Translate

วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ใครมีปัญหาเรื่องราในเห็ดฟางมาอ่านกัน

เชื้อราในการเพาะเห็ดฟางและวิธีกำจัด

          เชื้อราที่ราเราพบเจอในการเพาะเห็ดฟางนั้นมีหลายชนิด แต่ละชนิดส่งผลต่อเห็ดมาก-น้อยต่างกัน โดยจะกล่าวถึงแค่ 7 ชนิด แบ่งเป็น 5ระดับ(แบ่งเอง อิอิ) ที่เจอกันบ่อยๆคือ
          1.ความน่ากลัวระดับ 1 ดาว
                 - ราเขียว มีสีเขียวอ่อน ไปจนถึงเขียวเข้ม เกิดจากเชื้อไตโคเดอมาและเพนนิซิเลียม เราจะเจอราเขียวได้เมื่ออุณหภูมิภายในโรงเรือนต่ำ ความชื้นในวัสดุสูง อากาศน้อย ในวัสดุที่เป็นฝ้ายจะเจอมากกว่าวัสดุอื่น เชื้อที่มากับเชื้อเห็ด ราเขียวเป็นราที่กำจัดง่ายไม่ส่งผลต่อเห็ดมากเพราะเติบโตและแพร่พันธ์ช้า กินพื้นที่เป็นจุดๆ จุดละไม่เกิน 30 เซนต์ พื้นที่ที่มีราเขียวถ้าวัสดุยังมีความร้อน หรือเชื้อแข็งแรงก้อสามารถเติบโตได้ปกติแต่ดอกเล็กอาจฝ่อบ้าง วิธีกำจัด ใช้EM ราด หรือใช้ บีเอส พลายแก้ว งดการให้น้ำโดนบริเวณที่เป็นเชื้อรา 
               -ราส้ม มีสีส้มเมื่อแก่จะมีสีส้มแกมน้ำตาล ราส้มเติบโตตรงข้ามกับราเขียวคือ อากาศเยอะ แสงเยอะ อุณหภูมิวัสดุสูง อากาศแห้ง เราจะเจอราส้มมากในช่วงแรกของการเพาะช่วงที่เห็ดเริ่มจับเม็ดไปจนถึงการเก็บเห็ดรุ่นแรก สาเหตุเชื้อราจะเจริญได้ดีเมื่อ การย่อยของวัสดุไม่สมบุรณ์ การเกิดแก้สจากวัสดุจะทำให้ราส้มเติบโตดียิ่งขึ้น วิธีกำจัด ราดด้วยEM หรือน้ำเปล่า หรือใช้ บีเอสพลายแก้ว ลดอุณหภูมิ ในห้อง เพิ่มความชื้นให้วัสดุ ลดแสง
          2.ความน่ากลัวระดับ 2 ดาว 
                - ราขาวราร้อน ราสองตัวนี้เป็นราชนิดเดียวกันแต่เกิดต่างที่ เกิดในกระบวนการหมักเรียกว่าราขาว เกิดในโรงเรือนหรือเมื่อทำการเพาะเรียกว่าราร้อน ราร้อนเป็นราที่ต้องการออกซิเจนต่ำ ลักษณะสีขาวคล้ายใยเห็ดแต่จะขาวกว่าและฟูกว่า เมื่อมีราร้อนแล้วจะทำให้เห็ดเกิดอาการอย่างหนึ่งเรียกว่าบ้าใยคือใยเดินแต่ไม่จับเม็ดเส้นใยเคลือบหน้าวัสดุเพาะเห็ดรุ่นหลังเกิดไม่ได้เพราะขาดอากาศ อาจจะมีอาการเห็ดเป็นขนร่วมด้วย วิธีแก้ใขและกำจัด เปิดอากาศเพิ่มออกซิเจนเข้าไป ราร้อนจะยุบตัว และหายไป หรือจะทำการฉีดน้ำบริเวณที่เป็นก้อได้
          3.ความน่ากลัวระดับ 3 ดาว 
               - รากะหล่ำ รากเน่า สาเหตุไม่แน่นอน ข้อมูลที่มีคือเกิดจากการย่อยของโปรตีน ของเชื้อบัคเตรีชื่อซูโดโมเนส ลักษณะคล้ายราร้อนเกิดแล้วขยายเป็นวงกลม มีสองชนิดคือเป็นแผ่นแข็ง และเป็นใยขาว อย่างที่สองจะส่งผลต่อเห็ดมากกว่าเพราะจะปล่อยกาซเสียทำให้เห็ดคล้ายมีฝุ่นติดและต่อมาเป็นตุ่มผิวคล้ายคางคก ดอกเล็กจะนิ่มคล้าเม็ดโฟม หากเกิดในช่วงที่เห็ดโตเห็ดจะมีอากรโดนหรือดอกแตก แล้วมีน้ำเหนียวไหลออกมา บางดอกมีอาการยืดเปลือกบางนิ่มผิวช้ำ อาจมีอาการเน่าด้านในขึ้นอยู่กับโดนเชื้อมากหรือน้อย วิธีกำจัด เนื่องจากราชนิดนี้จะซอกซอนไปตามเส้นใย ไม่เกิดเฉพาะหน้าวัสดุดังนั้นการกำจัดโดยการใช้ พลายแก้ว EM หรือปูนขาวนั้นไม่สามารถกำจัดให้ราตัวนี้ตายได้ วิธีที่ดีที่สุดคือการเก็บบริเวณที่เป็นออกไปทิ้งให้หมดแล้วใช้พัดลมใล่อากาศเสียทิ้งเอาอากาศไหม่เข้าไป เห็ดจะดีขึ้นใน 1-2 วัน
          4.ความน่ากลัวระดับ 4 ดาว 
                 - ราดำ ลักษณะทั่วไปคือเป็นสีดำเตลือบไปตามเส้นใยเห็ดเกิดจากเชื้อตระกูลเอสเพอจิลัสเมื่อเชื้อแก่จะเป็นตุ่มดำมีสปอร์พร้อมขยายพันธ์ เราจะพบราดำได้ในวัสดุเพาะที่เก่ามากๆ โดนน้ำโดนฝนบ่อยๆ วัสดุไม่มีความร้อนแต่ความชื้นสูง จากอาหารเสริมที่มีรำเป็นส่วนผสมไม่ผ่านการอบ จากรำที่เก็บไว้นานๆ จากสปอร์ที่ปลิวมาจากที่อื่น ราดำเมื่อเกิดแล้วสามารถลามไปได้อย่างรวดเร็ว ถ้าหากมีความชื้นสูงราดำจะลามเร็วเป็นพิเศษ สามารถลามในวัสดุที่เป็นฝ้ายใช้เวลา 2-3 วันลามได้ทั่วทั้งโรงเรือน ทลายปาล์ม 5-7 วัน นอกจากจะสังเกตจากเส้นใยสีดำแล้วเรายังสังเกตได้จากอาการของเห็ด ที่ดอกเล็กฝ่อแห้งเป็นกลุ่ม มีอาการดอกเล็กบานเร็วกว่าปกติ ดอกผิดรูปมีอาการบวมถ้าผ่าดูดูด้านในจะสีน้ำตาลเหมือนเห็ดแก่ ถ้าหากพบอาการดังนี้ให้ตรวจหาราดำแล้วเก็บออก งดการให้น้ำเพราะจะทำให้ราดำลามเร็วขึ้น
          5.ความน่ากลัวระดับ 5 ดาว 
                 - ราเมือกสีขาว ราเมือกสีเหลือง ราตัวนี้น่ากลัวมากเดินใยเป็นแผ่นคล้ายรากไม้ หากินคล้ายอมีบา เติบโตแพร่พันธ์เหมือนแบคทีเรีย สีขาวจะพบมากกว่าสีเหลือง ลักษณะเป็นเมือกคล้ายนมแช่แข็ง เวลาจับจะละลายคล้ายน้ำเรียกว่าไซโตพลาซึม เมื่อลามแรกๆจะเป็นกองแล้วหยดลงพื้นคล้ายอ้วกหมา (เห็นภาพเลยนะ ) ราตัวนี้จะเกิดในครั้งแรกของการเพาะเป็นส่วนมาก ลามทั่วโรงได้ในเวลา 20 ชั่วโมง จะส่งผลให้ เห็ดฝ่อ ไม่จับเม็ด เน่า และไม่โต กรณีที่โรงเรือนติดกันเชื้อสามารถลามไปโรงเรือนอื่นได้ในเวลาไม่กี่วันถ้ากำจัดไม่ถูกต้อง บอกได้เลยว่าเจ๊งแน่นอน เคยมีผู้ที่เจอราตัวนี้แล้วส่งผลให้เห็ดไม่เกิดทุกโรง เกือบ 20 โรง กินข้าวไม่ได้หลายเดือน สำหรับใครที่ทำโรงเรือนติดกันระวังราตัวนี้ให้ดี วิธีแก้ใขเมื่อเจอลดความชื้นภายในโรงเรือนราเมือกจะน้อยลงเมื่อเจออากาศแห้ง ราเมือกจะฝังตัวในวัสดุ พื้นดินเมื่อสภาพไม่เหมาะต่อการเติบโต แตเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมราเมือกก้อจะกลับมาเจริญเติบโตอีกครั้ง วัสดุที่ติดเชื้อควรเก็บทิ้งเผาทำลาย หากพบว่าหยดลงพื้นต้องต้มน้ำให้ร้อนมาราดบริเวณที่เจอ ใช้ความร้อนมากกว่า 65 องศา เป็นเวลา 30 วินาทีขึ้นไปจะสามารถกำจัดได้ การโดนแสงแดดหรือแสงยูวีโดยตรงทำให้ราเมือกตายอันนี้อาจจะต้องรื้อโรงถึงจะทำได้ หลังจากนั้นอาจจะต้องพักโรงทำความสะอาด ที่ไม้ที่พื่น ทั่วบริเวณ หลังทำความสะอาดให้ใช้ด่างทับทิมผสมฟอมาลีน ใส่ถ้วยแก้วตั้งทิ้งไว้ในโรงเรือนปิดโรงให้สนิท เนื่องจากเป็นสารอันตรายเมื่อผสมแล้วจะเกิดควันควรหาผ้าปิดจมูก และใช้อย่างระวัง
                                                                                                                  หัวหน้าชมรม.04 

วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

แก้ปัญหาเห็ดสังคม(กลุ่ม,ก้อน)

          ปัญหาเห็ดเกิดเป็นกลุ่มๆ เป็นลองกอง เก็บยากบางทีไหญ่บ้างเล็กบ้างนี่ปวดหมองเลย ตัดแต่งไม่ค่อยสวย  เอาเป็นว่าตรงใหนสารอาหารเยอะอากาศอุณหภูมิแสงพอเหมาะมันก้อเกิดเยอะเป็นธรรมดา แต่ปัญหาที่เห็ดเกิดเป็นกลุ่มส่วนมากจะเกิดจากสาเหตุหลักๆดังนี้จ้า(อันนี้จากประสบการณ์จริงหรือไม่ อย่าพึ่งเชื่อจนกว่าจะได้ลอง)
          1.เราโรยเชื้อเยอะจะมีอาหารและความชื้นที่มาจากฝ้ายหรือวัสดุที่ใช้ทำเชื้อจุดนี้ถ้าลองสังเกตุดูเห็ดจะเริ่มจับเม็ดก่อนจุดอื่นๆ โรยเชื้อเยอะไม่ใช่ว่าจะดีเสมอไป เห็ดออกเยอะเป็นกลุ่มจะแย่งอาหารกัน ดอกเล็กที่เกิดทีหลังในบริเวณนั้นจะฝ่อเป็นส่วนมาก วิธีแก้ใข -ตีเชื้อเห็ดให้ละเอียด ไม่เป็นก้อนเวลาโรย               - โรยเชื้อให้ทั่ววัสดุเพาะ อย่าโรยเป็นกระจุก หรือกองๆใว้เป็นจุดๆ -อัตรส่วนที่เหมาะสม ประหยัดและใด้ผลผลิตดี เชื้อเห็ด 1 ถุง / พื้นที่เพาะ 1-1.5 ตรม.




          2. ตรงที่เป็นหลุมๆข้างล่างชั้นหรือหัวท้ายชั้นถ้ากองเตี้ยก้อหัวร่องท้ายร่องซะเป็นส่วนไหญ่ เวลาเราฉีดน้ำตัดใย สารอาหารจะใหลจากบนลงล่าง ด้วยอุณภูมิด้านล่างและอาหารที่เลือเฟือเหมาะสมข้างล่างชั้นและบริเวณที่เป็นหลุมๆจึงเป็นพิกัดหลักๆที่เห็ดจะเกิดเป็นกลุ่ม วิธีแก้ไข สำหรับโรงเรือนหน้าวัสดุพยายามทำให้เรียบเสมอกัน
          3.เชื้อเห็ด เชื้อที่ผ่านการต่อเชื้อบ่อย ถุงต่อถุง จะเจอปัญหานี้บ่อย(คือไปซื้อเชื้อดีๆมา1ถุงเป็นแม่เชื้อ เอาแม่เชื้อไปขยายต่อในถุงที่เตรียมไว้แบบนี้) การต่อเชื้อที่บ่อยเกินไปจะทำให้เชื้ออ่อนแอส่งผลหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือเกิดเป็นกลุ่มๆ วิธีแก้ใข - ให้เปลี่ยนเชื้อถ้าเราลองใช้เชื้อยี่ห้อเดิมสองสามครั้งแต่ยังเป็นกลุ่มเหมือนเดิม(อันนี้คือแก้ใข ข้อ 1และ2 แล้วนะ) -สังเกตุที่ปากถุง เชื้อต่อเชื้อจะไม่มีวุ้น PDA ตรงปากขวด แต่บางที่ก้อใช้เชื้อเหลวฉีดต่อเอาอันนี้ต้องศึกษาแต่ละยี่ห้อว่าเขาทำยังไง
4. การตัดใย เกี่ยวข้องไม่มากแต่ก้อมีส่วนบ้าง เชื้อที่ไม่ติดกับวัสดุเพาะจะไม่ค่อยอมน้ำ (เกิดจากโรยเชื้อแล้วฉีดน้ำน้อยเกินไป หรือบางคนลืมฉีดก้อมี) พอความชื้นน้อยเห็ดจะจับเม็ดก่อนที่อื่น ตัดใยแล้วเส้นใยไม่ขาด ยุบเป็นพังผืด เห็ดก้อเกิดเป็นกลุ่มใด้ วิธีแก้ใข- หลังโรยเชื้อรดน้ำให้เชื้อติดวัสดุเพาะที่สุด ถ้าดูว่าวัสดุแฉะไปให้เปิดทิ้งใว้สักพักค่อยปิดโรง -ตัดใยควรใช้น้ำแรงๆแรงดันสูงๆแต่ใช้น้ำน้อยๆ ใยที่หนาๆควรตัดให้ขาดจากกัน  ไม่ใช่ตัดให้ยุบ

วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

แก้ปัญหา วัชเห็ด กันดีกว่า

วัชเห็ด คือเห็ดต่างๆที่เราไม่ตองการ มันจะมาแย่งอาหารกับเห็ดฟางของเรา ส่นมากที่พบเจอกันได้แก่ เห็ดหมึก เห็ดขี้ม้า เห็ดโคนน้อย เห็ดพวกนี้เกิดใด้หลายทาง และก้อจะเกิดมากน้อยตามวัสดุเพาะที่ใช้เพาะกัน ทั้งปาล์ม กากมัน ฝ้าย และอื่นๆ บางคนเจอจนชินตาต้องมานั่งเก็บทิ้งบางทีมาก บางทีน้อย แต่จะรู้หรือไม่ว่าต้นเหตุที่มีเห็ดพวกนี้มันเกิดจากอะไร เอาเป็นคร่าวๆเพื่อเป็นแนวทางแก้ใขกัน
1.มาจากมูลสัตว์ที่เอามาใช้เพาะ จะมี เห็ดขี้ม้า เห็ดหมึก พวกนี้จะเกิดใด้ดีในวัสดุที่เป็นมูลสัตว์ ซากพืช และพอมันมันโตระดับหนึ่งมันจะย่อยสลายตัวเองกลายเป็นน้ำหมึกสีดำ และมันก็คือสปอร์ที่พร้อมจะเจริญเติบโตเมื่อมีอาหารและอุณหภูมิที่เหมาะสม ถ้าไม่อยากให้มีเห็ดพวกนี้ ก็ลดพวกมูลสัตว์ลง และทำความสะอาดโรงเรือนหลังจากเพาะเห็ดเสร็จแล้ว
2.มาจากวัสดุเพาะโดยตรง จะมีเห็ดโคนน้อย เห็ดถั่ว เจริญเติบโตดีในอุณหภูมิสูง เจอกันมากในวัสดุเพาะที่เป็นทลายปาล์ม ฟาง หรือวัสดุที่ตากลมตากฝนวัสดุเก่า จะมีเห็ดพวกนี้เยอะเป็นพิเศษ การใส่ปุ๋ยยูเรียเยอะๆเพื่อเพิ่มความร้อน และในโตรเจนในปริมาณมากๆ จะทำให้เห็ดพวกนี้เจริญเติบโตดีเป็นพิเศษ สังเกตุว่าเห็ดพวกนี้จะเกิดก่อนเห็ดฟาง ก้อเพราะกาซแอมโมเนียยังมีในวัสดุเพาะ มันชอบนักแหละ วิธีแก้ คือ วัสดุเพาะพยายามอย่าให้โดนฝน อย่าเอาวัสดุที่เก่ามากอย่างเช่นฟางเก่า ฟางที่โดนฝนมาเพาะ บ่อหมักวัสดุปิดให้มิดชิด กระบวนการหมักควรลดปุ๋ยยูเรียลงและใช้ในปริมาณน้อย หรือเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยสูตรปกติ ก้อจะช่วยได้มาก
3.มาจากเชื้อเห็ด การเลือกซื้อเชื้อเห็ดควรเลือดจากแหล่งผลิตที่ใด้มาตรฐานและเชื่อถือได้ โดยมากการปนเปื้อนที่ติดมากับเชื้อได้แก่ เห็ดโคนน้อย เชือราเขียว ถ้าทำการเพาะแบบโรงเรือนควรจะเน้นเรื่องเชื้อให้มาก ถ้าเจออะไรแปลกๆติดมาควรทิ้งอย่าเสียดาย เพราะการลงทุนมันเยอะเวลาเสียหายมันยกโรง ไม่เหมือนแบบตะกร้า หรือกองเตี้ยที่เสียหายเป็นจุดๆ เอาเป็นว่าเลือกดีๆละกัน
4.จากโรงเรือน บางคนบอกว่า ทำมาดีทุกอย่างแต่ทำไมยังมีเห็ดพวกนี้อีกละ ต้องเข้าใจกันอย่างนี้นะ สปอร์เห็ดบางชนิดพวกเห็ดหมึกจะเกาะตามไม้ตามชั้นตามผ้าใบ นี่เห็นเหตุผลว่าทำไมเราต้องอบ ทำไมกองเตี้ยต้องย้ายกองไปเรื่อยๆ ก้อเพาะเชื้อที่ฝังอยู่อันนี้ยังไม่รวมเชื้อราอีกนะ การอบ ควรอบที่อุณหภมิ 65-80 องศา เป็นเวลา 1.5-3 ชั่วโมงตามขนาดของโรงเรือน ถ้าอบได้ต่ำกว่า 60 องศาอบทั้งวันก้อเหมือนไม่อบ เพราะในกองหมักก้อสูงเกือบ 60 บางท่านเกินด้วยซ้ำมันก้อจะมาเหมือนเดิม
ขอบคุณหัวหน้าชมรมคนแอบมักหลายๆๆครับ

วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

11 อาการที่่เจอบ่อยเห็ดกำลังบอกอะไรเรา ??


1.
เห็ดเป็นขน = ออกซิเจนน้อยหายใจไม่ออก
2.
เห็ดคล้ำ = ลมแรงเหมือนได้มาเที่ยวพัทยา
3.
เห็ดดำ = แสงเยอะแสบตาไปหมดแล้ว
4.
เห็ดดอกเล็กบานเร็ว = ไม่มีสารอาหารหมักไม่สมบุรณ์กรด-ด่างเกิน
5.
โตฝ่อและเน่า = ร้อนมากๆๆๆและชื้นมากๆๆๆๆ
6.
โตฝ่อและแห้ง=ร้อนมากหน้าวัสดุแห้งเกินไป หรือ มีราดำ
7.
พึ่งจับเม็ดแล้วฝ่อ =ร้อนแห้ง,ออกซิเจนสูงเกินมีราหรือมีเชื้อแบคทีเรีย
8.
เห็ดนิ่มแต่ไม่แน่น = อุณหภูมิต่ำวัสดุไม่มีความร้อน>เกิดหลังอาการบ้าใย
9.
เกิดเป็นกลุ่ม = เชื้อเห็ด,โรยเชื้อเยอะ,ตัดใยแล้วเชื้อไม่ติดวัสดุเพาะ
10.
เห็ดนางแบบ 34-24-35 = ไม่มีอาหาร,วัสดุเพาะแห้ง,มีราดำ
11.
เห็ดยืดบานเร็ว = อากาศเยอะ อุณภูมิสูง วัสดุเพาะแห้ง

วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

“ อุดรูรั่วให้ชีวิต....ด้วยความพอเพียง “


****.......บ้านก็ไม่ต้องเช่า ...ข้าวก็ไม่ต้องซื้อ ...อยู่วัดหนองปรือ ไม่ได้เสียสตางค์ ฮ่า ๆๆ......*** พ่อร้องเพลง แล้วก็หัวเราะ เอิ๊ก ๆๆ
โฟกัส..... เพลงอะไรพ่อ อยู่วัดหนองปรือ... ไม่ได้เสียสตางค์ ??
พ่อ.........ก็กินข้าววัดไงลูก ไม่ต้อง ซื้อข้าว ทำนา ปลูกผักไง ฮ่า ๆๆๆ
โฟกัส.....พ่อก็ว่าไปโน้น ฮ่า ๆๆ
พ่อ......“ ผักเราปลูกกินเอง... ข้าวเราก็ทำนากินเอง... ปลาเราก็เลี้ยงกินเอง สบายไหมละโฟกัส สวนพ่อ.... เอิ๊ก ๆๆ “
โฟกัส.......จริงซิพ่อ แต่ต้องปลูก ต้องทำ ถึงจะมีกินใช่ไหมพ่อ
พ่อ.........ใครบอก ไม่ทำก็มีกินลูก แต่ต้องใช้เงินซื้อกินไง แล้วก็ซื้อ ๆๆ ไปทั้งชีวิต....แม้แต่ตายไปแล้วก็ยังต้องซื้อเลย
โฟกัส......ตายแล้วยังต้องซื้อยังไงพ่อ
พ่อ.........ก็ซื้อโลงศพ ใส่ตัวเองไงลูก ฮ่า ๆๆๆๆๆๆๆ
โฟกัส.......งั้นเอาลงถังหมักทำปุ๋ยดีไหมพ่อ ไม่ต้องซื้อโลงศพประหยัดดี ฮ่า ๆๆ
พ่อ ...โฟกัส ฮากระจาย เอิ๊ก ๆ
........หลาย ๆ คนคงสงสัยว่า ผมทำเรื่องพอเพียงจริง ๆ หรือ ตอบให้เลยก็ได้ ว่าทำจริง ๆ แต่เป็นความพอเพียงที่ไม่เหมือนชาวบ้านเขา เพราะ ต้องปรับให้เข้ากับยุคสมัย เข้ากับตัวเองให้มากที่สุด....คุณเชื่อไหมว่า การหาเงินให้มาก ๆ นั้นไม่ถูกต้อง มันเป็นวิธีที่ทำให้คนลืมไปว่าความเป็นคน มันเป็นเช่นไร อ้าว !! ไม่หาเงินให้มาก ๆ แล้วจะทำไง ถึงจะรวย ถึงจะมีความสุข.. มาดูกัน
........ ไม่ต้องจ่ายไง เอ๊ะ !! ยังไงไม่จ่าย....ก็ ลด ละ เลิก ยังไงละ มาใช้วิชา เลข ป. 4 ที่สามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตพอเพียงกันดูนะครับ ว่า ทำไมผมถึงเหลือ ๆ ทำไมผมถึงลั้นล้า ทำไมผมถึงไม่ต้องขาย ทำไมผมถึง ได้แจก ได้แบ่งปันได้ ตามโจทย์ปัญหาชีวิต กันที่ละข้อเลยแล้วกันครับ
1.ค่าเหล้า....สมมุติ คิดเล่น ๆ แค่ สุรา 40 ดีกรี ขวดเล็ก 50 บาท ถ้าคน ๆ หนึ่งกินวันละ 1 ขวด ขวลละ 55 บาท 1 เดือนเขาจะต้องเสียค่าเหล้า เดือนละ 1650 บาท 1 ปี จะเสียค่าเหล้า เสียเงินสะสมโรค สะสมตับแข็ง สะสมมะเร็งตับ สะสมโอกาสเกิดอุบัติเหตุ ตั้งปีละ 19,800 บาท ( แต่ผมไม่เคยต้องจ่าย...เหลือละ เงิน 19,800 บาท /ปี )
2.ค่าบุหรี่ 1 ซอง คิดเล่น ๆ แค่ ซองละ 50 บาท สูบ 1 ซอง / วัน ก็พอเอาแค่เผาปอดแบบนิด ๆ นะเนี้ย 1 เดือน เสียค่าบุหรี่ 1500 บาท/เดือน 1 ปี เสียค่าเผาปอด สะสมโรคมะเร็ง ถุงลมโป่งพอง และอื่น ๆ ตั้งปีละ 18,000 บาท ( แต่ผมไม่เคยต้องจ่าย...เหลือละ เงิน 18,000 บาท /ปี )
3.ค่าหวย ล็อตเตอรรี่ คิดเล่น ๆ แค่งวดละ 300 บาท ในวันที่ 1 และ 16 ของแต่ละเดือน ตก 1 เดือน ค่าหวย ก็ปาเข้าไปละ 600 บาท/เดือน 1 ปีก็ต้องเสียเงินค่าหวย 7200 บาท เนี้ยคิดแค่เดือนละ 600 บาทเองนะเนี้ย ผมก็หยอดกระบุก ไว้งวดละ 300 บาทก็จะมีเงินที่ไม่ถูกหวยกินได้ตั้งปีละ 7,200 บาท นั้นไง ผมก็ไม่ต้องจ่าย อิอิอิ
4.สินค้าแบรนแนม....ผมไม่รู้นะว่ามันราคาเท่าไร เพราะ หลุยติ๊งต้อง เวอร์ซาซ่า แต่ละชื่อแค่เรียกก็ยากละ ไม่เคยขวนขวายมาถือให้มันหนักชีวิต เสริมบารมีอะไร แค่มีเสื้อผ้าห่อหุ้มกาย ก็เพียงพอละ พอไม่อุจาดสายตาใคร ๆ บ้างก็แค่นั้นเอง....
5.ค่าอาหาร กับข้าว เดี๋ยวนี้ ค่าครองชีพสูงมาก ๆ สำหรับมนุษย์เงินเดือน กินข้าวราดแกง ผัดกระเพรา ค่าอาหาร ต่อคน / วันผมว่าเอาให้อิ่ม ๆ 150 บาท / วันไม่รู้จะพอไหม แล้วถ้า 1 ครอบครัวมีคนสัก 3 -5 คนละ จะเอาอะไรกินในเมื่อรายได้ต่อเดือนคือเงินเดือนที่ถูกกำหนดด้วยรายจ่ายที่ตายตัว ที่ต้องถูกหักจากบัญชีทุก ๆ เดือน ไหนจะค่าบ้าน ค่ารถ ค่าเล่าเรียนลูก ๆ และอะไรอีกจิปาถะ.....ผมก็จ่ายไม่มาก อีกนั้นแหละ เพราะบ้านมาต้องเช่า ข้าวปลา อาหารไม่ต้องซื้อ ผัก ก็เก็บเมล็ดปลูกเอง นั้นไง โคตรประยัด
.......พอจะมองเห็นภาพยังว่า “ อุดรูรั่วให้ชีวิต....ด้วยความพอเพียง “
มันจับต้องได้จริง ๆ การที่ผมเป็นคนแบบนี้ จากข้อ 1 -4 ผมไม่เคยเสียเลยแม้แต่บาทเดียว ก็มีเพียงข้อ 5. ที่ยังต้องพยายามลด ละ ปรับ เปลี่ยน ให้สวนตัวเองคือแหล่งอาหาร เปลี่ยนจากสวนที่เรียนรู้อยู่คนเดียว มาเป็นแบ่งการเรียนรู้ ด้วยการเขียนโพสอยู่ทุก ๆ วันให้คนอ่านปวดกระบานเล่น เพราะความอิจฉา อิอิอิ ว่าทำไม่ ทิดสิท อุดร เขาถึงมีความสุขได้ขนาดนี้ ..ผมมาทำให้คุณ ๆ ผู้อ่านและติดตามโพสผม อิจฉาผม จริงไหม ??? ตอบเลยว่า จริง !!! แต่ในความเป็นจริง ที่ผมทำอยู่นั้น ผมทำมานานแล้ว แล้วอยากจะบอกว่า สิ่งที่เรียกว่า “พอเพียง” คุณ ๆ ทั้งหลายนั้นทำได้ ลองลดสิ่งใกล้ตัวที่เป็นความเคยชินลง

........ ลองเอาเงินใบ 50 บาท ที่จะเดินซื้อเหล้าขาวมาใส่ปากเพื่อ ทำร้ายตัวเอง พับเล็ก ๆ กำไว้ในมือ แล้วจัดการ เอามือขวาจับหูมือซ้ายสอดไขว้ แล้วใช้นิ้วชี้นิ้วจิ้มดิน ปั่นจิ้งหรีดสัก 20 รอบ ให้มันเมาไปเลย ถ้ายังไม่เมามากพอก็จัดไปสัก 50 รอบ รับรองคุณได้เมา ฟ้าเหลือง อ๊วกแตก อ๊วกแตนไม่ต่างจากการกินเหล้าเลยละ ฮ่า ๆๆ แถมเงิน 50 บาทก็ยังเหลือ ๆ ให้คุณหยอดกระบุก อิอิ
......ลองเอาบุรี่สักมวน เคี้ยวตุ้ย ๆ ลองดูซิว่าที่สูบ ๆ เผาทิ้งทุก ๆ วันเนี้ยมันอร่อย หอมจริง ๆหรือ ผมว่าคุณจะถึงบางอ้อเลยว่า.......รสชาติมันห่วยแตกมาก ๆ ฮ่า ๆๆ ได้เมาขี้แตกขี้แตนยิ่งกว่ากินเหล้า ซะอีก เอิ๊ก ๆๆ
.........ลองเอาบิลหวย มาต้มน้ำดื่มดูซิว่า มันอร่อยเหมือนชา อิชิตัน ไหม อิอิอิ ใบเศษกระดาษ ที่มีตัวเลยเรียงราย นั้นมันแปลงเป็นเงินได้จริงเหรอ เพราะ แค่เลข 2 ตัว % การถูกของคุณอยู่ที่ 1 ต่อ 100 ส่วนเลข 3 ตัวก็ปา ไปที่ 1 ต่อ 1000 ยิ่งล็อตเตอร์รี่ เขายังบอกเลยว่าทุก ๆ คนมีโอกาสถูกกันทั้งหมด แต่ จะถูกในทุก ๆ 400 ปี / 1 ครั้ง ฮ่า ๆๆ คงต้องเป็น ซูสีไทเฮาละม้าง ถึงจะถูก เพราะ ทุก ๆ คนจะมักพูดว่า “ ขอให้พระองค์มีอายุยืนหมื่น ๆ ปี ฮ่า ๆๆ
........สุดท้ายลองเอาเงินค่าเหล้า ค่าบุหรี่ ค่าหวย มาหยอดกระปุกดูนะครับว่า จะมีเงินมากมายแค่ไหน ทำไมผมถึงมีบ้านสวน ทำไมผมถึงมีเงิน ขุดนั้น ถมนี่ ทำอะไรมากมาย ทำไมถึงมีผืนดินเล็ก ๆ แห่งนี้ได้ ทั้งที่รายได้ก็ไม่ได้มากมายอะไร.....ทิ้งไว้ให้เป็น โจทย์ปัญหา ที่ลองให้นำไปขบคิด....
“ ...คนเรา มีสิ่งหนึ่งที่เท่าเทียมกันคือ “เวลา” แต่คนเรามีสิ่งหนึ่งที่ไม่เหมือน ๆ กัน...นั้นคือแนวคิด ใครมัวแต่คิด แต่อีกคนมัวแต่ลงมือทำ คุณก็สู้คนที่ลงมือทำไม่ได้หรอก ผมไม่สามารถบอกว่าต้องทำอย่างไร ต้องเริ่มยังไง เพราะคนเรามีพื้นฐานชีวิตไม่เท่ากัน
...เพราะชีวิตคนเรามันไม่สำเร็จรูป....เหมือนบะหมี่ ที่จะแกะซองใส่น้ำร้อนแล้วกินได้เลยเมื่อไร...มันต้องเรียนรู้จากการกระทำทั้งนั้นถึงจะสำเร็จ...”
“ เวลากำลังเดินผ่านคุณไปทุก ๆ วินาที แล้วแค่ใครใช้เวลาให้คุ้มค่าได้มากกว่ากัน จะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจว่า เราน่าจะทำเมื่อวาน เราน่าจะปลูกไม้ผลเมื่อ 5 ปีที่แล้ว เราน่าจะ มีต้นสัก ยางนา เมื่อ 20 ปีที่แล้ว วันนี้เราก็คงมีบ้านอยู่ ไม่ใช่เช่าคอนโดเขาอยู่ตั้ง 30 ปี ถึงจะหมดหนี้ อิอิอิ “
ขอบคุณ ทิดสิท อุดร ครับ

วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557

มาทำเตาอบเห็ดฟางใช้เอง

ใครที่อยากรู้เรื่องเตาสำหรับอบไอน้ำ วันนี้เรามาลองทำเตาอบแบบลูกทุ่งเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับบางท่านที่คิดจะเพาะเห็ดแบบโรงเรือนแต่มีงบจำกัด ราคาอุปการ์วัสดุทุกอย่างอยู่ที่ 1300-2500 บาท  ตัวนี้อุณหภูมิอยู่ที่ 70 องศาขึ้นไป ผมก็หาตั้งนานเพื่อให้เป็นทางเลือกหนึ่งของผู้เพราะเห็ดฟางนะครับซึ่งเตาอบของผมที่ใช้อยู่มันมีราคาแพงอย่างเตานี้ผมซื้อเมื่อ  มกราคม 2551 ซึ่งปัจจุบันก็ยังใช้ได้ดีอยู่ แต่ราคาตอนนั้น 20000 บาทคักๆ เลย  แต่ต่อไปนี้ไม่ต้องห่วงครับ ผมมีทางเลือกให้ผู้ที่สนใจจะทำเห็ดฟางเป็นอาชีพครับ และที่สำคัญได้ถ่ายไว้ใข้หรืออาจขายได้ 555555 เรามาเริ่มผลิตเตาอบลูกทุ่งกันเลยดีกว่า

เรามาดูก่อนว่าต้องเตรียมอะไรบ้าง

1.ถัง 200 ลิตร 4 ใบ ราคาถังละ 180-250 โดยประมาณ
2.ท่อเหล็กเวลาซื้อให้ร้านเขาทำเกลียวให้ด้วย
3.ตัวแยกสามทาง
4.ข้องอ
5.างไหล

6.อิฐแดงแบบไม่มีรูประมาณ 300 ก้อน


มาเริ่มทำกันเลย
ก่อนอื่นต้องทำฐานก่อนนะเทปูนหนาซัก 4-5 นิ้ว
 ก่ออิฐขึ้นมาเบยตามความขยัน
 ลองเอาถังวางดู ชอบ 3 ถังหรือ 4 ถังจัดไปตามใจ
หลังจากวางถังแล้วให้ดูที่ถังครับจะมีรูเล็กกับรูใหญ่ รูใหญ่เอาใว้ด้านบนเล็กด้านล่าง
พยายามตั้งให้ได้ฉากนะ ระยะห่างให้เท่ากัน หลังจากนั้นวัดระยะจากรูไหญ่ท่อที่ 1 ไปรูที่ 2 จดใว้นะแล้วไปซื้อเหล็ก เอาฝาปิดถังนั่นแหละไปที่ร้าน " เฮียเอาเหล็กเท่ารูนี้ ทำเกลียวใหด้วย" แบบนี้


ดูออกกันไหมเนี้ย ข้างบนดูให้เป็นเตานะ ตรงกลางเป็นถัง ข้างล่างคือวิธีต่อท่อ

ถ้าทำแค่นี้จะได้อุณหภูมิ 60-70 องศา
 เราเพิ่มความร้อนด้วยการ วกท่อกลับมาเผาแบบนี้

ส่วนที่เห็นข่างล่างเป็นชั้นเหล็กเอาไว้วางเชื้อเพลิงทำขึ้นมาสูง 30-50 เซนต์จะได้เอาขี้เถ้าออกได้ จะมีท่อเหล็กข่างล่างมี 3 หรือ 4 รูแล้วแต่จะทำกี่ถัง ท่อเหล็กเอาไว้ต่อลมเป่าจากโบวเวอร์หลังจากเสร็จแล้วความร้อนจะสูงประมาณ 70 ขึ้นไปใช้น้ำ 1ส่วน3 ถังอบได้ 2 -3 ชั่วโมงหรือจะต่อท่อจากรูเล็กของถังทำเป็นระบบเติมน้ำก้อแจ่มเหมือนกัน แต่เอาแบบนี้ไปดูก่อนนะ
ก้อจะประมาณนี้นะ ข้างบนก่ออิฐหรือไม่ก่อก้อได้ 


ขอบพระคุณท่าน หัวหน้าชมรม คนแอบมัก  ที่ให้ความกรุณเผยแพร่นะครับเจ้าของภาพด้วยครับ 
ขอบพระคุณอีกทีครับ

วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ใช้ปุ๋ยหมักวัสดุเพาะเห็ดยังไง

ปุ๋ยหมักเห็ด

          เดี๋ยววันนี้เราจะมาคุยเรื่องเกี่ยวกับปุ๋ยที่ๆเรา ท่านๆใช้ในการหมัก นั้นก้อคือปุ๋ยสูตรต่างๆ รวมไปถึงปุ๋ยยูเรียว่าแบบไหนสูตรอะไร และแต่ละสูตรมีประโยชน์ยังไง ก่อนอื่นเรามาดูว่า แต่ละตัวมันคืออะไร 15-15-15 ; 16-16-16 ; 46-0-0 หรืออืนๆอีกมากมาย เรามาดู 15 ตัวแรกมันคือสาร N หรือในโตรเจนประโยชน์ของมันได้พูดไปบางส่วนแล้วหน้าที่ของมันคือบำรุงใบ 15 ตัวที่สองคือ P หรือฟอสฟอรัสประโยชน์คือบำรุงต้นและดอก 15 ตัวที่สามคือ K หรือโพเทสเซียมประโยน์คือบำรุงราก โดยทั่วไปปุ๋ยที่นิยมใช้ในการหมักคือ สูตรเสมอ 15-15-15 ตราเรือใบ และ16-16-16 ตราเรือใบ บางคนสงสัยว่าทำไมต้องตราเรือใบ เพราะตราเรือใบมีธาตุอาหารหลักและรองากกว่าชนิดอื่นถ้าเปรียบเทียบตามราคาและคุณภาพแล้วตราเรือใบเหมาะที่สุด แล้วทำไมต้องใส่ยูเรีย ? ไม่ใส่ได้ไหม ? คำตอบคือไม่ใส่ก้อได้แต่ประโยชน์ของยูเรียคือมีในโตรเจนสูงและประโยชน์อีกอย่างคือเมื่อละลายแล้วมันจะให้ความร้อน(แอมโมเนีย)ช่วยให้กระบวนการหมักเร็วขึ้น โดยใช้ร่วมกับปุ๋ยสูตรที่อัตราส่วน 1:4 ข้อเสียของยูเรียคือถ้าใส่เยอะไปเห็ดจะน็อกบางครั้งดอกเล็กและมีเห็ดชนิดอื่นเกิดปะปนมาเช่น เห็ดโคนน้อย เห็ดขี้ัวัว เห็ดหมึก เห็ดพวกนี้เจริญเติบโตดีในวัสดุที่มีแอมโมเนียเยอะ ดังนั้นเวลาใส่ก้อใส่น้อยๆหรือถ้าไม่รีบก้อไม่ต้องใส่ ช้าๆแต่ชัวว์ว่างั้น อัตราส่วนที่ผมใช้คือ ปุ๋ยสูตร 16-16-16     2 กก. ยูเรีย 0.5 กก ต่อวัสดุเพาะ 5-10 ตัน

วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ทำอย่างไรให้เห็ดมีดอกโต(ไม่เกี่ยวกับฮอร์โมน)

เห็นว่ามีประโยชน์เลยเอามาให้อ่านครับ
          บางคนสงสัยว่าทำไมเห็ดลูกเล็ก อยากให้เห็ดลูกใหญ่ๆต้องทำยังไง ? ใส่ฮอร์โมนแล้วเห็ดโตจิงหรือเปล่า ? เอาเป็นว่าเราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนนะคับว่าเห็ดฟางมันไม่ค่อยเหมือนกับเห็ดชนิดอื่นเพราะไม่มีระบบน้ำย่อยที่จะนำอาหารมาใช้ใด้ทันที แต่ต้องอาศัยตัวช่วยหลายๆอ่างเช่นจุลินทรี หรือแบคทีเรียบางชนิดมาช่วยในการสร้างอาหาร เพื่อนำไปใช้ ดังนั้นการใช้รำ หรืออาหารเสริมโรยหน้าชั้นอาจจะไม่ใด้ช่วยอะไรมากนักเพราะเห็ดไม่สามารถนำเอาไปใช้ได้ทันที เราจึงต้องเอามาใช้ในกระบวนการหมักทั้งหมดที่เห็ดจะนำไปใช้ในรูปของในโตรเจน(ได้จากมูลวัว มูลควาย และปุ๋ยหมัก)ซึ่งจะเราจะเปลี่ยนไห้เป็น โปรตีน น้ำตาล และคาร์บอน สิ่งเหล่านี้เราๆท่านๆได้ใส่ลงไปในการหมักซึ่งจะมี Ca P K Mg แล้วนั่นคือ
          1.ยิบซั่มหรือปูนขาวหรือโดโลไมท์ 

          2.ดีเกลือ 
          3.ปุ๋ยสูตร 
          4.ยูเรีย
          นี่คือสิ่งที่จะเปลี่ยนในโตรเจนให้เป็นอาหารหรือโปรตีน(ราขาวหรือราร้อน)แต่น้องฟางของเราก้อยังเอาไปใช้ได้ยากเราจึงต้องใช้ตัวช่วยที่สอง คือ
          1.EM 2.กากน้ำตาล
          ทั้งสองอย่างช่วยในการย่อยสลายและเพิ่มปริมาณของในโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพเทสเซียมที่เห็ดจะนำไปใช้ในการเจริญเติบโต
          ดังนั้นกระบวนการหมักควรจะมีเหมือนที่กล่าวใว้ข้างต้นเห็ดเราก้อจะออกมาสวย ลูกโตสมบูรณ์
หลังจากนั้นเรามาดูช่วงที่สองคือการพาสเจอรไรส์หรือชาวเห็ดจะเข้าใจคือการอบใอน้ำ ประโยชน์ของการอบมีสองอย่างคือกำจัดเชื้อราต่างๆรวมถุงราขาวที่อยู่ในวัสดุเพาะเพื่อเป็นอาหารน้องฟางของเราโดยทั่วไปอบที่อุณหภูมิ 70 องศาสองชั่วโมง หรือบวกสิบองศาจากความร้อนในกองหมักเช่นกองหมักร้อน 55 องศาเราต้องอบไห้สูงกว่า55+10 คือ 65 องศา คับ
           เข้าสู่ช่วงที่สามคือการเติบโตผมจะพูดรวมเลยคือช่วงเดินใยสิ่งที่เขาต้องการและนำไปใช้คือโปรตีนที่ย่อยสลาย น้ำตาล คาร์บอนไดออกไซด์ และความร้อนดังนั้นช่วงนี้เราจึงต้องปิดโรงเรือนให้สนิทที่สุด ใยก้อจะเดินสวยใช้เวลาประมาณ 4-7 วัน(ตามสภาพอากาศ) เห็ดก้อจะเริ่มจับเม็ด เราก้อจะตัดใย(เวลาตัดใยควนเปิดอากาศหรือใช้พัดลมเปาไล่คาร์บอนไดออกไซด์ออกและแทนที่ด้วยออกซิเจน) โดยใช้น้ำมาปิดกั้นออกซิเจนเพื่อบังคับไห้เห็ดจับเม็ด เปิดให้แสงเข้า และเปิดให้อากาศเข้าออกโดยเริ่มจากน้อยไปหามาก ช่วงนี้ใช้เวลาประมาณไม่เกิน 7 วัน
          ช่วงสุดท้ายคือหลังจากเริ่มเก็บเห็ด ควรรักษาความชื้นไห้อยู่ที่ 70-80 เปอร์เซนต์ ฉีดน้ำบางครั้งถ้าวัสดุแห้ง(แห้งมากไปเห็ดจะดอกเล็ก บานเร็ว และเป็นสาเหตุของราส้ม ถ้าแฉะไปเห็ดที่ยังไม่โตจะเน่า ฝ่อ และอาจจะทำไห้เกิดราเขียว) สภาพอากาศภายในควรหายใจสะดวก มืดไว้จะดีเพราะเห็ดจะขาวน่ากิน ถ้ามืดแล้วเห็ดคล้ำมาจากสองสาเหตุคือ ความชื้นสัมพัทธ์(ช่วงที่ฝนตกมากๆ) และลมเอื่อยๆ
ลืมเรื่องฮอร์โมนไปเลย ฮอร์โมนคืออาหารเสริมที่เห็ดจะสามารถนำไปใช้ใด้อาหารที่ว่านี้ ประกอบด้วย น้ำตาลกลูโคส และฟรุกโตส และสารอาหารบางอย่างจากสัตว์น้ำและพืชบางชนิดเช่น ไคโตซาน แทนนิน หาได้จากอะไรลองหาดูในกูเกิลได้ พวกนี้เห็ดสามาถที่จะนำมาใช้ใด้เร็ว บางท่านไม่มีฮอร์โมนก้อใช้ M 150 ( มีสารอะไรหนอถึงใช้แทนใด้ต้องลองไปดูข้างขวดนะ ) เอาแค่นี้ก่อนเดี๋ยวจะเบื่อ ท่านใหนอยากทราบเรื่องอะไรถามเข้ามาแล้วผมจะพยายามหามาให้หรือถามจากสมาชิกในกลุ่มหลายๆท่าน เพื่อประโยชน์ในการเพาะน้องฟางต่อไป

 ขอบคุณ
คุณ
หัวหน้าชมรม คนแอบมัก

วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ตอบคำถามคุณชัยยุทธ ภูเงิน จากอุดรฯเรื่องจุดคุ้มทุนในการเพาะเห็ดฟาง

สวัสดีครับ ขอโทษที่ตอบช้าครับพอดีวันนี้คิดยังไงไม่รู้มาเปิดเมลดู  ก็เหมือนที่ผมเขียนลงในบทความนะครับตอนนั้นรายได้คำนวนเมื่อหลายปีแล้ว ตอนนี้ราคาเห็ดเปลี่ยนไปตอนนี้ส่งอย่างต่ำอยู่ที่ 60 บาท       1 โรงเรือน = 100 กก  ก็เท่ากับ 6000 บาท ต่อโรงเรือน (ราคาขั้นต่ำสำหรับตอน)นี้ที่เหลือลองคำนวนเอานะครับ ว่าเราจะสร้างสักกี่โรงเรือน และที่สำคัญเราจะทำอย่างไรให้ได้เก็บเห็ด (ทำให้เห็ดเกิดครับ) แต่มันเป็นปกตินะครับเพราะการลงทุนทุกย่างย่อมมีความเสี่ยง แต่ไม่ต้องกลัวคิดเสมอว่า "เราทำได้" สำหรับผมยินดีให้คำปรึกษาครับ ได้เสมอยกเว้นตอนนอนครับ 555  
        ถ้ามีข้อสงสัยติดต่อมาได้เลยครับ และอีกอย่างลองหาโรงเพราะเห็ดที่เขาอยู่ใกล้ๆเรา เวลามีปัญหาเราจะได้ไปดูงานได้ง่ายๆครับ (หาครู) ถ้าจะถามผม ผมกลัวจะไม่เห็นภาพที่ชัดเจนเวลาอธิบายนะครับ อย่างเช่น โรยเชื้อเห็ดต้องฝนเชื้ออย่างไร ใส่อะไรผสมบ้าง หรือ อบอุณหภูมิ 70 องศา  ต้องใช้กี่ชั่วโมง  หรือการเก็บดอกเห็ดต้องทำอย่างไร และหลายๆคำถาม ถ้าจะมาดูกับผมก็ไกลเกินครับถ้านานๆมา ก็ไม่เป็นไร ผมกลัวว่าจะสู้ค่าน้ำมันรถไม่ไหว อย่างที่บอกว่าปรึกษาทางโทรศัพท์ได้ครับ แต่ต้องหาที่เห็นภาพจัดเจนด้วย ผมรับรองว่าที่ลงทุนทำเห็ดฟางไปคุ้มแน่นอนครับ

วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2557

มาเพาะเห็ดฟางกองเตี้ยกันครับ

หลักสำคัญในการประสบผลสำเร็จในการทำเห็ดกองเตี้ยคือ 

1.จะต้องมีการพรวนดินตากแดดพื้นที่ ๆ จะทำการเพาะเห็ดทุกครั้ง โดยจะต้องพรวนดินให้ลึก 1 หน้าจอบ และตากแดดให้ดินแห้งสนิทอย่างน้อย 10-15 วัน เพื่อลดมด ปลวก เชื้อราอื่น จากนั้นให้ยกโคกแบบเดียวกับแปลงผัก จึงจะทำการเพาะได้ 

2.หากมีพื้นที่จำกัด ไม่สามารถย้ายกองเพาะ จะต้องพรวนดินตากให้แห้ง ยกโคก แล้วใช้ผ้าพลาสติกปูรองพื้น แต่จะทำให้เห็ดที่เก็บได้จากระหว่างกองเพาะลดน้อยลง เพราะเห็ดขึ้นที่ดินได้ดีกว่าบนกองเพาะ แต่สามารถทำต่อเนื่องได้เลยจนกว่าจะมีมดหรือปลวกมารบกวน ก็ให้รื้อพรวนดินตากแดดใหม่ 

3.การคลุมผ้าพลาสติกปิดกองเพาะในอากาศร้อน จะต้องคลุมให้สูงและกว้าง กว่ากองเพาะอย่างน้อย 50 ซ.ม. และการกองวัสดุเพาะไม่แน่นเท่ากับหน้าหนาว ถ้าอากาศเย็น การกองวัสดุเพาะจะต้องแน่นมากขึ้นกว่าปกติเล็กน้อย และทำชั้นมากกว่าเดิน 1 ชั้นเป็นอย่างน้อย เพื่อเพิ่มอุณหภูมิกองเพาะ 

4.การให้น้ำในกองเพาะในระหว่างที่สร้างกองเพาะ จะต้องมีการตวงน้ำ เพื่อให้รู้ว่าถ้าอากาศแบบนี้ จำนวนชั้นเท่านี้ ความแน่นขนาดนี้ ให้น้ำไปเท่าไรจึงจะทำให้กองเพาะไม่แห้งเกินไปหรือเปียกเกินไป ตลอดการเพาะ
5.การสังเกตกองเพาะว่าถูกต้องหรือไม่ ให้จับอุณหภูมิที่ใจกลางกองเพาะ ถ้าผ่านไป 3-5 วันแล้ว อุณหภูมิภายในกองไม่ได้ 38 องศา แสดงว่าเปียกไป หรือแน่นไม่พอ หรือจำนวนชั้นเพาะต่อกองน้อยเกินไป
6.ในกรณีที่กองเพาะเน่า สาเหตุเนื่องมาจากกองเพาะมีธาตุอาหารมากไปหรือแน่นไป และมีการให้น้ำมากไปด้วย

วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557

น้ำสำหรับเห็ดฟาง

เรื่องของน้ำ:
น้ำที่จะเอามาใช้ในการเพาะเห็ดควรจะเป็นน้ำที่สะอาด น้ำที่มีปัญหาถ้าน้ำมีกลิ่นเหม็น อาจจะเป็นน้ำเกิดภาวะเน่าเสียจากอะไรก็ตามถือว่าเป็นน้ำไม่เหมาะสม น้ำที่เน่าอาจจะเน่าเนื่องจากว่าสารอินทรีย์ต่าง ๆ ในคอกสัตว์ เช่น ในช่วงที่มีฝนตกเกิดการชะล้างสารอินทรีย์ต่าง ๆ ในคอกสัตว์ลงไป หรือจากแหล่งอื่น ๆ น้ำที่บูดเน่าเสียหายก็จะปล่อยกลิ่นเหม็นออกมา เป็นพิษต่อเห็ดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก๊าซแอมโมเนีย หรือ NH 3
น้ำที่มีอินทรีย์วัตถุมากเกินไปจะทำให้เกิดขบวนการหมักบูดและเกิดกลิ่นที่ ไม่พึงประสงค์ ควรจะมีการบำบัดน้ำเสียก่อน ถ้าไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ ถ้าจำเป็นต้องใช้น้ำนั้นจริง ๆ ก็หาวิธีที่จะทำให้น้ำนั้นกลับมาค่อนข้างสะอาดก่อน
น้ำที่มีภาวะเป็นกรดเป็นด่างไม่เหมาะสมก็จะทำให้ผลผลิตของเห็ดนั้นลดลง เห็ดฟางชอบ pH ประมาณ 7.2 ถ้าน้ำเป็นกรดก็จะต่ำกว่า 7.0 ลงมาเหลือ 6.5 อาจจะกระทบกระเทือนไม่มาก แต่ถ้าต่ำลงมาจนถึง 6 ถึง 5 ถึง 4 อย่างนี้ น้ำนั้นจะทำให้ผลผลิตของเห็ดต่ำลง ถ้าจำเป็นควรจะต้องดูให้เป็น น้ำที่กักบริเวณได้ แล้วหาวัสดุปูน เช่น โดโลไมท์หรือปูนมาร์ลหรือหินปูนฝุ่นหรือหินปูนบด หว่านลงไปในน้ำ แล้วปล่อยให้เขาปรับสภาพให้เป็นกรดลดลง ถ้าขึ้นมาใกล้เป็นกลางก็เป็นสิ่งที่ดี
หากพื้นที่ใดน้ำที่จะเอามาใช้รดเห็ดมีภาวะเป็นด่างคือเกิน 7.0 ขึ้นไปมาก เห็ดจะออกดอกได้น้อย เห็ดจะเจริญเติบโตไม่ดีควรจะต้องหาวิธีปรับน้ำนั้นให้กลับเข้ามาเป็นกลาง ในกรณีที่จำเป็นอาจจะใช้แหล่งน้ำที่เป็นกรดเอามาเจือผสม ถ้าเป็นสภาพที่เป็นด่างเพราะหินปูนมากเกินไป เราอาจจะดูแหล่งของกรดที่ราคาถูก แต่ถ้าต้องลงทุนถึงขนาดนี้โดยมาก เพาะเห็ดก็แทบจะไม่มีกำไรแล้ว หาแหล่งหาพื้นที่ที่จะปลูกเห็ดที่ดินก็ดีน้ำก็ดี ให้มีปัญหาน้อยที่สุด
ปัญหาที่พบว่าอาจจะเกิดจากน้ำอีกพวกหนึ่งคือพวกสารพิษ สารพิษนี้บางครั้งก็ได้มาจากพวกสวนไร่นานั่นเอง เช่นมีการฉีดยาฆ่าหญ้า ฉีดยาฆ่าแมลง ฉีดยาป้องกันกำจัดเชื้อราเหล่านี้ ถ้ามีสารที่ป้องกันกำจัดเชื้อรา มีผลกระทบมาก เห็ดกับรานั้นใกล้เคียงกันที่สุด น้ำที่มียาฆ่าเชื้อราก็จะฆ่าเห็ดไปในตัว ถ้าเป็นน้ำที่มาจากน้ำประปา เป็นน้ำที่ใสแต่บังเอิญช่วงนั้นฝ่ายผลิตน้ำประปาใส่คลอรีนมามาก ผลผลิตเห็ดก็จะไม่ค่อยดีสมมติว่าจะต้องใช้น้ำที่ใส่คลอรีนมาแล้ว คลอรีนนั้นใส่ลงไปเพื่อฆ่าเชื้อ ดังนั้นควรที่จะหลีกเลี่ยง แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ จะต้องมีภาชนะ มีโอ่งสำหรับที่จะเอาน้ำใส่เอาไว้แล้วก็เปิดฝาโอ่งเพื่อให้แดดส่องลงไป ทิ้งให้แดดเผาอยู่ประมาณ 2 – 3 วัน คลอรีนส่วนที่เกินที่เหลืออยู่ก็จะระเหยหายไป คือจะลดลง
น้ำที่มีการระบายมาจากโรงงานอาจจะเป็นน้ำที่อ้างว่าได้มีการบำบัดเรียบร้อย แล้ว บำบัดเรียบร้อยแล้วนี้ไม่แน่ว่าบำบัดในส่วนไหน น้ำที่บำบัดมาแล้วจากโรงงานโดยมากไม่นิยมที่จะเอามาใช้เพาะเห็ดโดยตรง น้ำนั้นควรจะมีสระน้ำ มีอ่างเก็บน้ำหรือเขาขุดเป็นบ่อน้ำขึ้นโดยเฉพาะ แล้วในอ่างในบ่อนั้นปลูกผักตบชวาหรือจอก เป็นพืชน้ำที่จะช่วยปรับสภาพน้ำให้กลับดียิ่งขึ้น น้ำที่ได้มีผักตบชวามีพืชน้ำขึ้นอาศัยอยู่ ส่วนมากก็จะได้มีการปรับสภาพจนเหมาะที่จะใช้ในการเพาะเห็ด
วิธีตรวจสอบอย่างง่ายแบบที่ตรวจสอบความสกปรกของน้ำ ใช้น้ำนั้นลองมาเลี้ยงปลาหางนกยูง ใส่ปลาหางนกยูงลงไป ถ้าปลาหางนกยูงตายนี้แสดงว่าใช้ไม่ได้ ต้องเป็นน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาหางนกยูงได้ดี เป็นการตรวจสอบ โดยปรกติทั่วไปน้ำที่ใช้เพาะเห็ดก็ได้จากแหล่งแม่น้ำ ลำคลองหรือบึง บ่อ สระต่าง ๆ ที่มีปลาอาศัยอยู่ ถ้าปลาอาศัยอยู่ได้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาสำหรับที่จะเอามาใช้เพาะเห็ด แต่ถ้าเป็นน้ำที่ใส ๆ นิ่ง ๆ ปลาก็ไม่มีอะไรก็ไม่มี และเมื่อไม่ได้ตรวจสอบเรื่องกรดด่างเรื่องสารพิษเรื่องอะไรต่าง ๆ การที่จะเอาน้ำมาเพาะเห็ดก็ไม่สามารถที่จะคาดหมายว่าจะได้ผลผลิตที่ดี ถ้าน้ำมีไม่ค่อยมากก็อาจจะเอาน้ำนั้นมาแล้วก็จับทำลายสารพิษต่าง ๆ เช่นใช้สเม็คไทต์หรือสเม็คโตทัฟฟ์หว่านใส่ลงไป แล้วก็ทิ้งให้เขาทำความสะอาดคือย่อยสลายหรือจับตรึงสารพิษต่าง ๆ เมื่อน้ำนั้นใสดีแล้วและตรวจสอบด้วยปลาหางนกยูงแล้ว ปรากฏว่าไม่มีพิษภัยใด ๆ น้ำนั้นก็จะใช้เพาะเห็ดได้ดี แต่อย่างไรก็ตามเรารู้ทฤษฎีต่าง ๆ แล้วก็ต้องคำนวณเป็นว่าต้องการน้ำจากแหล่งที่ต้นทุนในการผลิตต่ำที่สุด รู้ทฤษฎีไม่พอต้องคิดบัญชีเป็นด้วย ถ้าทำน้ำให้บริสุทธิ์ปลูกเห็ดได้ดีแต่ต้นทุนสูงเกินไปก็ไม่สามารถดำเนิน ธุรกิจได้

การเพิ่มผลผลิตเห็ดฟางในช่วงฤดูหนาว

การเพิ่มผลผลิตเห็ดฟางในช่วงฤดูหนาว
ช่วงฤดูหนาวนั้น ถือว่าเป็นปัญหาหลักของเกษตรกรผู้เพาะเห็ดฟาง เพราะเกษตรกรหลายๆ ท่านต่างก็ ต้องการผลิตเห็ดฟางให้ออกในช่วงหน้าหนาว ซึ่งจะทำให้ได้ราคาที่ดีกว่าช่วง หน้าร้อน แต่ก็ยากนักที่จะให้ผลผลิตออกเยอะ การทำให้เห็ดฟางออกผลผลิตได้ในช่วงหน้าหนาว  นั่นก็คือ  การเพิ่มอุณหภูมิความอบอุ่น ให้กับโรงเห็ด  โดยวิธีการง่ายๆ ดังนี้

วัสดุอุปกรณ์
1.ปี๊บ 1 ใบ
2.หลอดไฟ แบบกลม 1 หลอด
3.เชือก ที่ใช้สำหรับแขวน ปี๊บ 1 เส้น
4.สายไฟ 1 เส้น
5.ปลั๊กไฟ 1 อัน
วิธีการทำ
1.นำปี๊บที่ได้มาทำการตัดฝาปี๊บด้านบนออก แล้วทำการเจาะรูที่ก้นปี๊บ เพื่อใช้ในการเดินสายไฟ
2.นำหลอดไฟ มาทำการต่อพ่วงให้สามารถใช้ไปฟ้าได้ตามปกติ
3.นำปี๊บที่ประกอบเรียบร้อยแล้ว มาผูกเชือก แล้วนำไปแขวนไว้ในโรงเพาะเห็ด โรงเรือนละประมาณ 2 จุด เพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้กับเห็ดฟางในช่วงฤดูหนาว
วิธีการใช้
นำอุปกรณ์ที่ได้ ไปแขวนไว้ ในโรงเพาะเห็ด โรงละประมาณ 2 จุด แล้วทำการเสียบปลั๊กไฟ ในช่วงเวลากลางคืน โดยเปิดไฟทุกคืนจนกว่า เห็ดจะออกดอก เพื่อให้ความอุ่นแก่เห็ดฟาง จะทำให้เห็ดฟางให้ผลผลิตดีขึ้น

เห็ดหูหนูให้ออกดอกในหน้าหนาว

เทคนิคกระตุ้นเห็ดหูหนูออกดอก และเจริญได้ดีในช่วงฤดูหนาว
ใครๆ ก็ บอกว่าฤดูกาลนี้ซึ่งอากาศเย็น ความชื้นต่ำไม่เหมาะสำหรับการเพาะเห็ดหู หนู เพราะเห็ดหูหนูต้องการความชื้นสูงกว่าเห็ดอื่นๆ(มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ) นอกจากนั้นยังชอบอากาศอบอุ่น เห็ดหูหนูในฤดูนี้จึงดอกเล็ก  เป็นขน  ใบหนา ไม่น่ากิน
แต่ ถ้าได้ลองเอาก้อนเห็ดหูหนูไปแขวนเปิดดอกในโรงพลาสติก เช่น โรงเห็ดลม ซึ่งมีอุณหภูมิภายในสูงกว่าอากาศทั่วไป และเพิ่มการรดน้ำให้ความชื้น และที่สำคัญแขวนให้ใกล้ๆพื้นดิน ไออุ่นจากดินจะช่วยให้หูหนูเจริญและก็ยังสามารถให้ผลผลิตได้ดี นอกจากนั้นยังทำให้ดอกใหญ่กว่าเป็นพิเศษ ใบหนา กรอบ ไม่อมน้ำ และยังไม่มีขน
สำหรับ เกษตรกรที่มีก้อนเห็ดหูหนูในฤดูกาลนี้ ที่ยังให้ผลผลิตได้อยู่หากปรับเปลี่ยนโรงเรือนให้อบอุ่นขึ้นและเพิ่มความ ชื้นให้เพียงพอ เห็ดหูหนูก็ยังให้ผลผลิตได้ดีครับ

เอารูปเห็ดหูหนูช้างที่ดอกใหญ่ไม่ได้เห็นบ่อย (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางกว่า 6 นิ้ว) เพื่อยืนยันว่าเห็ดหูหนูเจริญได้ดีในฤดูกาลนี้ มาฝาก
การใช้ EM เพิ่มความหนาของดอกเห็ดหูหนูและทำให้มีสีสวยเป็นที่ต้องการของตลาด
“ปัญหา ในการทำเห็ดที่เคยประสบมาก็คือ น้ำในสระหลังบ้านที่ขุดไว้เสีย  เนื่องจาก ดิฉันเลี้ยงปลาด้วย อาหารที่ปลากินเกลือจะหมักหมมอยู่ก้นบ่อ ไม่มีการถ่าย เท เมื่อนำมาใช้กับการเพาะเห็ดในระยะแรกนั้น ดอกเห็ดที่ได้จะมีสีดำ ซึ่ง จริงๆ แล้วต้องเป็นสีชมพู แต่ขนาดดอกที่ได้นั้นใหญ่กว่าขนาดทั่วไป น้ำหนัก ดีมาก เนื่องจากสีไม่สวย ตลาดจึงไม่ต้องการก็เลยต้องนำมาทำเป็นเห็ดตาก แห้ง ซึ่งได้ราคาดีกว่าการจำหน่ายเป็นเห็ดสด  ในชุดแรกที่เพาะไว้ คือ 3,000 ก้อนนั้น ได้ทำเป็นเห็ดตากแห้งขายทั้งหมด ทำให้ได้กำไรมา ประมาณ 7,000 บาท ต่อรุ่น
การทำฟาร์มเห็ดหูหนูอีเอ็มที่ราชบุรี
นางศิริรัตน์ ศิริมงคล
35 หมู่ 9 ต.หินกอง อ.เมือง จ.ราชบุรี
ได้เข้ามารับการอบรมเกษตรธรรมชาติคิวเซรุ่นที่ 68 แต่ก่อนที่จะเข้ารับการอบรมนั้น ได้ลองเพาะเห็ดแล้ว จำนวน 3,000 ก้อน โรงเรือนที่ใช้เพาะเห็ดหูหนูมีขนาดความกว้างประมาณ 6 เมตร ยาว 10 เมตร รอบโรงเรือนที่ได้ขุดสระน้ำไว้ใช้
“ปัญหาในการทำเห็ดที่เคยประสบมาก็คือ น้ำในสระหลังบ้านที่ขุดไว้เสีย เนื่องจากดิฉันเลี้ยงปลาด้วย อาหารที่ปลากินเกลือจะหมักหมมอยู่ก้นบ่อ ไม่มีการถ่ายเท เมื่อนำมาใช้กับการเพาะเห็ดในระยะแรกนั้น ดอกเห็ดที่ได้จะมีสีดำ ซึ่งจริงๆ แล้วต้องเป็นสีชมพู แต่ขนาดดอกที่ได้นั้นใหญ่กว่าขนาดทั่วไป น้ำหนักดีมาก เนื่องจากสีไม่สวย ตลาดจึงไม่ต้องการก็เลยต้องนำมาทำเป็นเห็ดตากแห้ง ซึ่งได้ราคาดีกว่าการจำหน่ายเป็นเห็ดสด ในชุดแรกที่เพาะไว้คือ 3,000 ก้อนนั้น ได้ทำเป็นเห็ดตากแห้งขายทั้งหมด ทำให้ได้กำไรมาประมาณ 7,000 บาท ต่อรุ่น

++ การใช้ EM แก้ปัญหาน้ำที่ใช้ในการเพาะเห็ดไม่ได้คุณภาพ ++
สำหรับเทคนิคที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงเห็ดก็จะได้ความรู้มาจากชาวบ้านที่เคยมีประสบการณ์ โดยจะ
แนะนำให้ทำโรงเรือนก่อนแล้วจึงซื้อก้อนเห็ดจากราชบุรีมาเพาะ ราคาก้อนละ 2 บาท
หลังทำการเพาะเห็ดชุดแรกไปแล้ว จึงได้มาเรียนรู้การเกษตรธรรมชาติคิวเซ และได้นำความรู้ที่ได้
กลับไปปฏิบัติกับการทำเห็ดที่บ้าน ด้วยแนวคิดและวิธีการใหม่ โดยเริ่มจากการนำถัง 200 ลิตร มา
เจาะ ติดก๊อกน้ำ แล้วปั้มน้ำใส่ไว้เกือบเต็มถัง จากนั้นเติม EM ไปจำนวน ครึ่งลิตร
กากน้ำตาลครึ่งลิตร หมักไว้ 3 คืน แล้วจึงปล่อยลงสระ ทำอย่างนี้ทุกวัน ก่อนจะเริ่มลงมือเพาะเห็ดชุดที่สองต่อ
++ การใช้ EM เพิ่มความหนาของดอกเห็ดหูหนูและทำให้มีสีสวยเป็นที่ต้องการของตลาด ++
แม้จะแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำที่ใช้ในการเพาะเห็ดได้ และ ผลผลิตเห็ดที่ได้ก็สวยแล้ว แต่ก็ยังประสบกับปัญหาที่ดอกเห็ดยังไม่หนา สีดอกที่ได้ยังไม่ตรงกับความต้องการของตลาด กล่าวคือ สีเห็ดที่ได้จากการใช้น้ำในบ่อเลี้ยงปลาที่ผ่านการบำบัดด้วย EM แล้ว ยังมีสีออกขาวๆ ไม่สวย จึงได้คิดค้นหาสูตรใหม่อีก จนมาทดลองใช้ EM จำนวน 4 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำตาลทรายแดงครึ่งกิโลกรัม ละลายในน้ำ จำนวน 5 ลิตร หมักทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อปล่อยให้ EM มีการขยายเพิ่มจำนวน พอเช้ามาจึงขยาย EM ที่ได้จากการหมัก ในน้ำ 60 ลิตร ก่อนนำไปใช้ และใช้นมสดหนองโพถุงละ 2 บาท เป็นแหล่งเสริมอาหารให้ EM สูตรขยาย ที่ดิฉันใช้นมก็เพราะคิดว่านมน่าจะมีวิตามินหรืออาหารเสริมสำหรับ EM และคิดว่าน่าจะเป็นการเสริมประสิทธิภาพของเชื้อจุลินทรีย์ให้มีความแข็งแรง มากขึ้นด้วย
วิธีการใช้ : จะใช้สูตรดังกล่าวฉีดพ่นหลังการเก็บดอกเห็ดในช่วงเช้า สัปดาห์ละครั้ง ปรากฏว่า ผลที่ได้คือ ดอกเห็ดที่ออกมามีสีสวยมาก สีดอกเป็นที่ต้องการของตลาด ดอกเห็ดที่ได้ก็มีรูปทรงสวยงาม หนาขึ้น มีกลิ่นหอม รสกวาน กรอบ แม้ว่าจะวางเห็ดผึ่งลมไว้แล้วจะทำให้เห็ดเหี่ยวลงไปบ้าง แต่เมื่อนำไปแช่น้ำเพียงครู่เดียวดอกเห็ดก็จะกลับสดขึ้นมาทันที
โดยปกติทั่วไป ที่เคยลองเพาะก่อนจะมีการนำจุลินทรีย์ EM มาใช้ จะเก็บเห็ดได้ 8 ครั้งก็หมดรุ่นต้องดละทิ้งแล้ว หรือ ถ้ามากสุดก็ 10 ครั้งหมด แต่เห็ดที่มีการใช้จุลินทรีย์อีเอ็มอย่างในครั้งนี้ สามารถเก็บเกี่ยวได้ถึง 16 ครั้ง โดยดอกเห็ดที่ได้จะมีขนาดโตเท่าๆ กันปกติก้อนหนึ่งจะได้กำไรแค่เท่าเดียวแต่ตอนนี้ได้กำไรถึง 2 เท่าต่อก้อน แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับสภาพตลาดของเห็ดหูหนูในขณะนั้นๆ ด้วย
การดูแลรักษา : ปัญหาอีกอย่างที่พบบ่อยในการเพาะเห็ดก็คือ เรื่องของเชื้อราซึ่งจะเกิดได้ง่ายจากการที่สภาพภายในโรงเรือนมีความชื้นสูง ดิฉันก็จะใช้ สุโตจูหรือ EM 5 ฉีดพ่นก้อนเชื้อเห็ด บนพื้นและรอบๆ โรงเรือน แต่จะเปลี่ยนจากการใช้กากน้ำตาลในส่วนผสมของสุโตจูมา เป็นน้ำตาลทรายที่เชื่อมผสมตะไคร้หอม หัวข่า และ ใบสะเดา ทั้งหมด รวมกันให้ได้ จำนวน 1 กิโลกรัม นำไปบด ตำคั้นเอาแต่น้ำไป หมักไว้นาน 3 วัน แล้วนำน้ำหมักที่ได้มาผสมกับน้ำจำนวน 20 ลิตร ต่อสุโตจู ประมาณครึ่งลิตร กับสมุนไพรที่หมักแล้วครึ่งลิตรฉีดพ่นกำจัดเชื้อรา จะสามารถป้องกันกำจัดเชื้อราและไรที่กินเห็ดได้

++ โรงเรือนเพาะเห็ดหูหนู ++
ดิฉันจะใช้หญ้าคาหรือหญ้าแฝกทำเป็นวัสดุมุงหลังคา ซึ่งช่วยระบายอากาศได้ดี และ เกิดความเย็นภายในโรงเรือนได้ดีอีกด้วย ส่วนพื้นโรงเรือนจะใช้ทรายปู เพื่อเป็นการให้ทรายช่วยเก็บความชื้นในโรงเรือน ทำให้มีอากาศภายในโรงเรือนที่เย็นและเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ด สร้างโรงเรือนให้มีความสูงประมาณ 6 เมตร ส่วนเทคนิคในการผลิตเห็ดหูหนู ก็จะทำโดยการนำก้อนเชื้อเห็ดมาจัดเรียงไว้ภายในโรงเรือนโดยไม่รดน้ำประมาณ 35 วัน เพื่อเป็นการบ่มเส้นใยเห็ด หลังเชื้อเดินเต็มถุงจึงถอดคอออก แล้วเปิดดอกเห็ดโดยวิธีการกรีดข้างถุง แล้ววางก้อนเห็ดแบบแขวน ขึ้นไปตามชั้นตามขนาดความสูงของชั้น ส่วนใหญ่จะแขวนได้ประมาณ 8-10 ก้อน ในราวแขวน ซึ่งจะทำให้เลื่อนก้อนเห็ดได้เวลาเก็บ
++ เทคนิคลดความชื้นในก้อนเชื้อเห็ด ++
สิ่งสำคัญในการผลิตเห็ดหูหนูก็คือ ก่อนทำการเปิดดอก ต้องมีการสังเกตดูความชื้นของก้อนเชื้อเห็ดไม่ให้มีความชื้นในก้อนเชื้อเห็ด มากเกินไป หากพบว่าที่ก้อนเชื้อเห็ดมีความชื้นมากให้ใส่ปูนขาวลงไป เพราะปูนขาวจะช่วยลดความชื้นซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดเชื้อราได้ดี โดยจะใช้ในอัตรา ½ ช้อนชา ต่อก้อน จากนั้นจึงฉีดพ่นตามด้วย EM จะทำให้เชื้อราที่จะเข้ารบกวนก้อนเชื้อเห็ดหายไป ทั้งยังเป็นการบำรุงดอกเห็ดให้มีความแข็งแรง ก่อนจะเกิดดอกไปด้วย

++ การบำรุงเห็ดด้วย EM ++
ขณะที่เห็ดกำลังออกดอกให้ฉีดพ่นก้อนเชื้อเห็ด ด้วย EM ก่อนการเก็บดอกเห็ด 3 วัน โดยฉีดพ่น
ไปที่ดอกเห็ดให้เห็นเป็นละอองฝอยจับที่ดอก สัปดาห์ละครั้ง ระวังอย่าใช้ถี่เกินไป หรือ ถ้าใช้ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ดอกเห็ดที่ได้จะหงิกงอ
หลังเกิดดอกได้ 20 วัน จะสามารถเก็บดอกได้ 12 ชุด รยะเก็บเกี่ยวคือ 6 วัน/ครั้ง โดยทั่วไปชุดหนึ่งจะใช้ระยะเวลาเก็บเกี่ยวนานประมาณ 3-4 เดือน แต่ถ้าใช้ EM บำรุงดอกเห็ดจะทำให้มีอายุการเก็บเกี่ยวที่ยาวนานกว่า
++ ความโดดเด่นของเห็ดหูหนูที่ได้จากฟาร์ม ++
ปกติเห็ดทั่วๆ ไปเมื่อเก็บมาไม่นานก็จะเริ่มเหี่ยวเมื่อโดนลม แต่สำหรับเห็ดจากฟาร์มที่มีการใช้ EM บำรุงดอกเป็นประจำ จะคงสภาพความสดไว้ได้นานกว่า จนพ่อค้าคนกลางที่มาวิ่งรับซื้อเห็ดไปขายต่อ จะเที่ยวบอกต่อแบบปากต่อปากในเรื่องนี้เสมอ เพื่อให้ฟาร์มอื่นๆ ได้เข้ามาศึกษาหาคามรู้ไว้เป็นตัวอย่าง ดิฉันก็ยินดีที่จะอธิบายให้ผัง และมีหลายครั้งที่ได้ไปบรรยายตามสถานที่ต่างๆ ในหมู่บ้านด้วย ปัจจุบันที่ฟาร์มได้เพิ่มปริมาณก้อนเชื้อเห็ดจากเดิมที่ลงไว้แค่ 3,000 ก้อน เป็น 5,000 ก้อน และ 12,000 ก้อน และ ขณะนี้มีถึง 13,000 ก้อนแล้ว เพราะยิ่งทำก็ยิ่งได้ผลดี
++ การเก็บเกี่ยวเห็ดหูหนู ++
การเก็บเกี่ยวแต่ละชุดจะต้องพักตัว นาน 1 เดือนก่อน เพื่อป้องกันเชื้อราและไร โดยจะฉีดสารสุโตจูป้องกันไว้ ซึ่งให้ผลดีและยังสามารถกำจัดปลวกได้ดีอีกด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าขณะที่ฉีดพ่นสุโตจูอยู่ในโรงเรือนเพาะเห็ด ได้มีงูมานอนขดอยู่ที่พื้น จึงพ่นสุโตจูใส่ งู และเนื่องจากสุโตจูมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์อยู่ด้วย จึงทำให้งูที่ได้รับสุโตจูหายใจลำบาก แล้วหนีไป จากนั้นก็พบว่าไม่มีงูพิษใดๆ มารบกวนอีกเลย และยังมีไรและแมลงศัตรูเห็ดลดลงอีกด้วย
รวมเทคนิคการผลิตเห็ดหูหนูบนขอนไม้
นับ ตั้งแต่เริ่มมีการเพาะเห็ดหูหนูในประเทศไทย ได้มีการใช้วิธีการเพาะเห็ดใน ไม้เนื้ออ่อน โดยเฉพาะไม้เนื้ออ่อนเช่น ไม้แคและไม้มะม่วง โดยจะเลือกใช้ไม้ ที่มีลำต้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12-15 เซนติเมตร จะทำให้สามารถเก็บเกี่ยวผล ผลิตได้นาน 5-6 เดือน ซึ่งจะทำให้ได้ผลผลิตประมาณ 5-8 กิโลกรัมต่อการเพาะใน ขอนไม้  1 ท่อน
++ ชนิดของไม้ที่ให้ผลผลิตดีเมื่อนำมาเพาะเลี้ยงเห็ดหูหนู ++
ไม้ที่จะนำมาใช้ในการเพาะเห็ดหูหนู จะต้องเป็นมีความสด ตัดมาใหม่ๆ ยิ่งสดยิ่งดี ลักษณะไม้ควรเป็นไม้ที่มีเปลือกหนา ไม่มียางที่เป็นพิษต่อเห็ด มีกลิ่นหอม เมื่อฝานเนื้อไม้มาเคี้ยวดูจะมีรสออกหวานๆ จะเป็นไม้เนื้ออ่อนหรือไม้เนื้อแข็งก็ได้ ยกตัวอย่างไม้ที่ใช้ได้ผลและคุ้มค่าต่อการลงทุน ได้แก่
- ไม้แค
- ไม้มะม่วง
- ไม้นนทรี
- ไม้พลวง
- ไม้ไทร
- ไม้ไคร้น้ำ
- ไม้ขนุน
- ไม้มะยมป่า
- ไม้มะกอก
- ไม้เหียง
- ไม้โพธิ์ป่า
- ไม้ทองกวาว
**นอกจากนี้ยังมีไม้เนื้ออ่อนที่นิยมใช้อยู่บ้างในบ้างครั้ง แต่จะให้ผลผลิตค่อนข้างต่ำ คือ ไม้ก้ามปู ไม้นุ่น และ ไม้เนื้อแข็งที่ใช้ได้ผลดี ได้แก่ ไม้กระถินณรงค์ ไม้สะแก ไม้ฝรั่ง ไม้อินทนิล เป็นต้น

++ เทคนิคการเตรียมท่อนไม้เพาะเห็ดหูหนู ++
1. ไม้ต้องได้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เซนติเมตรขึ้นไป จนกระทั่งถึงขนาดโตสุดของไม้
2. ควรตัดไม้มาทำการเพาะเห็ดในฤดูใบไม้ผลิ เพราะไม้ในฤดูนี้จะมีการสะสมอาหารมากกว่าฤดูอื่น
3. ไม้ที่ใช้เพาะเห็ดควรเป็นไม้สดที่ตัดมาใหม่ๆ ยิ่งใหม่ยิ่งดี ไม้ควรตัดทิ้งไว้เกิน 2 สัปดาห์ และ 3 สัปดาห์สำหรับไม้ที่มียางมาก ไม้ที่มียางควรตัดทิ้งไว้ให้ยางไม้ออกเสียก่อน เช่น ไม้ขนุน ไม้ยางพารา ไม้ไทร โดยทิ้งไว้ประมาณ 1-3 สัปดาห์
4. การตัดไม้ จะต้องพยายามไม่ให้เปลือกไม้ช้ำเป็นอันขาด ถ้าเปลือกช้ำแล้วให้นำปูนขาวมาทาตรงบริเวณที่ช้ำ
5. ท่อนไม้แต่ละท่อนที่นำมาใช้ในการเพาะเห็ดควรมีความยาวประมาณ 80-100 เซนติเมตร ถ้าไม้มีกิ่งก้านเล็กๆ ติดมาด้วย ให้ตัดทิ้ง และใช้ปูนขาวทาบริเวณรอยแผลดังกล่าวนั้นเสียก่อนนำมาใช้เพาะเห็ด

++ การเจาะรูไม้ใส่เชื้อเห็ด ++
1.จับสว่านให้แน่น แล้วเจาะลงไปจังหวะเดียวให้มีความลึกประมาณ 3-7 เซนติเมตร หากเป็นไม้ขนาดใหญ่ควรเจาะลงให้ลึกกว่านั้น
2. การเจาะไม้ให้เริ่มทางด้านใดด้านหนึ่งของท่อนไม้ โดยให้ห่างจากปลายไม้ประมาณ 3-4 เซนติเมตร จะเจาะไปในแนวตรง โดยมีระยะห่างประมาณ 6-8 เซนติเมตร สำหรับแถวถัดไปให้มีระยะห่างจากแถวแรกประมาณ 4 เซนติเมตร และควรเจาะในลักษณะสับหว่างกลางของแถวแรก มีความลึกประมาณ 3-5 เซนติเมตร
++ การใส่เชื้อเห็ดลงในขอนไม้ ++
ลักษณะของเชื้อเห็ดที่ใส่ในไม้ จะต้องเป็นเชื้อเห็ดที่ทำจากขี้เลื่อยและไม่มีการผสมดีเกลือในอาหารเลี้ยง เชื้อ สำหรับการใส่เชื้อเห็ดที่ดี ควรใช้กรวยสอดเข้าไปในรูไม้ที่เจาะไว้ แล้วจึงเทเชื้อเห็ดใส่รูที่เจาะไว้ผ่านรูกรวยดังกล่าว เทหัวเชื้อลงไปจนเชื้อเห็ดเกือบเต็มรูไม้ แล้วปิดด้วยจุกพลาสติกให้แน่น หากไม่มีจุกพลาสติกให้ใช้ไม้หรือปูนซีเมนต์ปิดแทนก็ได้
++ การบ่มเชื้อ/การพักไม้ ++
หลังหยอดเชื้อใส่ขอนไม้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้นำขอนไม้ไปตั้งวางในที่ร่มหรือใต้ต้นไม้ หรือในโรงเก็บ โดยก่อนวางพักท่อนไม้ ต้องรองพื้นด้วยคอนกรีตหรืออิฐบล็อกเสียก่อน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ไม้สัมผัสกับดินโดยตรง เพราะจะทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อภายนอกได้ การวางท่อนไม้เพาะเห็ด ควรวางในลักษณะเช่นเดียวกับการวางหมอนรองรางรถไฟ โดยให้มีระยะห่างระหว่างท่อนไม้ประมาณ 1-2 เซนติเมตร ทั้งนี้เพราะต้องการให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก แต่ไม่ควรมีลมโกรกมาก เพราะจะทำให้ความชื้นภายในไม้ลดลง หากมีลมโกรกอาจใช้ฟางคลุมกองไม้ด้านที่ลมพัดมาก็ได้

++ การกระตุ้นเกิดดอก ++
ขั้นตอนนี้ควรทำในโรงเรือนเปิดดอก ภายในโรงเรือนอาจจะปูด้วยอิฐหัก หรือคอนกรีตที่ไม่มีชั้น หรือมีเฉพาะราวไม้สำหรับการวางพาดท่อนไม้ก็ได้ แต่ราวไม้แต่ละแถวจะต้องวางห่างกันประมาณ 1.5 เมตร
นำท่อนไม้ที่ผ่านการบ่มเส้นไปแช่น้ำที่อุณหภูมิปกตินานประมาณ 12-20 ชั่วโมง **แต่ถ้าแช่ในน้ำที่มีอุณหภูมิ 13-18 องศาเซลเซียส ก็จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดดอกเห็ดได้เร็วยิ่งขึ้น ระหว่างแช่ท่อนไม้ ควรหาสิ่งของที่มีน้ำหนักมาวางทับให้ไม้จมน้ำ ซึ่งการแช่น้ำนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. ทำให้ไม้ที่แห้งซึ่งมีความชื้นอยู่น้อย ทำให้มีความชื้นเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของดอกเห็ด
2. เพื่อต้องการกระตุ้นเส้นใยเห็ดที่หยุดพักการเจริญเติบโต และสะสมอาหารอยู่นั้น ให้กลับมีความแข็งแรงขึ้น เส้นใยเห็ดเมื่อได้รับการกระตุ้นจากน้ำเย็นแล้วจะมีความตื่นตัวอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งจะมีการรวมตัวกันเพื่อการเจริญเป็นดอกเห็ดต่อไป
3. เพื่อเป็นการทำลายสัตว์เล็กๆ หรือแมลงที่อาศัยอยู่ในขอนไม้
4. เพื่อเป็นการทำให้เนื้อไม้อ่อนตัวลง
5. หลังจากที่แช่น้ำเสร็จแล้ว ให้ใช้ค้อนทุบตรงบริเวณหัวไม้อย่างแรงพอสมควร ทั้งนี้เพื่อทำให้เนื้อเยื่อของไม้ได้มีการขยายตัว และทำให้อากาศสามารถเข้าไปในเนื้อไม้ได้
++ การดูแลรักษาท่อนไม้ในโรงเรือนเปิดดอก ++
นำไม้ที่แช่น้ำและทุบหัวแล้วเข้าไปเปิดดอกในโรงเรือน โดยวางพาดกับราวลักษณะเดียวกับการวางบ้องข้าวหลามเพื่อเผา ดอกเห็ดจะเกิดขึ้นหลังจากนำไม้เข้าโรงเรือน 4-5 วัน การรดน้ำ จะต้องรดน้ำทุกวันๆ ละ 2- 3 ครั้ง เนื่องจากเห็ดหูหนูมีความต้องการความชื้นสูงถึง 80-85 %
การเพาะ”เห็ดหูหนู”ลงในวัสดุเพาะและการทำให้ออกดอก
เห็ดหูหนูเจริบ เติบโตได้ดีในสภาพดินฟ้าอากาศของประเทศไทย สามารถเพาะได้ทั้งในก้อนขี้ เลื่อยและในท่อนไม้ ไม้ที่นิยมใช้เพาะเห็ดหูหนู ได้แก่ ไม้แค ไม้มะม่วงหรือ ไม้เนื้ออ่อน เปลือกหนา ไม่มียางที่เป็นพิษต่อเห็ด โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 12-15 เซนติเมตร แต่คุณภาพดอกเห็ดที่ได้จากการเพาะในท่อนไม้นี้จะไม่ ดีเท่าการเพาะจากถุง เนื่องจากดอกจะมีขนยาว ดอกกกระด้าง และสีไม่สวย
การเพาะเห็ดหูหนูในถุงพลาสติก :
การผลิตดอกเห็ด เมื่อเส้นใยเดินเต็มถุงและรัดตัวแล้ว การเกิดก้อนเชื้อเห็ดหูหนู จะใช้วิธีกรีดถุงผลิตดอกเห็ด โดยกรีดข้างถุงเป็นแถว 5-6 แถว วางไว้ในที่ร่มและไม่รดน้ำเป็นเวลา 7 วัน จากนั้นจึงค่อยรดน้ำ (ถ้ากรีดแล้วรดน้ำตามทันที การสร้างดอกเห็ดจะไม่ดีเท่าที่ควร) เมื่อเก็บดอกเห็ดแล้ว 3-4รุ่น หากกรีดถุงหรือเจาะถุงในแนวใหม่ที่ว่างอยู่ก็จะเกิดดอกเห็ดได้ดีอีก
การเก็บผลผลิต ดอกเห็ดหูหนูเมื่อเกิดระยะแรกขอบจะหนา และโค้งคล้ายถ้วย เมื่อเจริญเต็มที่แล้ว ขอบของดอกเห็ดจะบาง โค้งเป็นลอน ถ้าดึงจะหลุดได้ง่าย ในระยะนี้เป็นระยะที่เก็บได้ การเก็บเมื่อดอกเห็ดโตเต็มที่พร้อมกันแล้วใช้มือรวบแล้วดึงเบาๆ นำมาตัดก้านพร้อมทั้งเศษวัสดุที่ติดมาด้วยออกทิ้ง บางแห่งการเก็บผลผลิตจะเก็บเฉพาะดอกแก่ก่อน ส่วนที่เหลือก็รอเก็บในวันถัดไป วิธีนี้ถึงแม้เสียเวลาในการเก็บบ้างแต่ก็สามารถเก็บได้ทุกวัน
การเพาะเห็ดหูหนูบนท่อนไม้ :
นำท่อนไม้ที่เตรียมไว้มาเจาะรู โดยใช้เครื่องเจาะ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ1.3-2.5 เซนติเมตร เจาะรูให้ค่อนข้างถี่คือห่างกันประมาณ3-4 นิ้วและแต่ละแถวให้เจาะแบบสลับฟันปลากัน หลังจากนั้นตักเชื้อเห็ดหูหนูใส่ลงในรูให้เต็มพอดี แล้วใช้ฝาที่เตรียมไว้ปิดรู แล้วตอกย้ำบริเวณรอยปิดเบาๆจนแน่นพอสมควร นำท่อนไม้ที่ใส่เชื่อเห็นหูหนูเรียบร้อยแล้ว มาวางเรียงไว้ในที่ร่มโดยไม่ต้องรดน้ำ ไม่ให้ถูกแดด น้ำค้าง น้ำฝน ถ้ามีลมพัดจัดก็ควรหาวัสดุคลุมเองไว้ เช่น กระสอบ ฟางจาก คลุมทิ้งเอาไว้ประมาณ 21 วัน
การเก็บผลผลิต :
เก็บเช่นเดียวกับการเก็บผลผลิตจากถุงพลาสติก และเมื่อสังเกตเห็นว่า จำนวนดอกเห็ดมีน้อยลงหรือมีแต่ดอกเล็กๆ ให้ลูบเด็ดดอกเห็ดดอกเล็กทิ้ง นำขอนไม้ไปวางไว้เช่นเดียวกับการพักไม้ งดรดน้ำโดยเด็ดขาด ให้ดูแลถึงความสะอาดของขอนไม้ พักไม้ทิ้งไว้ประมาณ 20-25 วันจึงนำมาแช่น้ำใหม่ ทั้งนี้เพราะต้องการให้เชื้อเห็ดพัก หลังจากที่ส่งอาหารไปเลี้ยงดอกเห็ดจำนวนมากแล้ว และเป็นการรักษาเปลือกไม้ไม่ให้ล่อนเร็วด้วย ในการเพาะเห็ดหูหนูถ้าสามารถรักษาเปลือกไม้ไว้ได้นานเท่าที่จะนานได้โดยไม่ ให้ล่อนจะให้ผลผลิตสูงกว่าที่ไม่มีเปลือก แต่สำหรับไม้บางชนิดที่เปลือกล่อนหรือหลุดง่าย ต้องรีบแกะเปลือกไม้ทันทีโดยสังเกตจากการใช้มือบีบ หรือ ดูถ้ามีเสียงดังคล้ายเปลือกไม้หลุดให้รีบแกะเปลือกไม้ทันที เพราะถ้าไม่แกะออกเปลือกจะเน่า แล้วทำให้ท่อนไม้ทั้งท่อนเสีย หลังจากแกะเปลือกออกแล้ว ควรนำไปล้างน้ำเอาส่วนที่สกปรกออกทิ้ง อย่าใช้แปรงทองเหลืองขัดเป็นอันขาด เพราะถ้าใช้แปรงขัดแล้ว เวลาไม้แห้งผิวท่อนไม้จะมันเกลี้ยงไม่ดูดความชื้น
การแยกและเลี้ยงเชื้อ”เห็ดหูหนู”บริสุทธิ์
การแยกเชื้อเห็ดบริสุทธิ์สามารถแยกได้ 2 วิธี คือ การแยกเชื้อเห็ดบริสุทธิ์จากสปอร์ และการ
แยกเชื้อเห็ดบริสุทธิ์จากเนื้อเยื่อ การแยกเชื้อเห็ดบริสุทธิ์จากเนื้อเยื่อเป็นวิธีการนิยมกันมากที่สุด แบ่งขั้นตอนย่อยออกเป็น

การแยกเชื้อเห็ดบริสุทธิ์จากเนื้อเยื่อ :
1. การเตรียมอาหารวุ้น
2. การคัดเลือกดอกเห็ดที่จะนำมาแยกเชื้อ
3. การเขี่ยเนื้อเยื่อจากดอกเห็ด
วิธีการต่างๆ จะคล้ายคลึงกับการเลี้ยงเชื้อเห็ดบริสุทธิ์ทั่วไป จะแตกต่างตรงที่การเขี่ยเนื้อเยื่อจากดอกเห็ด ที่ต้องใช้วิธีนำกรรไกรชุบแอลกอฮอล์ขลิบดอกเห็ดโดยรอบ แล้วลอกดอกเห็ดออกเป็น 2 ชั้น จากนั้นขูดเอาเนื้อเยื่อส่วนในที่ลอกออกมาใหม่มาเล็กน้อย แล้วเขี่ยเนื้อเยื่อลงในอาหารวุ้น นำไปบ่มที่อุณหภูมิระหว่าง 22-26ºc. และเป็นห้องมืด ประมาณ 2-3 วัน จะเริ่มมีเส้นใยสีขาวฟูออกมาจากเนื้อเยื่อที่ตัดวางไว้ อีก 6-8 วันต่อมา จึงเขี่ยตัดเอาส่วนปลายของเส้นใยเห็ดในอาหารวุ้นไปใส่ในอาหารวุ้นขวดใหม่ ในการถ่ายเชื้อไม่ควรเกิน 4 ครั้ง นับตั้งแต่เริ่มแยกจากดอก เพราะเชื้อเห็ดหูหนูเสื่อมง่ายกว่าเห็ดฟาง
การเสื่อมของเชื้อ คือ ระยะเวลาที่จะออกดอกและช่วงของการให้ดอกจะช้าลง พร้อมทั้งให้ผลผลิตลดลง ที่เป็นเช่นนี้เพราะเห็ดหูหนูเป็นเห็ดที่มีน้ำย่อยที่สามารถย่อยลิกนินและ เซลลูโลสได้ ในอาหารวุ้นไม่มีทั้งลิกนินและเซลลูโลส ทำให้น้ำย่อยที่มีอยู่ในเส้นใยเสื่อมลงไปเรื่อยๆ ดังนั้นถ้านำไปเลี้ยงในขี้เลื่อยใหม่ เส้นใยเห็ดต้องเสียเวลาปรับตัวพร้อมทั้งสร้างน้ำย่อยใหม่อีก จึงทำให้การออกดอกช้าลงพร้อมทั้งให้ผลผลิตลดลงได้
การทำหัวเชื้อเห็ด :
การตัดเชื้อเห็ดในอาหารวุ้นลงในวัสดุเพาะโดยตรง พบว่ามีข้อเสียหลายประการ เช่น เส้นใยเห็ดเจริญช้าเพราะจะใช้อาหารในอาหารวุ้นจนหมดก่อน จึงจะเจริญต่อในวัสดุเพาะ อาหารวุ้นจะเป็นแหล่งอาหารของเชื้อจุลินทรีย์อื่น จึงต้องทำลายเชื้อจุลินทรีย์อื่นๆ ให้หมดไปก่อนซึ่งต้องเสียเวลาและระมัดระวังในเรื่องของการทำความสะอาดสถาน ที่เขี่ยเชื้อ การทำหัวเชื้อเห็ดจึงสามารถทำได้จากวัสดุที่จะทำให้เส้นใยจากวุ้นเจริญได้ อย่างต่อเนื่อง นั่นคือการทำหัวเชื้อจากเมล็ดธัญพืชและการทำหัวเชื้อจากขี้เลื่อยผสมปุ๋ย หมัก
เห็ดลักษณะเฉพาะของเห็ดหูหนู 
หูหนูเป็นเห็ดที่มีรสชาติดี กลิ่นหอม กินอร่อยไม่ว่าจะนำมาปรุงอาหารประเภท ใดเห็ดหูหนูก็ยังคงสภาพการกรอบอยู่เสมอและมีปริมาณโปรตีน วิตามิน เกลือ แร่ ที่สูงและยังมีคุณสมบัติเป็นยาอายุวัฒนะอีกด้วย เห็ดหูหนูเมื่อนำมาตาก แห้งจะสามารถเก็บไว้ได้นานโดยไม่เสื่อมคุณภาพ
ใน ธรรมชาติเห็ดหูหนูเจริญได้ดีในเขตร้อน โดยเฉพาะสภาพอากาศเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เห็ดหูหนูจะเจริญเติบโตบนขอนไม้ที่เริ่มเปื่อยผุพัง ชาวจีนนับว่าเป็นชาติแรกที่รู้จักวิธีการเพาะเห็ดหูหนูโดยการตัดไม้โอ๊กเป็น ท่อนๆ มาเพาะ แต่ประเทศไทยได้ทดลองเพาะเห็ดโดยการตัดไม้แคมากองสุมกันไว้ พอถึงฤดูฝนไม้จะเริ่มผุ และเห็ดหูหนูเกิดขึ้น เห็ดหูหนูเจริญเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศแทบทุกภูมิภาคของประเทศไทย ประกอบกับประเทศไทยมีวัสดุที่ใช้เพาะเห็ดหูหนูอย่างเหลือเฟือ เช่น ฟางข้าว ไม้เนื้ออ่อน ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว ซังข้าวโพด
++ ชีววิทยาของเห็ดหูหนู ++
ชื่อสามัญ : Jelly mushroom
Subdivision : Basidiomycotina
Class : Hymenomycetes
Subclass : Phragmobasidiomycetidae
Order : Tulasnellales (jelly fungus)
Family : Auriulariaceae
Genus : Aauricularia
สำหรับชนิดบางจะถูกจัดไว้อีกสกุลหนึ่ง ส่วนเห็ดหูหนูขาว หรือ White jelly fungus มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tremella fuciformis Berk. และถูกจัดไว้ในวงศ์ หรือ Family Tremellaceae
++ ลักษณะทางสัณฐานวิทยา ++
ลักษณะดอกเห็ดมีเยื้อเป็นวุ้น (gelatinous structure) รูปร่างคล้ายหู (ear – shaped) บางพันธุ์จะมีขนละเอียดๆ ที่ผิวด้านล่างของดอก ก้านดอกสั้น หรือบางพันธุ์ก็ไม่มี ดอกเห็ดประกอบด้วย เส้นใยพวก binucleate hyphae ซึ่งมี dolipore septum และ clamp connection hymenium อยู่ด้านล่างของดอก basidium รูปทรงกระบอกมีผนังกั้นตามขวาง 3 อัน แบ่ง basidium ออกเป็น 4 เซลล์ แต่ละเซลล์จะสร้าง epibasidium ยืดยาวออกออกมาและส่วนปลายของ basidiospore รูปโค้งคล้ายไต ไม่มีสี basidiosporeของ A. auricular judae มีขนาด 5-6X10.45 – 12.5 ไมครอน และ A. polytricha 6.25×12.5 – 15 ไมครอน basidiospore เมื่อรวมกลุ่มกันมากๆ จะเห็นเป็นสีขาว
การพัฒนาของดอกเห็ดหูหนูบนท่อนไม้สามารถแบ่งได้เป็น 5 ระยะ : คือ
ระยะที่ 1 : primodial stage เป็นระยะที่เห็ดเริ่มสร้างดอกเห็ด จะเห็นจากใส่เชื้อบนท่อนไม้ 18 วัน มีลักษณะกลม สีม่วงจนถึงสีน้ำตาล ต่อมาอีก 4 – 5 วัน จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร
ระยะที่ 2 : Small or thick – cup stage ดอกเห็ดระยะนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 0.7 เซนติเมตร จะมีการเรียงตัวของเนื้อเยื้อเหมือนกับดอกเห็ดที่โตเต็มที่แล้ว
ระยะที่ 3 : Thin cup stage ขอบของดอกขยายออกและเริ่มบาง มีสีน้ำตาลอ่อน การเจริญของขอบไม่เท่ากัน มีด้านหนึ่งเจริญมาก เส้นผ่านศูนย์กลางของดอกประมาณ 2 – 3.5 ซม. ดอกหนาประมาณ 1.3 มิลลิเมตร อาจพบกลุ่มของสปอร์สีขาวบนดอกเห็ด
ระยะที่ 4 : Expanded plain – edged stage ดอกเห็ดเจริญเติบโตเต็มที่หลังจากระยะที่ 3 ประมาณ 1 อาทิตย์
ระยะที่ 5 : Expanded, wavy – edged stage ระยะนี้ต่อจากระยะที่ 4 ต่างกันเฉพาะขอบของดอกเห็ดจะหยัก
** ระยะเวลาจากระยะ 1 ถึง 3 เห็ดเจริญช้า แต่จาก 4-5 จะเจริญได้อย่างรวดเร็ว
วงจรชีวิตของเห็ดหูหนู : Basidiospore ของเห็ดหูหนูจะแบ่งเป็นหลายเซลล์ขณะที่งอก การงอกของ basidiospore อาจจะเป็นได้ 2 ลักษณะ คือ
1. basidiospore ที่แบ่งเซลล์แล้วงอก
2. basidiospore จะงอก germ tube เล็กและสั้นหลายอัน แต่ละอันก็จะสร้าง conidium ซึ่งมีขนาดเล็กและโค้ง ซึ่งในที่สุดก็จะหลุดออกไปแล้วงอกให้เส้นใยขั้นต้น
ลักษณะการสืบพันธุ์ : เป็นแบบ bipolar heterothallic โดย uninucleate hyphae ซึ่งเจริญมาจาก basidiospore มีการรวมตัวกันแล้วclamp connection ถูกสร้างขึ้นได้เป็น dikaryotic hyphae ซึ่งเจริญต่อไปเป็นดอกเห็ดภายในดอกเห็ด basidium จะถูกสร้างที่ปลายเส้นใย ในส่วนของ hymenium เกิดการรรวมตัวของนิวเคลียส (karyogamy) ขึ้นภายใน basidiumได้ zygote นิวเคลียสซึ่งจะแบ่งตัวแบบไมโอซีส ขณะเดียวกับ basidium แบ่งออกเป็น 4 เซลล์ โดยมีการสร้างผนังกั้นตามขวางขึ้น 3 อัน อันแรกจะถูกสร้างขึ้นขณะที่นิวเคลียสมีการแบ่งตัวครั้งแรก และอีก 2 อัน เมื่อนิวเคลียสแบ่งตัวครั้งที่สองแต่ละเซลของ basidium ก็เจริญให้ epibasidium นิวเคลียสแต่ละอันก็จะเคลื่อนไปยังส่วนปลายของ epibasidium ซึ่งโป่งพองเกิดเป็น basidiospore ซึ่ง basidiospore เมื่อหลุดออกไปก็จะออกให้เส้นใยใหม่
วงจรชีวิตของเห็ดหูหนูแบบ Heterothallic : มีดังนี้
1.เริ่มจากเห็ดหูหนูเจริญเติบโตเต็มที่จะมีการสร้างสปอร์ ซึ่งมีลักษณะเป็นผงสีขาวหล่น บนพื้นหรือปลิวไปตามสายลม
2.เมื่อสปอร์ของดอกเห็ดปลิวไปตกในบริเวณที่เหมาะสม เช่น ความชื้น อุณหภูมิ และอาหารที่เหมาะสมต่อการาเจริญของเห็ดหูหนู สปอร์ก็จะงอกเส้นใยขั้นแรก (primary mycelium) ออกมา เส้นใยของเห็ดหูหนูจะมีผนังกั้น (Septate hypha) และภายในแต่ละช่องจะมีนิวเคลียส 1 อัน เส้นใยของเห็ดหูหนูจะมีการแตกกิ่งก้านมากมาย แต่ไม่สามารถจะมารวมและพัฒนาเป็นดอกเห็ดได้
3.เส้นใยของเห็ดหูหนูพวก primary mycelium จะต้องมีการผสมกัน หรือรวมกันระหว่างเส้นใยที่เกิดจากต่างสปอร์กัน แต่สามารถเข้ากันได้ (Compatible) หลังจากเกิดการรวมตัวกันก็จะได้เส้นใยขั้นที่ 2 (Secondary mycelium) เส้นใยขั้นที่ 2 จะมีขนาดเล็กกว่าเส้นใยขั้นแรกเล็กน้อย และภายในเส้นใยแต่ละช่อง (Septum) จะมี 2 นิวเคลียสเส้นใยขั้นที่ 2 นี้ระหว่างเซลล์จะมีข้อยึดเรียกว่า Clamp connection เส้นใยขั้นที่ 2 จะเจริญและมีการสะสมของอาหารไว้ในเส้นใยจะสามารถพัฒนาเป็นดอกเห็ดต่อไป
สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการเจริญของเห็ดหูหนู :
1.อุณหภูมิ (Temperature) เห็ดหูหนูเป็นเห็ดที่เจริญได้ดีในช่วงอุณหภูมิที่กว้างมาก ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 12 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส เส้นใยของเห็ดจะไม่ค่อยเติบโต อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเติบโตของเห็ด คือ 28 องศาเซลเซียสหรือ อุณหภูมิควรอยู่ระหว่าง 20 – 30 องศาเซลเซียส พบว่าที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส จะชะงักการงอกของสปอร์ การงอกของสปอร์เห็ดหูหนูขึ้นอยู่กับอุณหภูมิเป็นปัจจัยสำคัญ นอกจากนี้ในสภาพอุณหภูมิต่ำ เห็ดหูหนูจะมีครีบดอกผิดปกติ และมีขนยาว เจริญเติบโตช้า และผลผลิตต่ำ แต่ถ้าอุณหภูมิสูง ดอกเห็ดหูหนูที่ได้จะมีขนาดเล็กเส้นใยโตช้าแห้งง่าย และผลผลิตต่ำ
2.ความชื้น (Humidity) เห็ดหูหนูจัดเป็นเห็ดที่ชอบความชื้นของอากาศสูง ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ (Relative humidity) ไม่ควรต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะในระยะที่เห็ดหูหนูใกล้ออกดอก ควรมีความชื้นไม่ต่ำกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ ส่วนความชื้นในวัสดุเพาะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดหูหนู ควรมีความชื้นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ทั้งความชื้นในอากาศและความชื้นในวัสดุที่ใช้เพาะ นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ควบคุมการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของเห็ดหูหนู
3.แสงสว่าง (Light) ปกติแสงไม่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของเห็ดหูหนูมากนัก การเลี้ยงเส้นใยเห็ดหูหนู ควรเลี้ยงในที่มืดแต่หลังจากเส้นใยเจริญเต็มผิวของอาหารวุ้นแล้วควรให้เส้น ใยเห็ด มีโอกาสได้รับแสงบ้างพอสมควร ทั้งนี้เพราะแสงสว่างจะช่วยกระตุ้นให้เส้นใยเห็ดหูหนูรวมตัวกัน และเจริญไปเป็นดอกเห็ดได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าในขณะที่เห็ดหูหนูออกดอกและได้รับแสงสว่างมากเกินไป จะทำให้เห็ดหูหนูมีขนยาว ดอกสีคล้ำแต่ถ้าได้รับแสงน้อยขนจะสั้นและดอกมีสีซีด

4.สภาพความเป็นกรด – ด่าง เห็ดหูหนูเจริญได้ดีในสภาพเป็นกลางหรือเป็นกรดเล็กน้อย ประมาณ 4.5 – 7.5 คล้ายกับเชื้อราทั่วไป ในการเพาะเห็ดหูหนูจึงควรปรับสภาพของอาหารให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต การผลิตก้อนเชื้อเห็ดหูหนู สูตรที่นิยมใช้คือ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม แป้งข้าวสาลีหรือน้ำตาล 3 – 4 กิโลกรัม รำละเอียด 5 กิโลกรัม ข้าวโพดป่น 3 – 5 กิโลกรัม ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม ปูนขาว 0.5 – 1 กิโลกรัม น้ำสะอาด 80 – 90 กิโลกรัม
5.การถ่ายเทของอากาศ (Aeration) การถ่ายเทอากาศภายในโรงเรือนนับว่ามีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเห็ดหู หนูเช่นกัน ถ้าสภาพของโรงเรือนถ่ายเทอากาศไม่ดี และมีการสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากๆ ดอกเห็ดจะไม่บานหรือเจริญเติบโตต่อไปตามปกติ แต่ดอกเห็ดจะมีลักษณะเป็นแท่งคล้ายกระบอง อย่างไรก็ตามถ้าโรงเรือนมีการถ่ายเทอากาศมากเกินไป ดอกเห็ดจะมีลักษณะกระด้างขนยาว ดังนั้น โรงเรือนที่ใช้ในการเพาะเห็ดหูหนูภายในควรบุด้วยพลาสติก พร้อมกับเจาะรูที่พลาสติกเพื่อให้อากาศภายในโรงเรือนถ่ายเทได้ดีพอสมควร

ที่มา:เกษตรอินทรีย์