอลดความชื้นภายในโรงเรือนราเมือกจะน้อยลงเมื่อเจออากาศแห้ง ราเมือกจะฝังตัวในวัสดุ พื้นดินเมื่อสภาพไม่เหมาะต่อการเติบโต แตเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมราเมือกก้อจะกลับมาเจริญเติบโตอีกครั้ง วัสดุที่ติดเชื้อควรเก็บทิ้งเผาทำลาย หากพบว่าหยดลงพื้นต้องต้มน้ำให้ร้อนมาราดบริเวณที่เจอ ใช้ความร้อนมากกว่า 65 องศา เป็นเวลา 30 วินาทีขึ้นไปจะสามารถกำจัดได้ การโดนแสงแดดหรือแสงยูวีโดยตรงทำให้ราเมือกตายอันนี้อาจจะต้องรื้อโรงถึงจะทำได้ หลังจากนั้นอาจจะต้องพักโรงทำความสะอาด ที่ไม้ที่พื่น ทั่วบริเวณ หลังทำความสะอาดให้ใช้ด่างทับทิมผสมฟอมาลีน ใส่ถ้วยแก้วตั้งทิ้งไว้ในโรงเรือนปิดโรงให้สนิท เนื่องจากเป็นสารอันตรายเมื่อผสมแล้วจะเกิดควันควรหาผ้าปิดจมูก และใช้อย่างระวัง
                                                                                                                  หัวหน้าชมรม.04 

วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

แก้ปัญหาเห็ดสังคม(กลุ่ม,ก้อน)

          ปัญหาเห็ดเกิดเป็นกลุ่มๆ เป็นลองกอง เก็บยากบางทีไหญ่บ้างเล็กบ้างนี่ปวดหมองเลย ตัดแต่งไม่ค่อยสวย  เอาเป็นว่าตรงใหนสารอาหารเยอะอากาศอุณหภูมิแสงพอเหมาะมันก้อเกิดเยอะเป็นธรรมดา แต่ปัญหาที่เห็ดเกิดเป็นกลุ่มส่วนมากจะเกิดจากสาเหตุหลักๆดังนี้จ้า(อันนี้จากประสบการณ์จริงหรือไม่ อย่าพึ่งเชื่อจนกว่าจะได้ลอง)
          1.เราโรยเชื้อเยอะจะมีอาหารและความชื้นที่มาจากฝ้ายหรือวัสดุที่ใช้ทำเชื้อจุดนี้ถ้าลองสังเกตุดูเห็ดจะเริ่มจับเม็ดก่อนจุดอื่นๆ โรยเชื้อเยอะไม่ใช่ว่าจะดีเสมอไป เห็ดออกเยอะเป็นกลุ่มจะแย่งอาหารกัน ดอกเล็กที่เกิดทีหลังในบริเวณนั้นจะฝ่อเป็นส่วนมาก วิธีแก้ใข -ตีเชื้อเห็ดให้ละเอียด ไม่เป็นก้อนเวลาโรย               - โรยเชื้อให้ทั่ววัสดุเพาะ อย่าโรยเป็นกระจุก หรือกองๆใว้เป็นจุดๆ -อัตรส่วนที่เหมาะสม ประหยัดและใด้ผลผลิตดี เชื้อเห็ด 1 ถุง / พื้นที่เพาะ 1-1.5 ตรม.




          2. ตรงที่เป็นหลุมๆข้างล่างชั้นหรือหัวท้ายชั้นถ้ากองเตี้ยก้อหัวร่องท้ายร่องซะเป็นส่วนไหญ่ เวลาเราฉีดน้ำตัดใย สารอาหารจะใหลจากบนลงล่าง ด้วยอุณภูมิด้านล่างและอาหารที่เลือเฟือเหมาะสมข้างล่างชั้นและบริเวณที่เป็นหลุมๆจึงเป็นพิกัดหลักๆที่เห็ดจะเกิดเป็นกลุ่ม วิธีแก้ไข สำหรับโรงเรือนหน้าวัสดุพยายามทำให้เรียบเสมอกัน
          3.เชื้อเห็ด เชื้อที่ผ่านการต่อเชื้อบ่อย ถุงต่อถุง จะเจอปัญหานี้บ่อย(คือไปซื้อเชื้อดีๆมา1ถุงเป็นแม่เชื้อ เอาแม่เชื้อไปขยายต่อในถุงที่เตรียมไว้แบบนี้) การต่อเชื้อที่บ่อยเกินไปจะทำให้เชื้ออ่อนแอส่งผลหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือเกิดเป็นกลุ่มๆ วิธีแก้ใข - ให้เปลี่ยนเชื้อถ้าเราลองใช้เชื้อยี่ห้อเดิมสองสามครั้งแต่ยังเป็นกลุ่มเหมือนเดิม(อันนี้คือแก้ใข ข้อ 1และ2 แล้วนะ) -สังเกตุที่ปากถุง เชื้อต่อเชื้อจะไม่มีวุ้น PDA ตรงปากขวด แต่บางที่ก้อใช้เชื้อเหลวฉีดต่อเอาอันนี้ต้องศึกษาแต่ละยี่ห้อว่าเขาทำยังไง
4. การตัดใย เกี่ยวข้องไม่มากแต่ก้อมีส่วนบ้าง เชื้อที่ไม่ติดกับวัสดุเพาะจะไม่ค่อยอมน้ำ (เกิดจากโรยเชื้อแล้วฉีดน้ำน้อยเกินไป หรือบางคนลืมฉีดก้อมี) พอความชื้นน้อยเห็ดจะจับเม็ดก่อนที่อื่น ตัดใยแล้วเส้นใยไม่ขาด ยุบเป็นพังผืด เห็ดก้อเกิดเป็นกลุ่มใด้ วิธีแก้ใข- หลังโรยเชื้อรดน้ำให้เชื้อติดวัสดุเพาะที่สุด ถ้าดูว่าวัสดุแฉะไปให้เปิดทิ้งใว้สักพักค่อยปิดโรง -ตัดใยควรใช้น้ำแรงๆแรงดันสูงๆแต่ใช้น้ำน้อยๆ ใยที่หนาๆควรตัดให้ขาดจากกัน  ไม่ใช่ตัดให้ยุบ