Translate

วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การเลือกเชื้อเห็ดฟาง

          มีคนถามเข้ามาเยอะเหมือนกันนะครับ สำหรับการเลือกชื้อเชื้อเห็ดฟาง เอาง่ายๆ เนื้อๆ เลยนะครับ เชื้อเห็ดฟางที่เราใช้มีอยู่ 2 แบบครับ   คือพันธ์เบา และพันธ์หนัก     
 สายพันธุ์เบาหาง่าย ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด คือเกิดดอกเห็ดเร็ว ดอกเล็ก เปลือกบาง จำนวนดอกเห็ดมาก เก็บผลผลิตหมดเร็ว มีโอกาสกลายพันธุ์สูงมาก   แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเชื้อที่ได้มาสายพันธุ์เป็นอย่างไร ?      มีวิธีเดียวคือ เพาะทดสอบ โดยการนำเชื้อเห็ดอย่างน้อ 2 ยี่ห้อ มาเพาะเปรียบเทียบ ในโรงเรือนเพาะเดียวกัน 10 วันก็จะรู้ผล เชื้อที่นำมาเพาะเปรียบเทียบ ควรเป็นเชื้อที่มีอายุเท่ากัน คืออ่อนก็อ่อนเหมือนกัน( ไม่ใช่เอาเด็กกับคนแก่มาวิ่งแข่งกัน) พอรู้แล้วจะเลือกได้ถูกว่าควรจะใช้สายพันธุ์ไหนดี (แล้วแต่ชอบครับ) 
พันธ์หนักเป็นสายพันธุ์ที่ตลาดต้องการคือ เปลือกดอกหนา ดอกใหญ่ น้ำหนักดี แต่หายากมากครับ เพราะว่าเห็ดฟางเป็นเห็ดที่ไม่ตรงตามสายพันธุ์ทุกดอก ถ้าตรงสายพันธุ์ทุกดอกเหมือนเห็ดนางรม/นางฟ้า เป็นการง่ายที่จะพัฒนาเรื่อง หัวเชื้อเห็ดฟางครับ ยิ่งพูดก็ยิ่งลึกลงไปใหญ่ ( ชักจะงง ) เอาเป็นว่า เวลาใช้เชื้อเห็ด อย่าใช้เชื้อตัวเดียว ต้องอย่างน้อย 2 ตราเสมอ เป็นการเปรียบเทียบกันไปในตัว จะได้เลือกใช้ได้ถูกต้อง บางคนไม่สนใจเลย เคยใช้อย่างไรก็อย่างนั้น (ก็ไม่รู้จะว่าอย่างไร) อย่างการอบไอน้ำก็เหมือนกัน (ลองถามเพื่อนซิว่าอบไปทำไม ไม่อบไม่ได้หรือ บางคนยิ่งแย่ไปใหญ่ บอกให้ก็ไม่ฟัง พูดคำเดียว ว่าเคยอบอย่างนี้เห็ดมันออกดี ก็ไม่รู้จะพูดอย่างไรเหมือนกัน เพราะแต่ก่อนผู้เขียนก็เคยเป็นเหมือนกัน55555555555
  


โรคเน่าในเห็ดฟาง

          ปกติโรคเน่าในเห็ด มักจะเกิดจากกองเพาะเปียกชื้น อันเนื่องมาจาก การหมักของวัสดุเพาะ ดังนั้นหากคุณควบคุมความชื้นให้พอดีมักจะไม่มี ปัญหาอะไร แต่สิ่งหนึ่งที่คนทำเห็ดมักจะมองข้ามเสมอก็คือเรื่องการ ทำสะอาดโรงเรือนหลังรื้อกองเพาะทิ้ง ให้กลับไปอ่านในเรื่องการล้าง โรงเรือนให้ดี โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้เทพื้นปูนภายในโรงเรือน มักจะเจอปัญหา ตามมาที่หลังหลังจากที่เพาะเห็ดไปแล้วสักพักหนึ่ง เพาะในโรงเรือนมี สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อจุลรินทรีย์เป็นอย่างมาก และถ้าเป็นพื้นดิน แล้วยิ่งทำให้เกิดการสะสมโรคมากขึ้น ปูนที่ใช้ล้างโรงเรือนควรเป็นปูนขาว ที่ใช้ในการก่อสร้าง ไม่ควรใช้ปูนมาน จะช่วยให้พื้นดินของคุณในโรงเรือน อยู่ในสภาพที่ดีขึ้น และหลังจากตากโรงเรือนแห้งแล้ว ก่อนใช้งานจะต้อง ทำการล้างซ้ำอีกครั้งก่อนขนวัสดุเพาะเข้าโรงเรือน ไม่เช่นนั้นคุณจะมีปัญหา ว่าทำไมทำทุกอย่างเหมือนเดิม แต่ได้ผลผลิตไม่เหมือนเดิม และอันนี้เป็น สาเหตุสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่คนทำเห็ดต้องเลิกทำเพาะขาดทุน

อุปสรรคที่ต้องรู้ในการเพาะเห็ดฟาง


          โรคราเม็ดผักกาด มักเกิดกับกองเห็ดฟางที่ใช้ฟางเก่า เก็บค้างปี ตากแดดตากฝนมาก่อน  ลักษณะที่สังเกตเห็นคือเส้นใยของเชื้อรา มีลักษณะหนากว่าเส้นใยของเห็ดฟาง เริ่มเกิดขึ้นได้ในวันที่ 3 หรือ 4 ของการเพาะและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว




          โรคราเม็ดผักกาด ในการเพาะเห็ดฟางส่วนใหญ่สุดท้ายจะเป็นผืนเส้นใย แห้งคาไว้ดังรูป และบางครั้งก็จะจับตัวเป็นเม็ดสีขาวเล็ก ๆ คล้ายกับ เห็ดฟางเริ่มจับดอก แต่จะไม่โต สุดท้ายจะหายไปในเห็ดฟาง แต่ใยพืชอื่นจะ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ในการเพาะแบบโรงเรือนโรคนี้เกิดจากการอบไอน้ำ ได้ไม่ถึง 60 องศา ในการหมักวัสดุเพาะถ้าอุณหภูมิสูงไม่ถึง 55 องศา คืออาจ จะหยุดที่ ประมาณ 45-50 องศา แสดงว่าสูตรอาหารของคุณต้องเพิ่มอาหารเสริม ประเภท ปุ๋ย รำ มูลสัตว์ ให้มากขึ้นในการทำงานครั้งต่อไป เพื่อกระตุ้นการทำงาน ของจุลินทรีย์ให้ทำงานให้ดีขึ้น และในกรณีที่ความร้อนในกองเพาะหยุด เพิ่มขึ้น คุณก็จะต้องทำการกลับกองเพาะและก็ให้เพิ่มยูเรียเข้าไปอีก จะช่วยให้ อุณหภูมิสูงขึ้น


          ราเม็ดผักกาด จะพบเห็นในช่วงต้นของการเพาะเท่านั้น หากอบไอน้ำ ถูกต้อง ถึงแม้จะเก็บผลผลิตยาวนานอย่างพวกที่ใช้ทะลายปาล์ม ก็จะไม่เกิดราตัวนี้ขึ้นมาภายหลัง ยกเว้นแต่ตัวคุณเองเป็น พาหนะนำโรคจากที่อื่นเข้ามาในโรงเรือนครับ เวลาโรงเรือนใดมีปัญหา ต้องเช่น ราเขียว เวลาจะรื้อส่วนที่เป็นโรคทิ้ง เสร็จแล้วคุณจะต้องล้างมือ อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้าทำงานใหม่ ไม่เช่นนั้นมันก็จะไปติดที่อื่น ๆ อีก
ในการเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย หรือตะกร้า ไม่ว่าใช้วัสดุประเภทใดเป็นวัสดุ เพาะ ถ้าใช้วัสดุเพาะที่เก่าเก็บ และยิ่งถ้าโดนน้ำโดนฝนมา โอกาสที่จะ เกิดปัญหาราเม็ดผักกาดได้สูงครับ
อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้กองหมักวัสดุเพาะอุณหภูมิสูงไม่ถึง 55 องศาก็คือวัสดุเพาะเปียกไป ถ้าเป็นในกรณีนี้กองเพาะจะเหม็นเน่าโดยอุณหภูมิไม่สูง อันนี้จะทำให้กองเพาะไม่มีธาตุอาหารเห็ดเท่าที่ควร จะมีผลทำให้เห็ดเกิดเป็นดอเห็ดเล็ก ๆ อยู่ใกล้ ๆ กันเป็นหย่อม ๆ กล่าวคือมีดอกเห็ดจำนวนมากแต่ดอกเล็กและไม่มีน้ำหนัก แต่ถ้าเหม็นโดยมีอุณหภูมิสูงแสดงว่ามีธาตอาหารครับ แต่ต้องระวังในเรื่องของค่า p.h. ต้องไม่ต่ำกว่า 6 ครับถ้าต่ำกว่า 6 ความเป็นกรดนี้จะทำให้ เห็ดไม่สามารถจับตัวเป็นดอกเห็ดได้โดยสังเกตง่าย ๆ ว่าวัสดุเพาะจะมีกลิ่นฉุนมากครับ ความรู้พวกนี้เป็นเกร็ดความรู้เล็ก ๆ ฟังดูจุกจิก แต่ถ้าคุณทำงานมีปัญหาอยู่ไอ้ความรู้จุกจิกเหล่านี้จะช่วยแก้ปัญหาที่คุณมีอยู่โดยไม่รู้ว่าจะแก้ไขอย่างไรใครทำงานมีปัญหาอย่างไรก็เล่าให้ฟังกันบ้างนะครับ จะได้เป็นประโยชน์กับคนอื่น ๆ ด้วย