Translate

วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557

น้ำสำหรับเห็ดฟาง

เรื่องของน้ำ:
น้ำที่จะเอามาใช้ในการเพาะเห็ดควรจะเป็นน้ำที่สะอาด น้ำที่มีปัญหาถ้าน้ำมีกลิ่นเหม็น อาจจะเป็นน้ำเกิดภาวะเน่าเสียจากอะไรก็ตามถือว่าเป็นน้ำไม่เหมาะสม น้ำที่เน่าอาจจะเน่าเนื่องจากว่าสารอินทรีย์ต่าง ๆ ในคอกสัตว์ เช่น ในช่วงที่มีฝนตกเกิดการชะล้างสารอินทรีย์ต่าง ๆ ในคอกสัตว์ลงไป หรือจากแหล่งอื่น ๆ น้ำที่บูดเน่าเสียหายก็จะปล่อยกลิ่นเหม็นออกมา เป็นพิษต่อเห็ดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก๊าซแอมโมเนีย หรือ NH 3
น้ำที่มีอินทรีย์วัตถุมากเกินไปจะทำให้เกิดขบวนการหมักบูดและเกิดกลิ่นที่ ไม่พึงประสงค์ ควรจะมีการบำบัดน้ำเสียก่อน ถ้าไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ ถ้าจำเป็นต้องใช้น้ำนั้นจริง ๆ ก็หาวิธีที่จะทำให้น้ำนั้นกลับมาค่อนข้างสะอาดก่อน
น้ำที่มีภาวะเป็นกรดเป็นด่างไม่เหมาะสมก็จะทำให้ผลผลิตของเห็ดนั้นลดลง เห็ดฟางชอบ pH ประมาณ 7.2 ถ้าน้ำเป็นกรดก็จะต่ำกว่า 7.0 ลงมาเหลือ 6.5 อาจจะกระทบกระเทือนไม่มาก แต่ถ้าต่ำลงมาจนถึง 6 ถึง 5 ถึง 4 อย่างนี้ น้ำนั้นจะทำให้ผลผลิตของเห็ดต่ำลง ถ้าจำเป็นควรจะต้องดูให้เป็น น้ำที่กักบริเวณได้ แล้วหาวัสดุปูน เช่น โดโลไมท์หรือปูนมาร์ลหรือหินปูนฝุ่นหรือหินปูนบด หว่านลงไปในน้ำ แล้วปล่อยให้เขาปรับสภาพให้เป็นกรดลดลง ถ้าขึ้นมาใกล้เป็นกลางก็เป็นสิ่งที่ดี
หากพื้นที่ใดน้ำที่จะเอามาใช้รดเห็ดมีภาวะเป็นด่างคือเกิน 7.0 ขึ้นไปมาก เห็ดจะออกดอกได้น้อย เห็ดจะเจริญเติบโตไม่ดีควรจะต้องหาวิธีปรับน้ำนั้นให้กลับเข้ามาเป็นกลาง ในกรณีที่จำเป็นอาจจะใช้แหล่งน้ำที่เป็นกรดเอามาเจือผสม ถ้าเป็นสภาพที่เป็นด่างเพราะหินปูนมากเกินไป เราอาจจะดูแหล่งของกรดที่ราคาถูก แต่ถ้าต้องลงทุนถึงขนาดนี้โดยมาก เพาะเห็ดก็แทบจะไม่มีกำไรแล้ว หาแหล่งหาพื้นที่ที่จะปลูกเห็ดที่ดินก็ดีน้ำก็ดี ให้มีปัญหาน้อยที่สุด
ปัญหาที่พบว่าอาจจะเกิดจากน้ำอีกพวกหนึ่งคือพวกสารพิษ สารพิษนี้บางครั้งก็ได้มาจากพวกสวนไร่นานั่นเอง เช่นมีการฉีดยาฆ่าหญ้า ฉีดยาฆ่าแมลง ฉีดยาป้องกันกำจัดเชื้อราเหล่านี้ ถ้ามีสารที่ป้องกันกำจัดเชื้อรา มีผลกระทบมาก เห็ดกับรานั้นใกล้เคียงกันที่สุด น้ำที่มียาฆ่าเชื้อราก็จะฆ่าเห็ดไปในตัว ถ้าเป็นน้ำที่มาจากน้ำประปา เป็นน้ำที่ใสแต่บังเอิญช่วงนั้นฝ่ายผลิตน้ำประปาใส่คลอรีนมามาก ผลผลิตเห็ดก็จะไม่ค่อยดีสมมติว่าจะต้องใช้น้ำที่ใส่คลอรีนมาแล้ว คลอรีนนั้นใส่ลงไปเพื่อฆ่าเชื้อ ดังนั้นควรที่จะหลีกเลี่ยง แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ จะต้องมีภาชนะ มีโอ่งสำหรับที่จะเอาน้ำใส่เอาไว้แล้วก็เปิดฝาโอ่งเพื่อให้แดดส่องลงไป ทิ้งให้แดดเผาอยู่ประมาณ 2 – 3 วัน คลอรีนส่วนที่เกินที่เหลืออยู่ก็จะระเหยหายไป คือจะลดลง
น้ำที่มีการระบายมาจากโรงงานอาจจะเป็นน้ำที่อ้างว่าได้มีการบำบัดเรียบร้อย แล้ว บำบัดเรียบร้อยแล้วนี้ไม่แน่ว่าบำบัดในส่วนไหน น้ำที่บำบัดมาแล้วจากโรงงานโดยมากไม่นิยมที่จะเอามาใช้เพาะเห็ดโดยตรง น้ำนั้นควรจะมีสระน้ำ มีอ่างเก็บน้ำหรือเขาขุดเป็นบ่อน้ำขึ้นโดยเฉพาะ แล้วในอ่างในบ่อนั้นปลูกผักตบชวาหรือจอก เป็นพืชน้ำที่จะช่วยปรับสภาพน้ำให้กลับดียิ่งขึ้น น้ำที่ได้มีผักตบชวามีพืชน้ำขึ้นอาศัยอยู่ ส่วนมากก็จะได้มีการปรับสภาพจนเหมาะที่จะใช้ในการเพาะเห็ด
วิธีตรวจสอบอย่างง่ายแบบที่ตรวจสอบความสกปรกของน้ำ ใช้น้ำนั้นลองมาเลี้ยงปลาหางนกยูง ใส่ปลาหางนกยูงลงไป ถ้าปลาหางนกยูงตายนี้แสดงว่าใช้ไม่ได้ ต้องเป็นน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาหางนกยูงได้ดี เป็นการตรวจสอบ โดยปรกติทั่วไปน้ำที่ใช้เพาะเห็ดก็ได้จากแหล่งแม่น้ำ ลำคลองหรือบึง บ่อ สระต่าง ๆ ที่มีปลาอาศัยอยู่ ถ้าปลาอาศัยอยู่ได้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาสำหรับที่จะเอามาใช้เพาะเห็ด แต่ถ้าเป็นน้ำที่ใส ๆ นิ่ง ๆ ปลาก็ไม่มีอะไรก็ไม่มี และเมื่อไม่ได้ตรวจสอบเรื่องกรดด่างเรื่องสารพิษเรื่องอะไรต่าง ๆ การที่จะเอาน้ำมาเพาะเห็ดก็ไม่สามารถที่จะคาดหมายว่าจะได้ผลผลิตที่ดี ถ้าน้ำมีไม่ค่อยมากก็อาจจะเอาน้ำนั้นมาแล้วก็จับทำลายสารพิษต่าง ๆ เช่นใช้สเม็คไทต์หรือสเม็คโตทัฟฟ์หว่านใส่ลงไป แล้วก็ทิ้งให้เขาทำความสะอาดคือย่อยสลายหรือจับตรึงสารพิษต่าง ๆ เมื่อน้ำนั้นใสดีแล้วและตรวจสอบด้วยปลาหางนกยูงแล้ว ปรากฏว่าไม่มีพิษภัยใด ๆ น้ำนั้นก็จะใช้เพาะเห็ดได้ดี แต่อย่างไรก็ตามเรารู้ทฤษฎีต่าง ๆ แล้วก็ต้องคำนวณเป็นว่าต้องการน้ำจากแหล่งที่ต้นทุนในการผลิตต่ำที่สุด รู้ทฤษฎีไม่พอต้องคิดบัญชีเป็นด้วย ถ้าทำน้ำให้บริสุทธิ์ปลูกเห็ดได้ดีแต่ต้นทุนสูงเกินไปก็ไม่สามารถดำเนิน ธุรกิจได้

การเพิ่มผลผลิตเห็ดฟางในช่วงฤดูหนาว

การเพิ่มผลผลิตเห็ดฟางในช่วงฤดูหนาว
ช่วงฤดูหนาวนั้น ถือว่าเป็นปัญหาหลักของเกษตรกรผู้เพาะเห็ดฟาง เพราะเกษตรกรหลายๆ ท่านต่างก็ ต้องการผลิตเห็ดฟางให้ออกในช่วงหน้าหนาว ซึ่งจะทำให้ได้ราคาที่ดีกว่าช่วง หน้าร้อน แต่ก็ยากนักที่จะให้ผลผลิตออกเยอะ การทำให้เห็ดฟางออกผลผลิตได้ในช่วงหน้าหนาว  นั่นก็คือ  การเพิ่มอุณหภูมิความอบอุ่น ให้กับโรงเห็ด  โดยวิธีการง่ายๆ ดังนี้

วัสดุอุปกรณ์
1.ปี๊บ 1 ใบ
2.หลอดไฟ แบบกลม 1 หลอด
3.เชือก ที่ใช้สำหรับแขวน ปี๊บ 1 เส้น
4.สายไฟ 1 เส้น
5.ปลั๊กไฟ 1 อัน
วิธีการทำ
1.นำปี๊บที่ได้มาทำการตัดฝาปี๊บด้านบนออก แล้วทำการเจาะรูที่ก้นปี๊บ เพื่อใช้ในการเดินสายไฟ
2.นำหลอดไฟ มาทำการต่อพ่วงให้สามารถใช้ไปฟ้าได้ตามปกติ
3.นำปี๊บที่ประกอบเรียบร้อยแล้ว มาผูกเชือก แล้วนำไปแขวนไว้ในโรงเพาะเห็ด โรงเรือนละประมาณ 2 จุด เพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้กับเห็ดฟางในช่วงฤดูหนาว
วิธีการใช้
นำอุปกรณ์ที่ได้ ไปแขวนไว้ ในโรงเพาะเห็ด โรงละประมาณ 2 จุด แล้วทำการเสียบปลั๊กไฟ ในช่วงเวลากลางคืน โดยเปิดไฟทุกคืนจนกว่า เห็ดจะออกดอก เพื่อให้ความอุ่นแก่เห็ดฟาง จะทำให้เห็ดฟางให้ผลผลิตดีขึ้น

เห็ดหูหนูให้ออกดอกในหน้าหนาว

เทคนิคกระตุ้นเห็ดหูหนูออกดอก และเจริญได้ดีในช่วงฤดูหนาว
ใครๆ ก็ บอกว่าฤดูกาลนี้ซึ่งอากาศเย็น ความชื้นต่ำไม่เหมาะสำหรับการเพาะเห็ดหู หนู เพราะเห็ดหูหนูต้องการความชื้นสูงกว่าเห็ดอื่นๆ(มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ) นอกจากนั้นยังชอบอากาศอบอุ่น เห็ดหูหนูในฤดูนี้จึงดอกเล็ก  เป็นขน  ใบหนา ไม่น่ากิน
แต่ ถ้าได้ลองเอาก้อนเห็ดหูหนูไปแขวนเปิดดอกในโรงพลาสติก เช่น โรงเห็ดลม ซึ่งมีอุณหภูมิภายในสูงกว่าอากาศทั่วไป และเพิ่มการรดน้ำให้ความชื้น และที่สำคัญแขวนให้ใกล้ๆพื้นดิน ไออุ่นจากดินจะช่วยให้หูหนูเจริญและก็ยังสามารถให้ผลผลิตได้ดี นอกจากนั้นยังทำให้ดอกใหญ่กว่าเป็นพิเศษ ใบหนา กรอบ ไม่อมน้ำ และยังไม่มีขน
สำหรับ เกษตรกรที่มีก้อนเห็ดหูหนูในฤดูกาลนี้ ที่ยังให้ผลผลิตได้อยู่หากปรับเปลี่ยนโรงเรือนให้อบอุ่นขึ้นและเพิ่มความ ชื้นให้เพียงพอ เห็ดหูหนูก็ยังให้ผลผลิตได้ดีครับ

เอารูปเห็ดหูหนูช้างที่ดอกใหญ่ไม่ได้เห็นบ่อย (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางกว่า 6 นิ้ว) เพื่อยืนยันว่าเห็ดหูหนูเจริญได้ดีในฤดูกาลนี้ มาฝาก
การใช้ EM เพิ่มความหนาของดอกเห็ดหูหนูและทำให้มีสีสวยเป็นที่ต้องการของตลาด
“ปัญหา ในการทำเห็ดที่เคยประสบมาก็คือ น้ำในสระหลังบ้านที่ขุดไว้เสีย  เนื่องจาก ดิฉันเลี้ยงปลาด้วย อาหารที่ปลากินเกลือจะหมักหมมอยู่ก้นบ่อ ไม่มีการถ่าย เท เมื่อนำมาใช้กับการเพาะเห็ดในระยะแรกนั้น ดอกเห็ดที่ได้จะมีสีดำ ซึ่ง จริงๆ แล้วต้องเป็นสีชมพู แต่ขนาดดอกที่ได้นั้นใหญ่กว่าขนาดทั่วไป น้ำหนัก ดีมาก เนื่องจากสีไม่สวย ตลาดจึงไม่ต้องการก็เลยต้องนำมาทำเป็นเห็ดตาก แห้ง ซึ่งได้ราคาดีกว่าการจำหน่ายเป็นเห็ดสด  ในชุดแรกที่เพาะไว้ คือ 3,000 ก้อนนั้น ได้ทำเป็นเห็ดตากแห้งขายทั้งหมด ทำให้ได้กำไรมา ประมาณ 7,000 บาท ต่อรุ่น
การทำฟาร์มเห็ดหูหนูอีเอ็มที่ราชบุรี
นางศิริรัตน์ ศิริมงคล
35 หมู่ 9 ต.หินกอง อ.เมือง จ.ราชบุรี
ได้เข้ามารับการอบรมเกษตรธรรมชาติคิวเซรุ่นที่ 68 แต่ก่อนที่จะเข้ารับการอบรมนั้น ได้ลองเพาะเห็ดแล้ว จำนวน 3,000 ก้อน โรงเรือนที่ใช้เพาะเห็ดหูหนูมีขนาดความกว้างประมาณ 6 เมตร ยาว 10 เมตร รอบโรงเรือนที่ได้ขุดสระน้ำไว้ใช้
“ปัญหาในการทำเห็ดที่เคยประสบมาก็คือ น้ำในสระหลังบ้านที่ขุดไว้เสีย เนื่องจากดิฉันเลี้ยงปลาด้วย อาหารที่ปลากินเกลือจะหมักหมมอยู่ก้นบ่อ ไม่มีการถ่ายเท เมื่อนำมาใช้กับการเพาะเห็ดในระยะแรกนั้น ดอกเห็ดที่ได้จะมีสีดำ ซึ่งจริงๆ แล้วต้องเป็นสีชมพู แต่ขนาดดอกที่ได้นั้นใหญ่กว่าขนาดทั่วไป น้ำหนักดีมาก เนื่องจากสีไม่สวย ตลาดจึงไม่ต้องการก็เลยต้องนำมาทำเป็นเห็ดตากแห้ง ซึ่งได้ราคาดีกว่าการจำหน่ายเป็นเห็ดสด ในชุดแรกที่เพาะไว้คือ 3,000 ก้อนนั้น ได้ทำเป็นเห็ดตากแห้งขายทั้งหมด ทำให้ได้กำไรมาประมาณ 7,000 บาท ต่อรุ่น

++ การใช้ EM แก้ปัญหาน้ำที่ใช้ในการเพาะเห็ดไม่ได้คุณภาพ ++
สำหรับเทคนิคที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงเห็ดก็จะได้ความรู้มาจากชาวบ้านที่เคยมีประสบการณ์ โดยจะ
แนะนำให้ทำโรงเรือนก่อนแล้วจึงซื้อก้อนเห็ดจากราชบุรีมาเพาะ ราคาก้อนละ 2 บาท
หลังทำการเพาะเห็ดชุดแรกไปแล้ว จึงได้มาเรียนรู้การเกษตรธรรมชาติคิวเซ และได้นำความรู้ที่ได้
กลับไปปฏิบัติกับการทำเห็ดที่บ้าน ด้วยแนวคิดและวิธีการใหม่ โดยเริ่มจากการนำถัง 200 ลิตร มา
เจาะ ติดก๊อกน้ำ แล้วปั้มน้ำใส่ไว้เกือบเต็มถัง จากนั้นเติม EM ไปจำนวน ครึ่งลิตร
กากน้ำตาลครึ่งลิตร หมักไว้ 3 คืน แล้วจึงปล่อยลงสระ ทำอย่างนี้ทุกวัน ก่อนจะเริ่มลงมือเพาะเห็ดชุดที่สองต่อ
++ การใช้ EM เพิ่มความหนาของดอกเห็ดหูหนูและทำให้มีสีสวยเป็นที่ต้องการของตลาด ++
แม้จะแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำที่ใช้ในการเพาะเห็ดได้ และ ผลผลิตเห็ดที่ได้ก็สวยแล้ว แต่ก็ยังประสบกับปัญหาที่ดอกเห็ดยังไม่หนา สีดอกที่ได้ยังไม่ตรงกับความต้องการของตลาด กล่าวคือ สีเห็ดที่ได้จากการใช้น้ำในบ่อเลี้ยงปลาที่ผ่านการบำบัดด้วย EM แล้ว ยังมีสีออกขาวๆ ไม่สวย จึงได้คิดค้นหาสูตรใหม่อีก จนมาทดลองใช้ EM จำนวน 4 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำตาลทรายแดงครึ่งกิโลกรัม ละลายในน้ำ จำนวน 5 ลิตร หมักทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อปล่อยให้ EM มีการขยายเพิ่มจำนวน พอเช้ามาจึงขยาย EM ที่ได้จากการหมัก ในน้ำ 60 ลิตร ก่อนนำไปใช้ และใช้นมสดหนองโพถุงละ 2 บาท เป็นแหล่งเสริมอาหารให้ EM สูตรขยาย ที่ดิฉันใช้นมก็เพราะคิดว่านมน่าจะมีวิตามินหรืออาหารเสริมสำหรับ EM และคิดว่าน่าจะเป็นการเสริมประสิทธิภาพของเชื้อจุลินทรีย์ให้มีความแข็งแรง มากขึ้นด้วย
วิธีการใช้ : จะใช้สูตรดังกล่าวฉีดพ่นหลังการเก็บดอกเห็ดในช่วงเช้า สัปดาห์ละครั้ง ปรากฏว่า ผลที่ได้คือ ดอกเห็ดที่ออกมามีสีสวยมาก สีดอกเป็นที่ต้องการของตลาด ดอกเห็ดที่ได้ก็มีรูปทรงสวยงาม หนาขึ้น มีกลิ่นหอม รสกวาน กรอบ แม้ว่าจะวางเห็ดผึ่งลมไว้แล้วจะทำให้เห็ดเหี่ยวลงไปบ้าง แต่เมื่อนำไปแช่น้ำเพียงครู่เดียวดอกเห็ดก็จะกลับสดขึ้นมาทันที
โดยปกติทั่วไป ที่เคยลองเพาะก่อนจะมีการนำจุลินทรีย์ EM มาใช้ จะเก็บเห็ดได้ 8 ครั้งก็หมดรุ่นต้องดละทิ้งแล้ว หรือ ถ้ามากสุดก็ 10 ครั้งหมด แต่เห็ดที่มีการใช้จุลินทรีย์อีเอ็มอย่างในครั้งนี้ สามารถเก็บเกี่ยวได้ถึง 16 ครั้ง โดยดอกเห็ดที่ได้จะมีขนาดโตเท่าๆ กันปกติก้อนหนึ่งจะได้กำไรแค่เท่าเดียวแต่ตอนนี้ได้กำไรถึง 2 เท่าต่อก้อน แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับสภาพตลาดของเห็ดหูหนูในขณะนั้นๆ ด้วย
การดูแลรักษา : ปัญหาอีกอย่างที่พบบ่อยในการเพาะเห็ดก็คือ เรื่องของเชื้อราซึ่งจะเกิดได้ง่ายจากการที่สภาพภายในโรงเรือนมีความชื้นสูง ดิฉันก็จะใช้ สุโตจูหรือ EM 5 ฉีดพ่นก้อนเชื้อเห็ด บนพื้นและรอบๆ โรงเรือน แต่จะเปลี่ยนจากการใช้กากน้ำตาลในส่วนผสมของสุโตจูมา เป็นน้ำตาลทรายที่เชื่อมผสมตะไคร้หอม หัวข่า และ ใบสะเดา ทั้งหมด รวมกันให้ได้ จำนวน 1 กิโลกรัม นำไปบด ตำคั้นเอาแต่น้ำไป หมักไว้นาน 3 วัน แล้วนำน้ำหมักที่ได้มาผสมกับน้ำจำนวน 20 ลิตร ต่อสุโตจู ประมาณครึ่งลิตร กับสมุนไพรที่หมักแล้วครึ่งลิตรฉีดพ่นกำจัดเชื้อรา จะสามารถป้องกันกำจัดเชื้อราและไรที่กินเห็ดได้

++ โรงเรือนเพาะเห็ดหูหนู ++
ดิฉันจะใช้หญ้าคาหรือหญ้าแฝกทำเป็นวัสดุมุงหลังคา ซึ่งช่วยระบายอากาศได้ดี และ เกิดความเย็นภายในโรงเรือนได้ดีอีกด้วย ส่วนพื้นโรงเรือนจะใช้ทรายปู เพื่อเป็นการให้ทรายช่วยเก็บความชื้นในโรงเรือน ทำให้มีอากาศภายในโรงเรือนที่เย็นและเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ด สร้างโรงเรือนให้มีความสูงประมาณ 6 เมตร ส่วนเทคนิคในการผลิตเห็ดหูหนู ก็จะทำโดยการนำก้อนเชื้อเห็ดมาจัดเรียงไว้ภายในโรงเรือนโดยไม่รดน้ำประมาณ 35 วัน เพื่อเป็นการบ่มเส้นใยเห็ด หลังเชื้อเดินเต็มถุงจึงถอดคอออก แล้วเปิดดอกเห็ดโดยวิธีการกรีดข้างถุง แล้ววางก้อนเห็ดแบบแขวน ขึ้นไปตามชั้นตามขนาดความสูงของชั้น ส่วนใหญ่จะแขวนได้ประมาณ 8-10 ก้อน ในราวแขวน ซึ่งจะทำให้เลื่อนก้อนเห็ดได้เวลาเก็บ
++ เทคนิคลดความชื้นในก้อนเชื้อเห็ด ++
สิ่งสำคัญในการผลิตเห็ดหูหนูก็คือ ก่อนทำการเปิดดอก ต้องมีการสังเกตดูความชื้นของก้อนเชื้อเห็ดไม่ให้มีความชื้นในก้อนเชื้อเห็ด มากเกินไป หากพบว่าที่ก้อนเชื้อเห็ดมีความชื้นมากให้ใส่ปูนขาวลงไป เพราะปูนขาวจะช่วยลดความชื้นซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดเชื้อราได้ดี โดยจะใช้ในอัตรา ½ ช้อนชา ต่อก้อน จากนั้นจึงฉีดพ่นตามด้วย EM จะทำให้เชื้อราที่จะเข้ารบกวนก้อนเชื้อเห็ดหายไป ทั้งยังเป็นการบำรุงดอกเห็ดให้มีความแข็งแรง ก่อนจะเกิดดอกไปด้วย

++ การบำรุงเห็ดด้วย EM ++
ขณะที่เห็ดกำลังออกดอกให้ฉีดพ่นก้อนเชื้อเห็ด ด้วย EM ก่อนการเก็บดอกเห็ด 3 วัน โดยฉีดพ่น
ไปที่ดอกเห็ดให้เห็นเป็นละอองฝอยจับที่ดอก สัปดาห์ละครั้ง ระวังอย่าใช้ถี่เกินไป หรือ ถ้าใช้ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ดอกเห็ดที่ได้จะหงิกงอ
หลังเกิดดอกได้ 20 วัน จะสามารถเก็บดอกได้ 12 ชุด รยะเก็บเกี่ยวคือ 6 วัน/ครั้ง โดยทั่วไปชุดหนึ่งจะใช้ระยะเวลาเก็บเกี่ยวนานประมาณ 3-4 เดือน แต่ถ้าใช้ EM บำรุงดอกเห็ดจะทำให้มีอายุการเก็บเกี่ยวที่ยาวนานกว่า
++ ความโดดเด่นของเห็ดหูหนูที่ได้จากฟาร์ม ++
ปกติเห็ดทั่วๆ ไปเมื่อเก็บมาไม่นานก็จะเริ่มเหี่ยวเมื่อโดนลม แต่สำหรับเห็ดจากฟาร์มที่มีการใช้ EM บำรุงดอกเป็นประจำ จะคงสภาพความสดไว้ได้นานกว่า จนพ่อค้าคนกลางที่มาวิ่งรับซื้อเห็ดไปขายต่อ จะเที่ยวบอกต่อแบบปากต่อปากในเรื่องนี้เสมอ เพื่อให้ฟาร์มอื่นๆ ได้เข้ามาศึกษาหาคามรู้ไว้เป็นตัวอย่าง ดิฉันก็ยินดีที่จะอธิบายให้ผัง และมีหลายครั้งที่ได้ไปบรรยายตามสถานที่ต่างๆ ในหมู่บ้านด้วย ปัจจุบันที่ฟาร์มได้เพิ่มปริมาณก้อนเชื้อเห็ดจากเดิมที่ลงไว้แค่ 3,000 ก้อน เป็น 5,000 ก้อน และ 12,000 ก้อน และ ขณะนี้มีถึง 13,000 ก้อนแล้ว เพราะยิ่งทำก็ยิ่งได้ผลดี
++ การเก็บเกี่ยวเห็ดหูหนู ++
การเก็บเกี่ยวแต่ละชุดจะต้องพักตัว นาน 1 เดือนก่อน เพื่อป้องกันเชื้อราและไร โดยจะฉีดสารสุโตจูป้องกันไว้ ซึ่งให้ผลดีและยังสามารถกำจัดปลวกได้ดีอีกด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าขณะที่ฉีดพ่นสุโตจูอยู่ในโรงเรือนเพาะเห็ด ได้มีงูมานอนขดอยู่ที่พื้น จึงพ่นสุโตจูใส่ งู และเนื่องจากสุโตจูมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์อยู่ด้วย จึงทำให้งูที่ได้รับสุโตจูหายใจลำบาก แล้วหนีไป จากนั้นก็พบว่าไม่มีงูพิษใดๆ มารบกวนอีกเลย และยังมีไรและแมลงศัตรูเห็ดลดลงอีกด้วย
รวมเทคนิคการผลิตเห็ดหูหนูบนขอนไม้
นับ ตั้งแต่เริ่มมีการเพาะเห็ดหูหนูในประเทศไทย ได้มีการใช้วิธีการเพาะเห็ดใน ไม้เนื้ออ่อน โดยเฉพาะไม้เนื้ออ่อนเช่น ไม้แคและไม้มะม่วง โดยจะเลือกใช้ไม้ ที่มีลำต้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12-15 เซนติเมตร จะทำให้สามารถเก็บเกี่ยวผล ผลิตได้นาน 5-6 เดือน ซึ่งจะทำให้ได้ผลผลิตประมาณ 5-8 กิโลกรัมต่อการเพาะใน ขอนไม้  1 ท่อน
++ ชนิดของไม้ที่ให้ผลผลิตดีเมื่อนำมาเพาะเลี้ยงเห็ดหูหนู ++
ไม้ที่จะนำมาใช้ในการเพาะเห็ดหูหนู จะต้องเป็นมีความสด ตัดมาใหม่ๆ ยิ่งสดยิ่งดี ลักษณะไม้ควรเป็นไม้ที่มีเปลือกหนา ไม่มียางที่เป็นพิษต่อเห็ด มีกลิ่นหอม เมื่อฝานเนื้อไม้มาเคี้ยวดูจะมีรสออกหวานๆ จะเป็นไม้เนื้ออ่อนหรือไม้เนื้อแข็งก็ได้ ยกตัวอย่างไม้ที่ใช้ได้ผลและคุ้มค่าต่อการลงทุน ได้แก่
- ไม้แค
- ไม้มะม่วง
- ไม้นนทรี
- ไม้พลวง
- ไม้ไทร
- ไม้ไคร้น้ำ
- ไม้ขนุน
- ไม้มะยมป่า
- ไม้มะกอก
- ไม้เหียง
- ไม้โพธิ์ป่า
- ไม้ทองกวาว
**นอกจากนี้ยังมีไม้เนื้ออ่อนที่นิยมใช้อยู่บ้างในบ้างครั้ง แต่จะให้ผลผลิตค่อนข้างต่ำ คือ ไม้ก้ามปู ไม้นุ่น และ ไม้เนื้อแข็งที่ใช้ได้ผลดี ได้แก่ ไม้กระถินณรงค์ ไม้สะแก ไม้ฝรั่ง ไม้อินทนิล เป็นต้น

++ เทคนิคการเตรียมท่อนไม้เพาะเห็ดหูหนู ++
1. ไม้ต้องได้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เซนติเมตรขึ้นไป จนกระทั่งถึงขนาดโตสุดของไม้
2. ควรตัดไม้มาทำการเพาะเห็ดในฤดูใบไม้ผลิ เพราะไม้ในฤดูนี้จะมีการสะสมอาหารมากกว่าฤดูอื่น
3. ไม้ที่ใช้เพาะเห็ดควรเป็นไม้สดที่ตัดมาใหม่ๆ ยิ่งใหม่ยิ่งดี ไม้ควรตัดทิ้งไว้เกิน 2 สัปดาห์ และ 3 สัปดาห์สำหรับไม้ที่มียางมาก ไม้ที่มียางควรตัดทิ้งไว้ให้ยางไม้ออกเสียก่อน เช่น ไม้ขนุน ไม้ยางพารา ไม้ไทร โดยทิ้งไว้ประมาณ 1-3 สัปดาห์
4. การตัดไม้ จะต้องพยายามไม่ให้เปลือกไม้ช้ำเป็นอันขาด ถ้าเปลือกช้ำแล้วให้นำปูนขาวมาทาตรงบริเวณที่ช้ำ
5. ท่อนไม้แต่ละท่อนที่นำมาใช้ในการเพาะเห็ดควรมีความยาวประมาณ 80-100 เซนติเมตร ถ้าไม้มีกิ่งก้านเล็กๆ ติดมาด้วย ให้ตัดทิ้ง และใช้ปูนขาวทาบริเวณรอยแผลดังกล่าวนั้นเสียก่อนนำมาใช้เพาะเห็ด

++ การเจาะรูไม้ใส่เชื้อเห็ด ++
1.จับสว่านให้แน่น แล้วเจาะลงไปจังหวะเดียวให้มีความลึกประมาณ 3-7 เซนติเมตร หากเป็นไม้ขนาดใหญ่ควรเจาะลงให้ลึกกว่านั้น
2. การเจาะไม้ให้เริ่มทางด้านใดด้านหนึ่งของท่อนไม้ โดยให้ห่างจากปลายไม้ประมาณ 3-4 เซนติเมตร จะเจาะไปในแนวตรง โดยมีระยะห่างประมาณ 6-8 เซนติเมตร สำหรับแถวถัดไปให้มีระยะห่างจากแถวแรกประมาณ 4 เซนติเมตร และควรเจาะในลักษณะสับหว่างกลางของแถวแรก มีความลึกประมาณ 3-5 เซนติเมตร
++ การใส่เชื้อเห็ดลงในขอนไม้ ++
ลักษณะของเชื้อเห็ดที่ใส่ในไม้ จะต้องเป็นเชื้อเห็ดที่ทำจากขี้เลื่อยและไม่มีการผสมดีเกลือในอาหารเลี้ยง เชื้อ สำหรับการใส่เชื้อเห็ดที่ดี ควรใช้กรวยสอดเข้าไปในรูไม้ที่เจาะไว้ แล้วจึงเทเชื้อเห็ดใส่รูที่เจาะไว้ผ่านรูกรวยดังกล่าว เทหัวเชื้อลงไปจนเชื้อเห็ดเกือบเต็มรูไม้ แล้วปิดด้วยจุกพลาสติกให้แน่น หากไม่มีจุกพลาสติกให้ใช้ไม้หรือปูนซีเมนต์ปิดแทนก็ได้
++ การบ่มเชื้อ/การพักไม้ ++
หลังหยอดเชื้อใส่ขอนไม้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้นำขอนไม้ไปตั้งวางในที่ร่มหรือใต้ต้นไม้ หรือในโรงเก็บ โดยก่อนวางพักท่อนไม้ ต้องรองพื้นด้วยคอนกรีตหรืออิฐบล็อกเสียก่อน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ไม้สัมผัสกับดินโดยตรง เพราะจะทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อภายนอกได้ การวางท่อนไม้เพาะเห็ด ควรวางในลักษณะเช่นเดียวกับการวางหมอนรองรางรถไฟ โดยให้มีระยะห่างระหว่างท่อนไม้ประมาณ 1-2 เซนติเมตร ทั้งนี้เพราะต้องการให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก แต่ไม่ควรมีลมโกรกมาก เพราะจะทำให้ความชื้นภายในไม้ลดลง หากมีลมโกรกอาจใช้ฟางคลุมกองไม้ด้านที่ลมพัดมาก็ได้

++ การกระตุ้นเกิดดอก ++
ขั้นตอนนี้ควรทำในโรงเรือนเปิดดอก ภายในโรงเรือนอาจจะปูด้วยอิฐหัก หรือคอนกรีตที่ไม่มีชั้น หรือมีเฉพาะราวไม้สำหรับการวางพาดท่อนไม้ก็ได้ แต่ราวไม้แต่ละแถวจะต้องวางห่างกันประมาณ 1.5 เมตร
นำท่อนไม้ที่ผ่านการบ่มเส้นไปแช่น้ำที่อุณหภูมิปกตินานประมาณ 12-20 ชั่วโมง **แต่ถ้าแช่ในน้ำที่มีอุณหภูมิ 13-18 องศาเซลเซียส ก็จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดดอกเห็ดได้เร็วยิ่งขึ้น ระหว่างแช่ท่อนไม้ ควรหาสิ่งของที่มีน้ำหนักมาวางทับให้ไม้จมน้ำ ซึ่งการแช่น้ำนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. ทำให้ไม้ที่แห้งซึ่งมีความชื้นอยู่น้อย ทำให้มีความชื้นเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของดอกเห็ด
2. เพื่อต้องการกระตุ้นเส้นใยเห็ดที่หยุดพักการเจริญเติบโต และสะสมอาหารอยู่นั้น ให้กลับมีความแข็งแรงขึ้น เส้นใยเห็ดเมื่อได้รับการกระตุ้นจากน้ำเย็นแล้วจะมีความตื่นตัวอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งจะมีการรวมตัวกันเพื่อการเจริญเป็นดอกเห็ดต่อไป
3. เพื่อเป็นการทำลายสัตว์เล็กๆ หรือแมลงที่อาศัยอยู่ในขอนไม้
4. เพื่อเป็นการทำให้เนื้อไม้อ่อนตัวลง
5. หลังจากที่แช่น้ำเสร็จแล้ว ให้ใช้ค้อนทุบตรงบริเวณหัวไม้อย่างแรงพอสมควร ทั้งนี้เพื่อทำให้เนื้อเยื่อของไม้ได้มีการขยายตัว และทำให้อากาศสามารถเข้าไปในเนื้อไม้ได้
++ การดูแลรักษาท่อนไม้ในโรงเรือนเปิดดอก ++
นำไม้ที่แช่น้ำและทุบหัวแล้วเข้าไปเปิดดอกในโรงเรือน โดยวางพาดกับราวลักษณะเดียวกับการวางบ้องข้าวหลามเพื่อเผา ดอกเห็ดจะเกิดขึ้นหลังจากนำไม้เข้าโรงเรือน 4-5 วัน การรดน้ำ จะต้องรดน้ำทุกวันๆ ละ 2- 3 ครั้ง เนื่องจากเห็ดหูหนูมีความต้องการความชื้นสูงถึง 80-85 %
การเพาะ”เห็ดหูหนู”ลงในวัสดุเพาะและการทำให้ออกดอก
เห็ดหูหนูเจริบ เติบโตได้ดีในสภาพดินฟ้าอากาศของประเทศไทย สามารถเพาะได้ทั้งในก้อนขี้ เลื่อยและในท่อนไม้ ไม้ที่นิยมใช้เพาะเห็ดหูหนู ได้แก่ ไม้แค ไม้มะม่วงหรือ ไม้เนื้ออ่อน เปลือกหนา ไม่มียางที่เป็นพิษต่อเห็ด โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 12-15 เซนติเมตร แต่คุณภาพดอกเห็ดที่ได้จากการเพาะในท่อนไม้นี้จะไม่ ดีเท่าการเพาะจากถุง เนื่องจากดอกจะมีขนยาว ดอกกกระด้าง และสีไม่สวย
การเพาะเห็ดหูหนูในถุงพลาสติก :
การผลิตดอกเห็ด เมื่อเส้นใยเดินเต็มถุงและรัดตัวแล้ว การเกิดก้อนเชื้อเห็ดหูหนู จะใช้วิธีกรีดถุงผลิตดอกเห็ด โดยกรีดข้างถุงเป็นแถว 5-6 แถว วางไว้ในที่ร่มและไม่รดน้ำเป็นเวลา 7 วัน จากนั้นจึงค่อยรดน้ำ (ถ้ากรีดแล้วรดน้ำตามทันที การสร้างดอกเห็ดจะไม่ดีเท่าที่ควร) เมื่อเก็บดอกเห็ดแล้ว 3-4รุ่น หากกรีดถุงหรือเจาะถุงในแนวใหม่ที่ว่างอยู่ก็จะเกิดดอกเห็ดได้ดีอีก
การเก็บผลผลิต ดอกเห็ดหูหนูเมื่อเกิดระยะแรกขอบจะหนา และโค้งคล้ายถ้วย เมื่อเจริญเต็มที่แล้ว ขอบของดอกเห็ดจะบาง โค้งเป็นลอน ถ้าดึงจะหลุดได้ง่าย ในระยะนี้เป็นระยะที่เก็บได้ การเก็บเมื่อดอกเห็ดโตเต็มที่พร้อมกันแล้วใช้มือรวบแล้วดึงเบาๆ นำมาตัดก้านพร้อมทั้งเศษวัสดุที่ติดมาด้วยออกทิ้ง บางแห่งการเก็บผลผลิตจะเก็บเฉพาะดอกแก่ก่อน ส่วนที่เหลือก็รอเก็บในวันถัดไป วิธีนี้ถึงแม้เสียเวลาในการเก็บบ้างแต่ก็สามารถเก็บได้ทุกวัน
การเพาะเห็ดหูหนูบนท่อนไม้ :
นำท่อนไม้ที่เตรียมไว้มาเจาะรู โดยใช้เครื่องเจาะ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ1.3-2.5 เซนติเมตร เจาะรูให้ค่อนข้างถี่คือห่างกันประมาณ3-4 นิ้วและแต่ละแถวให้เจาะแบบสลับฟันปลากัน หลังจากนั้นตักเชื้อเห็ดหูหนูใส่ลงในรูให้เต็มพอดี แล้วใช้ฝาที่เตรียมไว้ปิดรู แล้วตอกย้ำบริเวณรอยปิดเบาๆจนแน่นพอสมควร นำท่อนไม้ที่ใส่เชื่อเห็นหูหนูเรียบร้อยแล้ว มาวางเรียงไว้ในที่ร่มโดยไม่ต้องรดน้ำ ไม่ให้ถูกแดด น้ำค้าง น้ำฝน ถ้ามีลมพัดจัดก็ควรหาวัสดุคลุมเองไว้ เช่น กระสอบ ฟางจาก คลุมทิ้งเอาไว้ประมาณ 21 วัน
การเก็บผลผลิต :
เก็บเช่นเดียวกับการเก็บผลผลิตจากถุงพลาสติก และเมื่อสังเกตเห็นว่า จำนวนดอกเห็ดมีน้อยลงหรือมีแต่ดอกเล็กๆ ให้ลูบเด็ดดอกเห็ดดอกเล็กทิ้ง นำขอนไม้ไปวางไว้เช่นเดียวกับการพักไม้ งดรดน้ำโดยเด็ดขาด ให้ดูแลถึงความสะอาดของขอนไม้ พักไม้ทิ้งไว้ประมาณ 20-25 วันจึงนำมาแช่น้ำใหม่ ทั้งนี้เพราะต้องการให้เชื้อเห็ดพัก หลังจากที่ส่งอาหารไปเลี้ยงดอกเห็ดจำนวนมากแล้ว และเป็นการรักษาเปลือกไม้ไม่ให้ล่อนเร็วด้วย ในการเพาะเห็ดหูหนูถ้าสามารถรักษาเปลือกไม้ไว้ได้นานเท่าที่จะนานได้โดยไม่ ให้ล่อนจะให้ผลผลิตสูงกว่าที่ไม่มีเปลือก แต่สำหรับไม้บางชนิดที่เปลือกล่อนหรือหลุดง่าย ต้องรีบแกะเปลือกไม้ทันทีโดยสังเกตจากการใช้มือบีบ หรือ ดูถ้ามีเสียงดังคล้ายเปลือกไม้หลุดให้รีบแกะเปลือกไม้ทันที เพราะถ้าไม่แกะออกเปลือกจะเน่า แล้วทำให้ท่อนไม้ทั้งท่อนเสีย หลังจากแกะเปลือกออกแล้ว ควรนำไปล้างน้ำเอาส่วนที่สกปรกออกทิ้ง อย่าใช้แปรงทองเหลืองขัดเป็นอันขาด เพราะถ้าใช้แปรงขัดแล้ว เวลาไม้แห้งผิวท่อนไม้จะมันเกลี้ยงไม่ดูดความชื้น
การแยกและเลี้ยงเชื้อ”เห็ดหูหนู”บริสุทธิ์
การแยกเชื้อเห็ดบริสุทธิ์สามารถแยกได้ 2 วิธี คือ การแยกเชื้อเห็ดบริสุทธิ์จากสปอร์ และการ
แยกเชื้อเห็ดบริสุทธิ์จากเนื้อเยื่อ การแยกเชื้อเห็ดบริสุทธิ์จากเนื้อเยื่อเป็นวิธีการนิยมกันมากที่สุด แบ่งขั้นตอนย่อยออกเป็น

การแยกเชื้อเห็ดบริสุทธิ์จากเนื้อเยื่อ :
1. การเตรียมอาหารวุ้น
2. การคัดเลือกดอกเห็ดที่จะนำมาแยกเชื้อ
3. การเขี่ยเนื้อเยื่อจากดอกเห็ด
วิธีการต่างๆ จะคล้ายคลึงกับการเลี้ยงเชื้อเห็ดบริสุทธิ์ทั่วไป จะแตกต่างตรงที่การเขี่ยเนื้อเยื่อจากดอกเห็ด ที่ต้องใช้วิธีนำกรรไกรชุบแอลกอฮอล์ขลิบดอกเห็ดโดยรอบ แล้วลอกดอกเห็ดออกเป็น 2 ชั้น จากนั้นขูดเอาเนื้อเยื่อส่วนในที่ลอกออกมาใหม่มาเล็กน้อย แล้วเขี่ยเนื้อเยื่อลงในอาหารวุ้น นำไปบ่มที่อุณหภูมิระหว่าง 22-26ºc. และเป็นห้องมืด ประมาณ 2-3 วัน จะเริ่มมีเส้นใยสีขาวฟูออกมาจากเนื้อเยื่อที่ตัดวางไว้ อีก 6-8 วันต่อมา จึงเขี่ยตัดเอาส่วนปลายของเส้นใยเห็ดในอาหารวุ้นไปใส่ในอาหารวุ้นขวดใหม่ ในการถ่ายเชื้อไม่ควรเกิน 4 ครั้ง นับตั้งแต่เริ่มแยกจากดอก เพราะเชื้อเห็ดหูหนูเสื่อมง่ายกว่าเห็ดฟาง
การเสื่อมของเชื้อ คือ ระยะเวลาที่จะออกดอกและช่วงของการให้ดอกจะช้าลง พร้อมทั้งให้ผลผลิตลดลง ที่เป็นเช่นนี้เพราะเห็ดหูหนูเป็นเห็ดที่มีน้ำย่อยที่สามารถย่อยลิกนินและ เซลลูโลสได้ ในอาหารวุ้นไม่มีทั้งลิกนินและเซลลูโลส ทำให้น้ำย่อยที่มีอยู่ในเส้นใยเสื่อมลงไปเรื่อยๆ ดังนั้นถ้านำไปเลี้ยงในขี้เลื่อยใหม่ เส้นใยเห็ดต้องเสียเวลาปรับตัวพร้อมทั้งสร้างน้ำย่อยใหม่อีก จึงทำให้การออกดอกช้าลงพร้อมทั้งให้ผลผลิตลดลงได้
การทำหัวเชื้อเห็ด :
การตัดเชื้อเห็ดในอาหารวุ้นลงในวัสดุเพาะโดยตรง พบว่ามีข้อเสียหลายประการ เช่น เส้นใยเห็ดเจริญช้าเพราะจะใช้อาหารในอาหารวุ้นจนหมดก่อน จึงจะเจริญต่อในวัสดุเพาะ อาหารวุ้นจะเป็นแหล่งอาหารของเชื้อจุลินทรีย์อื่น จึงต้องทำลายเชื้อจุลินทรีย์อื่นๆ ให้หมดไปก่อนซึ่งต้องเสียเวลาและระมัดระวังในเรื่องของการทำความสะอาดสถาน ที่เขี่ยเชื้อ การทำหัวเชื้อเห็ดจึงสามารถทำได้จากวัสดุที่จะทำให้เส้นใยจากวุ้นเจริญได้ อย่างต่อเนื่อง นั่นคือการทำหัวเชื้อจากเมล็ดธัญพืชและการทำหัวเชื้อจากขี้เลื่อยผสมปุ๋ย หมัก
เห็ดลักษณะเฉพาะของเห็ดหูหนู 
หูหนูเป็นเห็ดที่มีรสชาติดี กลิ่นหอม กินอร่อยไม่ว่าจะนำมาปรุงอาหารประเภท ใดเห็ดหูหนูก็ยังคงสภาพการกรอบอยู่เสมอและมีปริมาณโปรตีน วิตามิน เกลือ แร่ ที่สูงและยังมีคุณสมบัติเป็นยาอายุวัฒนะอีกด้วย เห็ดหูหนูเมื่อนำมาตาก แห้งจะสามารถเก็บไว้ได้นานโดยไม่เสื่อมคุณภาพ
ใน ธรรมชาติเห็ดหูหนูเจริญได้ดีในเขตร้อน โดยเฉพาะสภาพอากาศเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เห็ดหูหนูจะเจริญเติบโตบนขอนไม้ที่เริ่มเปื่อยผุพัง ชาวจีนนับว่าเป็นชาติแรกที่รู้จักวิธีการเพาะเห็ดหูหนูโดยการตัดไม้โอ๊กเป็น ท่อนๆ มาเพาะ แต่ประเทศไทยได้ทดลองเพาะเห็ดโดยการตัดไม้แคมากองสุมกันไว้ พอถึงฤดูฝนไม้จะเริ่มผุ และเห็ดหูหนูเกิดขึ้น เห็ดหูหนูเจริญเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศแทบทุกภูมิภาคของประเทศไทย ประกอบกับประเทศไทยมีวัสดุที่ใช้เพาะเห็ดหูหนูอย่างเหลือเฟือ เช่น ฟางข้าว ไม้เนื้ออ่อน ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว ซังข้าวโพด
++ ชีววิทยาของเห็ดหูหนู ++
ชื่อสามัญ : Jelly mushroom
Subdivision : Basidiomycotina
Class : Hymenomycetes
Subclass : Phragmobasidiomycetidae
Order : Tulasnellales (jelly fungus)
Family : Auriulariaceae
Genus : Aauricularia
สำหรับชนิดบางจะถูกจัดไว้อีกสกุลหนึ่ง ส่วนเห็ดหูหนูขาว หรือ White jelly fungus มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tremella fuciformis Berk. และถูกจัดไว้ในวงศ์ หรือ Family Tremellaceae
++ ลักษณะทางสัณฐานวิทยา ++
ลักษณะดอกเห็ดมีเยื้อเป็นวุ้น (gelatinous structure) รูปร่างคล้ายหู (ear – shaped) บางพันธุ์จะมีขนละเอียดๆ ที่ผิวด้านล่างของดอก ก้านดอกสั้น หรือบางพันธุ์ก็ไม่มี ดอกเห็ดประกอบด้วย เส้นใยพวก binucleate hyphae ซึ่งมี dolipore septum และ clamp connection hymenium อยู่ด้านล่างของดอก basidium รูปทรงกระบอกมีผนังกั้นตามขวาง 3 อัน แบ่ง basidium ออกเป็น 4 เซลล์ แต่ละเซลล์จะสร้าง epibasidium ยืดยาวออกออกมาและส่วนปลายของ basidiospore รูปโค้งคล้ายไต ไม่มีสี basidiosporeของ A. auricular judae มีขนาด 5-6X10.45 – 12.5 ไมครอน และ A. polytricha 6.25×12.5 – 15 ไมครอน basidiospore เมื่อรวมกลุ่มกันมากๆ จะเห็นเป็นสีขาว
การพัฒนาของดอกเห็ดหูหนูบนท่อนไม้สามารถแบ่งได้เป็น 5 ระยะ : คือ
ระยะที่ 1 : primodial stage เป็นระยะที่เห็ดเริ่มสร้างดอกเห็ด จะเห็นจากใส่เชื้อบนท่อนไม้ 18 วัน มีลักษณะกลม สีม่วงจนถึงสีน้ำตาล ต่อมาอีก 4 – 5 วัน จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร
ระยะที่ 2 : Small or thick – cup stage ดอกเห็ดระยะนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 0.7 เซนติเมตร จะมีการเรียงตัวของเนื้อเยื้อเหมือนกับดอกเห็ดที่โตเต็มที่แล้ว
ระยะที่ 3 : Thin cup stage ขอบของดอกขยายออกและเริ่มบาง มีสีน้ำตาลอ่อน การเจริญของขอบไม่เท่ากัน มีด้านหนึ่งเจริญมาก เส้นผ่านศูนย์กลางของดอกประมาณ 2 – 3.5 ซม. ดอกหนาประมาณ 1.3 มิลลิเมตร อาจพบกลุ่มของสปอร์สีขาวบนดอกเห็ด
ระยะที่ 4 : Expanded plain – edged stage ดอกเห็ดเจริญเติบโตเต็มที่หลังจากระยะที่ 3 ประมาณ 1 อาทิตย์
ระยะที่ 5 : Expanded, wavy – edged stage ระยะนี้ต่อจากระยะที่ 4 ต่างกันเฉพาะขอบของดอกเห็ดจะหยัก
** ระยะเวลาจากระยะ 1 ถึง 3 เห็ดเจริญช้า แต่จาก 4-5 จะเจริญได้อย่างรวดเร็ว
วงจรชีวิตของเห็ดหูหนู : Basidiospore ของเห็ดหูหนูจะแบ่งเป็นหลายเซลล์ขณะที่งอก การงอกของ basidiospore อาจจะเป็นได้ 2 ลักษณะ คือ
1. basidiospore ที่แบ่งเซลล์แล้วงอก
2. basidiospore จะงอก germ tube เล็กและสั้นหลายอัน แต่ละอันก็จะสร้าง conidium ซึ่งมีขนาดเล็กและโค้ง ซึ่งในที่สุดก็จะหลุดออกไปแล้วงอกให้เส้นใยขั้นต้น
ลักษณะการสืบพันธุ์ : เป็นแบบ bipolar heterothallic โดย uninucleate hyphae ซึ่งเจริญมาจาก basidiospore มีการรวมตัวกันแล้วclamp connection ถูกสร้างขึ้นได้เป็น dikaryotic hyphae ซึ่งเจริญต่อไปเป็นดอกเห็ดภายในดอกเห็ด basidium จะถูกสร้างที่ปลายเส้นใย ในส่วนของ hymenium เกิดการรรวมตัวของนิวเคลียส (karyogamy) ขึ้นภายใน basidiumได้ zygote นิวเคลียสซึ่งจะแบ่งตัวแบบไมโอซีส ขณะเดียวกับ basidium แบ่งออกเป็น 4 เซลล์ โดยมีการสร้างผนังกั้นตามขวางขึ้น 3 อัน อันแรกจะถูกสร้างขึ้นขณะที่นิวเคลียสมีการแบ่งตัวครั้งแรก และอีก 2 อัน เมื่อนิวเคลียสแบ่งตัวครั้งที่สองแต่ละเซลของ basidium ก็เจริญให้ epibasidium นิวเคลียสแต่ละอันก็จะเคลื่อนไปยังส่วนปลายของ epibasidium ซึ่งโป่งพองเกิดเป็น basidiospore ซึ่ง basidiospore เมื่อหลุดออกไปก็จะออกให้เส้นใยใหม่
วงจรชีวิตของเห็ดหูหนูแบบ Heterothallic : มีดังนี้
1.เริ่มจากเห็ดหูหนูเจริญเติบโตเต็มที่จะมีการสร้างสปอร์ ซึ่งมีลักษณะเป็นผงสีขาวหล่น บนพื้นหรือปลิวไปตามสายลม
2.เมื่อสปอร์ของดอกเห็ดปลิวไปตกในบริเวณที่เหมาะสม เช่น ความชื้น อุณหภูมิ และอาหารที่เหมาะสมต่อการาเจริญของเห็ดหูหนู สปอร์ก็จะงอกเส้นใยขั้นแรก (primary mycelium) ออกมา เส้นใยของเห็ดหูหนูจะมีผนังกั้น (Septate hypha) และภายในแต่ละช่องจะมีนิวเคลียส 1 อัน เส้นใยของเห็ดหูหนูจะมีการแตกกิ่งก้านมากมาย แต่ไม่สามารถจะมารวมและพัฒนาเป็นดอกเห็ดได้
3.เส้นใยของเห็ดหูหนูพวก primary mycelium จะต้องมีการผสมกัน หรือรวมกันระหว่างเส้นใยที่เกิดจากต่างสปอร์กัน แต่สามารถเข้ากันได้ (Compatible) หลังจากเกิดการรวมตัวกันก็จะได้เส้นใยขั้นที่ 2 (Secondary mycelium) เส้นใยขั้นที่ 2 จะมีขนาดเล็กกว่าเส้นใยขั้นแรกเล็กน้อย และภายในเส้นใยแต่ละช่อง (Septum) จะมี 2 นิวเคลียสเส้นใยขั้นที่ 2 นี้ระหว่างเซลล์จะมีข้อยึดเรียกว่า Clamp connection เส้นใยขั้นที่ 2 จะเจริญและมีการสะสมของอาหารไว้ในเส้นใยจะสามารถพัฒนาเป็นดอกเห็ดต่อไป
สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการเจริญของเห็ดหูหนู :
1.อุณหภูมิ (Temperature) เห็ดหูหนูเป็นเห็ดที่เจริญได้ดีในช่วงอุณหภูมิที่กว้างมาก ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 12 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส เส้นใยของเห็ดจะไม่ค่อยเติบโต อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเติบโตของเห็ด คือ 28 องศาเซลเซียสหรือ อุณหภูมิควรอยู่ระหว่าง 20 – 30 องศาเซลเซียส พบว่าที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส จะชะงักการงอกของสปอร์ การงอกของสปอร์เห็ดหูหนูขึ้นอยู่กับอุณหภูมิเป็นปัจจัยสำคัญ นอกจากนี้ในสภาพอุณหภูมิต่ำ เห็ดหูหนูจะมีครีบดอกผิดปกติ และมีขนยาว เจริญเติบโตช้า และผลผลิตต่ำ แต่ถ้าอุณหภูมิสูง ดอกเห็ดหูหนูที่ได้จะมีขนาดเล็กเส้นใยโตช้าแห้งง่าย และผลผลิตต่ำ
2.ความชื้น (Humidity) เห็ดหูหนูจัดเป็นเห็ดที่ชอบความชื้นของอากาศสูง ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ (Relative humidity) ไม่ควรต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะในระยะที่เห็ดหูหนูใกล้ออกดอก ควรมีความชื้นไม่ต่ำกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ ส่วนความชื้นในวัสดุเพาะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดหูหนู ควรมีความชื้นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ทั้งความชื้นในอากาศและความชื้นในวัสดุที่ใช้เพาะ นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ควบคุมการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของเห็ดหูหนู
3.แสงสว่าง (Light) ปกติแสงไม่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของเห็ดหูหนูมากนัก การเลี้ยงเส้นใยเห็ดหูหนู ควรเลี้ยงในที่มืดแต่หลังจากเส้นใยเจริญเต็มผิวของอาหารวุ้นแล้วควรให้เส้น ใยเห็ด มีโอกาสได้รับแสงบ้างพอสมควร ทั้งนี้เพราะแสงสว่างจะช่วยกระตุ้นให้เส้นใยเห็ดหูหนูรวมตัวกัน และเจริญไปเป็นดอกเห็ดได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าในขณะที่เห็ดหูหนูออกดอกและได้รับแสงสว่างมากเกินไป จะทำให้เห็ดหูหนูมีขนยาว ดอกสีคล้ำแต่ถ้าได้รับแสงน้อยขนจะสั้นและดอกมีสีซีด

4.สภาพความเป็นกรด – ด่าง เห็ดหูหนูเจริญได้ดีในสภาพเป็นกลางหรือเป็นกรดเล็กน้อย ประมาณ 4.5 – 7.5 คล้ายกับเชื้อราทั่วไป ในการเพาะเห็ดหูหนูจึงควรปรับสภาพของอาหารให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต การผลิตก้อนเชื้อเห็ดหูหนู สูตรที่นิยมใช้คือ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม แป้งข้าวสาลีหรือน้ำตาล 3 – 4 กิโลกรัม รำละเอียด 5 กิโลกรัม ข้าวโพดป่น 3 – 5 กิโลกรัม ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม ปูนขาว 0.5 – 1 กิโลกรัม น้ำสะอาด 80 – 90 กิโลกรัม
5.การถ่ายเทของอากาศ (Aeration) การถ่ายเทอากาศภายในโรงเรือนนับว่ามีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเห็ดหู หนูเช่นกัน ถ้าสภาพของโรงเรือนถ่ายเทอากาศไม่ดี และมีการสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากๆ ดอกเห็ดจะไม่บานหรือเจริญเติบโตต่อไปตามปกติ แต่ดอกเห็ดจะมีลักษณะเป็นแท่งคล้ายกระบอง อย่างไรก็ตามถ้าโรงเรือนมีการถ่ายเทอากาศมากเกินไป ดอกเห็ดจะมีลักษณะกระด้างขนยาว ดังนั้น โรงเรือนที่ใช้ในการเพาะเห็ดหูหนูภายในควรบุด้วยพลาสติก พร้อมกับเจาะรูที่พลาสติกเพื่อให้อากาศภายในโรงเรือนถ่ายเทได้ดีพอสมควร

ที่มา:เกษตรอินทรีย์

การเพาะเห็ดหูหนู

การเพาะเห็ดหูหนู ทำเงิน

เห็ดหูหนู
เป็นเห็ดที่ประชาชนทั่วไปรู้จักเป็นอย่างดี สามารถ เจริญเติบโตได้ดีในสภาพ ดินฟ้าอากาศของประเทศไทย เป็นเห็ดที่มีรสชาติดี กลิ่นหอม อร่อยและมีคุณสมบัติ พิเศษคือคงสภาพความกรอบและคุณค่าทางอาหาร ทั้งยังปลอดภัยต่อผู้บริโภค
 ธรรมชาติของเห็ดหูหนู
ในสภาพธรรมชาติ เห็ดหูหนูจะเจริญได้ดีในเขตร้อน โดยเฉพาะภูมิอากาศเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเจริญเติบโตบนขอนไม้ที่เริ่มเปื่อยผุพัง ชาวจีนเชื่อว่าเห็ดหูหนูเป็นยาอายุวัฒนะสามารถรักษาโรคคอเจ็บ โรคโลหิตจางและแก้โรคร้อนในได้เป็นอย่างดี ชาวจีนนับเป็นชาติแรกที่รู้จักเพาะและบริโภคเห็ดหูหนู ในสมัยก่อนชาวจีนเพาะเห็ดหูหนูโดยการตัดไม้โอ๊กเป็นท่อน ๆ มาเพาะ แต่สำหรับประเทศไทยได้ทดลองเพาะ เห็ดหูหนูโดยการตัดไม้แคมากองสุมกันไว้ พอถึงฤดูฝนไม้จะเริ่มผุและมีเห็ดหูหนูเกิดขึ้น จากนั้นก็สามารถเก็บดอกเห็ดหูหนูได้เรื่อย ๆ จนเน่าขอนไม้จะผุ แต่ในปัจจุบันนิยมการเพาะเห็ดหูหนู ในถุงพลาสติกกันมากเพราะมีความสะดวก หาวัสดุเพาะได้ง่าย
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับ การเจริญเติบโตของเห็ดหูหนู
1. อุณหภูมิ เห็ดหูหนูสามารถเจริญได้ดีในทุกสภาพอากาศของไทย ในช่วงอุณหภูมิ 15-35 องศาเซลเซียส แต่ช่วงอุณหภูมิ ที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 25-32 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 12 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส เส้นใยจะไม่ค่อยเจริญเติบโต ถ้าอุณหภูมิต่ำ ดอกเห็ดจะหนาผิดปกติ มีขนยาว เจริญเติบโตช้าและผลผลิตต่ำ แต่ถ้าอุณหภูมิสูง ดอกเห็ดจะมีขนาดเล็ก ผลผลิตต่ำ

2. ความชื้น ปกติต้องการความชื้นในอากาศสูงมาก ความชื้นสัมพัทธ์ไม่ควรต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์โดยเฉพาะในระยะเวลาที่เห็ดใกล้ออกดอก ควรมีความชื้นสัมพัทธ์ไม่ต่ำกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ 3. แสงสว่าง ปกติไม่จำเป็นนักแต่ในช่วงที่เส้นใยเจริญเติบโต หากมีแสงมากจะทำให้เส้นใยเดินช้าแก่เร็ว จึงควรเลี้ยงเส้นใยในห้องที่ค่อนข้างมืด สำหรับในช่วงที่เห็ดเริ่มออกดอก ถ้าแสงมากเกินไป ดอกเห็ดจะมีสีคล้ำขนยาว แต่ถ้าแสงน้อยดอกเห็ดจะซีด
4. การถ่ายเทอากาศ การถ่ายเทอากาศในโรงเรือนนับว่ามีความสำคัญมาก ถ้าการถ่ายเทอากาศไม่ดี และมีการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาก ๆ ดอกเห็ดจะไม่บานแต่จะมีลักษณะเป็นแท่งคล้ายกระบอง แต่ถ้าอากาศถ่ายเทมากเกินไป จะทำให้ดอกเห็ดมีลักษณะแข็งกระด้าง มีขนยาว จึงนิยมเพาะในโรงเรือนที่มุงด้วยจากหรือหญ้าคา และบุด้วยพลาสติกภายในพร้อมกับ เจาะพลาสติกเป็นช่องระบายอากาศให้ถ่ายเทพอสมควร
5. สภาพความเป็นกรด-ด่าง เห็ดหูหนูเจริญได้ดีในสภาพเป็นกลาง หรือเป็นกรดเล็กน้อย ประมาณ 4.5-7.5 คล้ายกับเชื้อราทั่วไป ในการเพาะเห็ดหูหนูจึงควรปรับ สภาพของอาหารให้เหมาะกับการเจริญเติบโต
การผลิตก้อนเชื้อเห็ดหูหนู
สูตรที่นิยมใช้คือ
ขี้เลื่อยไม้ยางพาราแห้ง 100 กิโลกรัม
แป้งข้าวสาลีหรือน้ำตาล 3-4 กิโลกรัม
รำละเอียด 5 กิโลกรัม
ข้าวโพดป่น 3-5 กิโลกรัม
ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม
ปูนขาว 0.5-1 กิโลกรัม
น้ำสะอาด 70-80 กิโลกรัม
  • หมายเหตุ ในการเพาะเห็ดหูหนู อาจใช้ขี้เลื่อยเพียงอย่างเดียวก็ได้ แต่ผลผลิตที่ได้จะต่ำ สำหรับขี้เลื่อยที่ใช้มักใช้ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้ยางพารา ก้ามปู นุ่น เป็นต้น ซึ่งขี้เลื่อยที่ใช้จะต้องไม่มียางที่เป็นพิษต่อเห็ดด้วย ถ้าต้องการเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นควรเพิ่ม อาหารเสริมลงในขี้เลื่อยสูตรที่ใช้ในการ เพาะก็สามารถดัดแปลงใช้วัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น แล้วแต่ผู้เพาะเห็ดจะเลือกแต่ควรคำนึง ถึงผลได้ผลเสียที่อาจเกิดขึ้นด้วย สำหรับสูตรอาหารข้างต้น เป็นสูตรที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำ การทดลองใช้กับเห็ดหูหนูที่ให้ผลผลิตสูง
  • วิธีการทำ  นำส่วนผสมต่าง ๆ มาคลุกเคล้าผสมให้เข้ากัน ค่อย ๆ ผสมน้ำลงไป ให้ขี้เลื่อยมีความชื้น ประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ ทดสอบโดยใช้มือกำส่วนผสมขึ้นมาแล้วบีบดูเมื่อคลายมือออก หากขี้เลื่อยมีความชื้นพอเหมาะขี้เลื่อยอาจจะแบ่งออกเป็น 2-3 ก้อนใหญ่เท่านั้น ไม่แตกละเอียดเป็นก้อนเล็ก ๆ ซึ่งแสดงว่าแห้งเกินไปหรือจับเป็นก้อนใหญ่เพียงก้อนเดียว ซึ่งแสดงว่าชื้นเกินไป เมื่อส่วนผสมได้ที่แล้ว บรรจุลงถุงพลาสติกทนร้อนประมาณ 8-10 ขีด อัดก้อนให้แน่นพอสมควร ส่วนปากถุงใส่คอขวดใช้ ยางรัดอุดจุกสำลีปิดทับด้วยกระดาษรัดยางอีกชั้น นำไปนึ่งด้วยหม้อนึ่งลูกทุ่งนาน 3-4 ชั่วโมง นับจากน้ำเดือด เมื่อนำออกมาตั้งไว้ให้เย็น ทำการเขี่ยเชื้อเห็ดลงไป นำไปบ่ม ดูรายละเอียด ขั้นตอน การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก
การบ่มก้อนเชื้อ
หลังจากการที่เขี่ยเชื้อเรียบร้อยแล้ว ให้นำก้อนเชื้อ ไปบ่มไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิสม่ำเสมอ ในการบ่มเชื้อถ้าต้องการให้เชื้อเห็ดเจริญเร็ว ควรปฏิบัติดังนี้
1. อุณหภูมิที่ใช้บ่มควรอยู่ที่ 25-30 องศาเซลเซียส หรืออุณหภูมิห้อง
2. ในระยะแรกของการเดินของเส้นใยเห็ดหูหนุ ไม่ต้องให้มีอากาศถ่ายเทมากนัก ถ้าอากาศไม่ถ่ายเทและมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมไว้มาก เส้นใยเห็ดหูหนูเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วดังนั้นในระยะ 10 วันแรก ของการบ่มเชื้อไม่ควรให้มีลมโกรกมากนัก
3. ในระยะที่เส้นใยเจริญเต็มที่ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 30-45 วัน ในระยะนี้จำเป็นต้องให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และให้ก้อนเชื้อถูกแสงสว่างบ้างซึ่ง จะช่วยกระตุ้นให้เส้นใยมีการสะสมอาหารและรวมตัวกันเป็นดอกเห็ดเล็ก ๆ ภายในถุง
4. ก้อนเชื้อที่เส้นใยเดินเต็มพร้อมที่จะเปิดดอกได้ ไม่ควรเก็บนานเกิน 15 วัน เพราะก้อนเชื้อจะแก่เมื่อเอาไปใช้จะเจริญเป็นดอกช้ามากหรือไม่เจริญ ควรเก็บในที่มีอากาศค่อนข้างเย็น จะทำให้ก้อนเชื้อแก่นั้นเสื่อมช้าลง
การทำให้เกิดดอก
เมื่อเส้นใยเห็ดหูหนูเจริญเต็มก้อนเชื้อแล้ว การทำให้เห็ดเกิดดอกควรปฏิบัติดังนี้
1. การกรีดถุง ให้ถอดคอขวดพลาสติกออกแล้วรวบปากถุงใช้ยางรัดให้แน่นแล้วใช้มีดคม ๆ กรีดข้างถุงโดยรอบ กรีดเป็นรูปกากบาทเล็ก ๆ หรือเป็นช่วงสั้น ๆ ประมาณ 1 นิ้ว สำหรับเห็ดหูหนูไม่นิยมเปิดปากถุงหรือเปลือยถุง เพราะขนาดดอกที่ออกจะใหญ่ มักไม่เป็นที่นิยมของตลาดและการที่ไม่กรีดเป็นช่วงยาว ๆ ก็เพราะดอกเห็ดที่ออกจะติดกันเป็นแถวยาวตามรอยกรีด และจะมีขนาดดอกไม่เสมอกันตั้งแต่ ขนาดที่เก็บไว้ทานได้จนถึงขนาดที่เริ่มเป็นตุ่ม เวลาเก็บให้หมด เพราะจะอยู่ติดกัน ดอกที่เล็กอยู่และมีโอกาสโตได้อีกจะเสียไป ดูรายละเอียด ขั้นตอน การเปิดดอกเห็ดหูหนู
2. การวางก้อนเชื้อ อาจวางได้ 2 วิธี คือ
  • การวางบนชั้น คล้ายกับเห็ดนางรม เป๋าฮื้อ โดยให้แต่ละถุงห่างกันประมาณ 5-7 ซม. ถ้าวางห่างกันมากเกินไป จะเกิดผลเสียคือสิ้นเปลืองพื้นที่โดยเปล่าประโยชน์ ความชื้นไม่เพียงพอ เพราะระยะก้อนเชื้อห่างกันมาก จึงทำให้ได้จำนวนถุงน้อยและสิ้นเปลืองเวลา ในการรดน้ำดอกเห็ดที่ได้จะขนยาว ดอกหนา ไม่เป็นที่นิยมของตลาด
  • การวางก้อนเชื้อแบบแขวน วิธีการนี้ตามฟาร์มเห็ดหลายแห่งนิยมกันมาก เพราะไม่ต้องสิ้นเปลืองวัสดุในการทำชั้น โดยใช้ลวดแทงให้ทะลุก้อนเชื้อในแนวตั้งซ้อน ๆ กันเป็นพวง ๆ ละ 10 ถุง และใช้แขวนถุงเห็ดห่างกัน 5-7 ซม. การแขวนก้อนเชื้อจะช่วยลดความเสียหายจากการทำลายของมด แมลงสาบ ฯลฯ ได้มาก
อุปกรณ์การทำเชื้อแบบแขวน
* เชือกฟางม้วนใหญ่เส้นใหญ่ (ใช้ประมาณ 3 ม้วน/ก้อนเห็ด 1,000 ก้อน)
* ใบมีดคม ๆ (คัตเตอร์หรือมีดเหลาดินสอ) 3-4 เล่ม
* แอลกอฮอล์ 70% 1 ขวด
* ยางวงเล็ก 1 ถุง
ขั้นตอน
1.ตัดเชือกฟางความยาว แล้วแต่จำนวนก้อนที่จะแขวนและ ขนาดความสูงของโรงเรือน โดยทดลองเอาก้อนเห็ดมาวัดดู เอาเชือกฟางผูกที่ไม้พาด ในโรงเรือน ระยะห่างระหว่างเชือกแต่ละ เส้นให้ดูว่าก้อนเห็ดไม่ทับกัน ชนกันเป็นอันใช้ได้ เพาะเวลาเห็ดออกดอกจะ ได้ไม่ทับกันทำให้ดอกไม่สวย และอาจเน่าได้จำนวน ก้อนที่แขวนในเชือกแต่ละเส้นขึ้นกับความสูง ความแข็งแรงของโรงเรือนและ ความสะดอกในการเก็บดอก ระยะระหว่างก้อนอย่าให้ก้อนซ้อนกัน ให้ปากถุงก้อนเห็ดพอแตะก้นถุงของอีกก้อน ประมาณ 6-8 ก้อน อย่าให้ก้อนสุดท้ายใกล้พื้นดินเกินไป จะทำให้ดอกเห็ดติดดินสกปรกได้ ควรระวัง โรงเรือนต้องมีความแข็งแรง เสาหลังคาโรงเรือนกับเสาราวสำหรับพาดไม ้แขวนก้อนควรใช้คนละชุดกัน ให้อิสระต่อกันเพื่อง่ายต่อการซ่อมบำรุง อีกอย่างการแขวนก้อนเห็ดต้อง วางแผนสำหรับทางเดินเข้าไปรดน้ำและเก็บดอกเห็ดด้วย
2.เอามีดที่เตรียมไว้ 3-4 เล่มแช่ทิ้งไว้ในแอลกอฮอล์
3.เลือกก้อนเห็ดหูหนูที่เส้นใยเดินเต็ม ดูเส้นใยแข็งแรงขาว ทั้งก้อนไม่มีราปะปนเช่น ราเขียว ราดำ ควรระวัง ไรไข่ปลาเป็นอย่างยิ่ง ถ้าก้อนเห็ดหูหนูก้อนไหนเจอเป็นเม็ดใส ๆ (เหมือนไข่ปลาหรือสาคู) กดดูแล้วแตกรีบนำออกไป อย่านำไปปะปนกับก้อนที่คัดเลือกแล้ว ก้อนที่มีรา ไรไข่ปลาไม่ควรนำมาเปิดดอก เพราะจะทำให้เกิด การระบาดทั้งโรงเรือนได้ นำก้อนเห็ดหูหนู ที่คัดเลือกแล้วมาเปิดจุกกระดาษ สำลีออกแคะเม็ดข้าวฟ่างออกให้หมด เอาคอขวดพลาสติกออก ใช้ยางวงมัดปากถุงเป็นจุก พับปลายถุงลงมาแล้วมัด (เหมือนถุงแกง) ใช้ยางเก่า ก็ได้เพื่อเป็นการประหยัด และเพื่อป้องกันน้ำเข้าเวลา เรารดน้ำจะทำให้เส้นใยบริเวณปากถุงเน่าได้
4.นำก้อนที่มัดปาดถุงเรียบร้อยแล้ว มากรีดรอบถุงเพื่อเป็นจุดให้เกิดดอกเห็ด โดย ใช้มีดที่แช่แอลกอฮอล์ไว้มากรีด กรีดได้ 2-3 ก้อนให้สลับมีดเอาเล่มใหม่มาใช้ส่วน เล่มเก่าที่แช่แอลกอฮอล์ไว้อีก ห้องกันแผลติดเชื้อ ลักษณะแผลที่กรีด ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร อย่ากรีดให้แผลลึก ให้ถุงพลาสติกขาด ถ้าแผลลึกมากทำให้หายช้า มีดที่กรีดต้องคม ๆ ถ้าไม่คมแผลจะช้ำและหายช้า การกรีดจะกรีดแบบตรงหรือเฉียงก็ได้ แต่ที่แนะนำควรกรีดแบบตรงดีกว่าเพราะแผลจะหายเร็วการกรีดถุงมี 2 แบบ ที่นิยม
5.รอประมาณ 7-10 วันแผลที่กรีดจะหาย ช่วงที่รอ แผลหายต้องหมั่นดูก้อนเห็ดบ่อย ๆ ถ้าก้อนไหนมีไรไข่ปลา เป็นเม็ดใส ๆ ให้รีดตัดออกไปทำลายหรือเป็นราเขียว ก็ให้รีบเอาออกเช่นกัน ช่วงนี้ไม่ต้องรดน้ำ เมื่อแผลเริ่มออกตุ่มเหมือนตัวปลิงส่วนใหญ่ จะเป็นที่ก้นถุงก่อน รอให้เป็นปลิงทุกแผลและโตประมาณนิ้วก้อย ให้เริ่มรดน้ำ การรดน้ำเพื่อให้โรงเรือนมีความชื้น รดน้ำบ่อย ๆ ทีละน้อย ๆ ดีกว่ารดน้อยครั้งแต่ครั้งละมาก ๆ เพราะน้ำอาจขังและอาจเป็นต้นเหตุของเชื้อราได้ ต้องดูแลโรงเรือนอย่าให้ลมโกรกเพาะทำให้เห็ดไม่เติบโต บานเป็นดอก ต้องให้มีแสงเข้าโรงเรือน อย่าให้ทับมาก เอาพอสลัว ๆ ครับจะทำให้สีของดอกเห็ดออกแดงชมพูสวย ถ้าแสงน้อยจะทำให้ดอกเห็ดสีซีดแต ่ถ้าแสงมากไปดอกเห็ดจะออกแดงเข้มดำ (เรื่องความหนาและสีของดอกเห็ด สาเหตุใหญ่มาจากสายพันธุ์ของเห็ด มีสายพันธุ์ดอกหนา ดอกบาง เล็ก ใหญ่ สีอ่อนสีเข้ม) เมื่อดอกเห็ดโตได้ขนาด ประมาณใบหูก็เก็บไปล้าง ตัดจุกขี้เลื่อยให้สะอาด อย่าแช่น้ำนานเอาเห็ดขึ้นจากน้ำผึ่งให้หมาด เตรียมส่งขายได้การเก็บเห็ดถ้าปล่อยให ้แก่มากเห็ดจะเริ่มปล่อยสปอร์สีขาว ดอกจะบางและขอบหยิกไม่เป็นที่ต้องการของตลาด
6.เมื่อเก็บดอกชุดแรกหมดแล้ว ควรระวัง ราเขียว จะเกิดกับแผลก้อนเห็ด ควรฉีดพ่นด้วยน้ำหมักเชื้อพลายแก้ว (บีเอส) เพื่อป้องกันและกำจัดราเขียว ฉีดพ่นด้วยน้ำหมักเชื้อไมโตฟากัส (บีเอ็ม)เพื่อป้องกันและกำจัดไรไข่ปลา การกระตุ้นดอกใช้แร่ธาตุกระตุ้นดอกแอบเอสฉีดพ่น อย่าปล่อยให้โรงเรือนอับ เปิดให้อากาศถ่ายเทบ้าง อย่าพยายามรดน้ำให้โดยแผลก้อนเห็ด รดเพื่อรักษา ความชื้นภายในโรงเรือนเท่านั้น เช่น ที่พื้นและผนัง ส่วนที่ก้อนเห็ดรดโชยบาง ๆ ปล่อยให้แผลหายและดอก เห็ดชุดที่สองก็จะเริ่มออกดอก เมื่อรอบหลัง ๆ ดอกเห็ดก็จะเริ่มเล็กลง ก้อนเห็ดก็เริ่มดำลง ๆ และนิ่ม เป็นอันว่าหมาด อาหารแล้วได้เวลาเอาก้อนลง (ระยะเวลาการเก็บดอกของเห็ดหูหนูประมาณ 2 เดือน) และทำความสะอาดโรงเรือน ฆ่าเชื้อตากโรงเรือน เตรียมการเอาก้อนใหม่เปิดดอกต่อไป ก้อนเห็ดเก่าสามารถใช้ทำปุ๋ยหมักได้เป็นอย่างดี
3. การดูแลรักษาก้อนเชื้อ หลังจากเปิดถุงแล้ว สิ่งที่ต้องระมัดระวังให้มากก็คือความสะอาดมิฉะนั้นแล้ว โรงเรือนอาจเป็นแหล่งสะสมของโรคและแมลงศัตรูเห็ดได้

ในการดูแลก้อนเชื้อในโรงเรือนให้ปฏิบัติดังนี้
  • ในระยะแรกของการรดน้ำ ควรรดเฉพาะที่พื้นที่โรงเรือน เพื่อช่วยให้มีความชื้นเหมาะ ต่อการออกดอกของเห็ดหูหนูเท่านั้น เพราะในระยะแรกตรงบริเวณรอยกรีด เส้นใยจะขาดต้องรอให้เส้นใยเจริญประสานกันก่อน ถ้ารดน้ำไปถูกก้อนเชื้อเห็ดจะออกดอกช้า และถ้าน้ำไม่สะอาด จะทำให้จุลินทรีย์เข้าลายรอยแผลที่กรีดให้เสียหายได้
  • การให้น้ำก้อนเชื้อ ควรใช้เครื่องฉีดน้ำชนิดเป็นฝอย ฉีดพ่นประมาณวันละ 2 ครั้ง ถ้าอากาศแห้งแล้งให้เพิ่มจำนวนครั้งขึ้นอีก จนกระทั่งเก็บผลผลิต
4. การเก็บผลผลิต อาจใช้ระยะเวลาในการเก็บประมาณ 2-3 เดือน โดยเห็ดถุงหนึ่ง ๆ ที่หนัก 1 กิโลกรัม จะให้ผลผลิตประมาณ 4-6 ขีด เห็ดหูหนูที่ออกดอกในระยะแรก หมวกดอกจะหนาและโค้งคล้ายถ้วย เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ ของเห็ดจะบางและโค้งเป็นลอน ถ้าใช้มือดึงดอกเห็ดเบา ๆ ดอกเห็ดก็จะหลุดได้ง่าย ควรเก็บเฉพาะดอกแก่ ส่วนดอกที่มีขนาดเล็กให้รอจนกว่าดอกเห็ดโตเต็มที่เสียก่อน
ปัญหาที่มักเกิดกับเห็ดหูหนู
1. ก้อนเชื้อเสียเนื่องจากมีเชื้ออื่นปะปน มักมีสาเหตุจาก
- ใช้รำละเอียดเก่าผสมขี้เลื่อย
- การนึ่งฆ่าเชื้อไม่ได้ที่ โดยเฉพาะการนึ่งแบบหม้อนึ่งลูกทุ่ง ไม่สามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้หมดและสภาพของก้อนเชื้อก็ เหมาะต่อการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์อื่น ๆ จึงทำให้เชื้อจุลินทรีย์ชนิด อื่นขึ้นปะปนกับเชื้อเห็ด
- อาหารเสริมที่เติมลงไปในขี้เลื่อย มีจำนวนมากเกินไป จึงทำให้เชื้อจุลินทรีย์อื่น ๆ เจริญได้ดีกับเชื้อเห็ด
- สำลีเก่าและเปียกชื้น
- หัวเชื้อไม่บริสุทธิ์หรือเขี่ยในห้องที่ลมไม่สงบ
2. เชื้อเห็ดที่ใส่ลงไปในก้อนเชื้อไม่เจริญ สาเหตุจาก
- หัวเชื้อไม่บริสุทธิ์หรือมีเชื้อปะปนเข้าไปในถุงก้อนเชื้อ
- ในกรณีที่ใช้การหมักขี้เลื่อยแต่ไม่สมบูรณ์ เกิดก๊าซแอมโมเนียสะสมในกองปุ๋ยหมักมาก ซึ่งจะไปชะงักการเจริญของเส้นใยเห็ด - ความชื้นในก้อนเชื้อชื้นเกินไป ทำให้ขาดออกซิเจน เส้นใยเห็ดจึงเจริญช้าแต่เชื้อแบคที่เรีย เจริญได้ดีจนเชื้อเห็ดไม่สามารถเจริญเติบโตได้
- การบ่มก้อนเชื้อใช้อุณหภูมิต่ำเกินไป หรือทุบแรงเกินไปในระยะแรกของการเจริญเติบโตทางเส้นใยจะเจริญช้ามาก
3. ก้อนเชื้อมีไรไข่ปลาลักษณะเป็นเม็ดใส ๆ คล้ายไข่ปลาสาเหตุมาจาก
- ห้องบ่มเชื้อและโรงเรือนไม่สะอาด
- ไข่ของไรอาจตกค้างอยู่ในขี้เลื่อยหรือหัวเชื้อก็ได้
ลักษณะการทำลายของไรศัตรูเห็ด ไร่ไข่ปลา จะทำลายเส้นใยเห็ดในระยะเลี้ยงเชื้อบนอาหารวุ้น ระยะหัวเชื้อและระยะบ่มเส้นใยในถุงพลาสติก โดยจะเริ่มทำลายจากปลายของขอบเส้นใยเข้าไป ทำให้เส้นใยชะงักการเจริญเติบโต ผลคือเส้นใยจะเดินไม่เต็มถุง ปกติไรชนิดนี้ไม่ค่อยระบาดในเห็ดอื่น
การป้องกันเมื่อมีการระบาดของไร
1.แนะนำ
  • ใช้สารชีวภัณฑ์ ไมโตฟากัส ผสม กับ พลายแก้วฉีดพ่น ในโรงเรือน และหลังจากกรีดถุงเปิดดอก
2.ไม่แนะนำ
  • ใช้การรมยาเส้นใยเห็ดในเวลาเลี้ยงเชื้อ ก่อนที่จะเขี่ยเชื้อลงในขวดหัวเชื้อด้วยยารมฟอสฟิน ในอัตรา 1 เม็ด รมนาน 25 ชั่วโมง ในที่รมที่มีปริมาตรขนาด 0.5 ลูกบาศ์เมตร โดยที่เส้นใยเห็ดหูหนูมีอายุ 10 วัน โดยรม 2 ครั้ง ห่างกัน 5 วัน
  • ทำการแยกหัวเชื้อใหม่โดยใช้ยาเคลเทน ประมาณ 5 พีพีเอ็ม ลงในอาหารวุ้น ส่วนในขี้เลื่อยควรผสมยาเคลเทนประมาณ 7 พีพีเอ็ม ก้อนเชื้อหลังจากที่เขี่ยเชื้อแล้ว ควรฉีดยาฆ่าไรพวกเคลเทน เซฟวิน-85 มาลาไธออน บริเวณก้อนเชื้อและจุกสำลีตลอดจนโรงเรือนทั่วไป
3.เผาทิ้งหรือทำลายถุงที่มีไรระบาดหนัก
4. เส้นใยเดินช้าหรือเดินแล้วหยุดสาเหตุเพราะ
- ขี้เลื่อยมียาง หรือมีสารพิษอื่น ๆ ปะปน เช่น ผงซักฟอก น้ำมัน คลอรีน ฯลฯ
- หัวเชื้อเสื่อมคุณภาพ - ขี้เลื่อยหรือการบรรจุถุงแน่นเกินไป ควรมีช่องว่างให้อากาศเข้าถึงช่วยในการเดินของเส้นใย
- อุณหภูมิในห้องบ่มต่ำเกินไป หรือความชื้ในถุงไม่เพียงพอ
5. ก้อนเชื้อหลังจากที่เส้นใยเดินเต็มถุงแล้ว ไม่ออกดอกหรือออกดอกช้าผลผลิตต่ำสาเหตุจาก
- เชื้อเห็ดเป็นหมันหรือเสื่อมคุณภาพ
- ความชื้นและอาหารสำหรับเชื้อเห็ดไม่เพียงพอ
6. แมลงกัดกินก้อนเชื้อมักพบเพราะ
- สภาพโรงเรือนไม่สะอาด
- เห็ดหูหนูมีสารล่อแมลงได้
- การเปิดไฟในโรงเรือนตอนกลางคืน
การป้องกัน ก่อนเปิดก้อนเชื้อให้นำก้อนเชื้อมาแช่ น้ำที่ละลายยาฆ่าแมลงที่เกาะตามถุงภายนอกและต้อง หมั่นตรวจความสะอาดภายในโรงเรือน

1. ราเมือก มักพบมากในก้อนที่เก่าใกล้หมดอายุ หรือในโรงเรือนทีสกปรก พื้นมีน้ำขัง ก้อนเชื้อจะมีลักษณะผิวหน้านิ่ม และเน่ามีสีเหลือง กลิ่นเหม็น อาจลามขึ้นมาบนดอกเห็ดเป็นลายตาข่าย สีเหลืองเหม็นคาว ทำลายดอกเห็ดให้หัก พับนิ่มเละและอาจเน่า สาเหตุที่เกิดเพราะโรงเรือนไม่สะอาดพอ มีการหมักหมมของเก่าไว้ ราเมือกที่เกิดขึ้นจะลามกินก้อนเชื้ออย่างรวดเร็ว จึงควรทิ้งก้อนเชื้อนั้นเสีย ล้างชั้นวางก้อนเชื้อให้สะอาดด้วยแอลกอฮอล์ 70% และโรยปูนขาวบนพื้นโรงเรือน ทิ้งไว้ 2 วัน จึงล้างออก
2. ราเขียว ทำให้เส้นใยหยุดชงักการเจริญ เดินไม่เต็มก้อนหรือตายไปเฉพาะส่วนนั้น เพราะราเขียวแย่งอาหารจากเห็ด มักเกิดขึ้นเพราะอากาศร้อน แก้ไขโดยเพิ่มปูนขาวลงในอาหารให้มากขึ้น
การทำเห็ดหูหนูแห้ง
1. คุณภาพของเห็ดหูหนู การที่เห็ดหูหนูจะราคาสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับคุณภาพของดอกเห็ด โดยพิจารณาจาก
- ลักษณะของดอกเห็ดควรมีดอกค่อนข้างบาง
- ดอกเห็ดควรมีขนสั้นหรือไม่มีขนเลยยิ่งดี
- สีของเอกเห็ด ควรมีสีน้ำตาลค่อนข้างดำและออกเป็นเงา
2. การปรับปรุงคุณภาพของดอกเห็ด การที่จะทำให้เห็ดหูหนูมีคุณภาพดีให้ปฏิบัติดังนี้
- การวางถุงให้ชิดกัน จะช่วยให้ดอกเห็ดที่เกิดมีลักษณะบางและให้เก็บเมื่อแก่เต็มที่
- สีของดอกเห็ดตามปกติขึ้นอยู่กับพันธุ์และความเข้มของแสง ถ้าแสงมากดอกจะมีสีเข้มถ้าแสงน้อยดอกจะสีซีด
- ขนของดอกเห็ด จะสั้นหรือยาวขึ้นกับลมและอากาศ ถ้าเห็นหูหนูถูกลมมาก และอากาศเย็นขนจะยาว ดังนั้น ถ้าจะให้ขนดอกเห็ดสั้นจะต้องระวังอย่าให้ลมโกรกมากเกินไป
เห็ดหูหนูแห้ง
3. วิธีการทำแห้ง หลังจากเก็บเห็ดมาแล้ว ตัดเศษขี้เลื่อยที่ติดมากับโคนดอกออกให้หมด ล้างน้ำให้สะอาด ถ้าดอกเห็ดมีขนมากให้แช่น้ำไว้ก่อน แล้วนำไปใส่ตะแกรงตากแดดจัด ๆ ประมาณ 2-3 แดด โดยหงายด้านหลังขึ้น จะทำให้ขนหลุดได้ง่าย
เห็ดหูหนูแห้ง
นำมาล้างทำความสะอาด
เอาไปปั่นให้สะเด็ดน้ำ (มีคนคิดใส่ในเครื่องซักผ้าปั่นแห้ง)
นำไปล้างน้ำแล้วบรรจุขายได้อีก
แหล่งที่มา : http://www.khaomak.com
ขอขอบคุณ: ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
ขอบคุณภวกรฟาร์มเห์ด