Translate

วันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2568

การเพาะเห็ดฟางสร้างรายได้จริงหรือไม่ ตอนที่ 1

เห็ดฟาง เป็นพืชเกษตรชนิดหนึ่ง ที่ให้ผลตอบแทน (Magin) สูง ไม่มีปัญหาเรื่องผลผลิตราคาตกต่ำ หรือขาดทุนจากการเพาะเลี้ยง แต่ทั้งนี้จะต้องมีความรู้ในเชิงทฤษฏี และประสบการณ์การการเพาะเลี้ยง จึงจะประสพผลสำเร็จ และ จะให้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่ามาก ขนาดสามารถสร้างฐานะทางเศรษฐกิจ ให้กับตนเองได้เป็นอย่างดี
ทำความรู้จักกับเห็ดฟางเบี้องต้น
เห็ดฟาง เป็นพืชที่เพาะเลี้ยงและสามารถให้เก็บผลผลิตได้โดยใช้ระยะเวลาสั้น คือใช้เวลาในการเพาะเลี้ยงในโรงเรือนประมาณ 15-20 วัน ก็สามารถเก็บดอกเห็ดไปจำหน่ายได้ ดอกเห็ดฟางจำหน่ายได้ราคาดี ตลาดมีความต้องการมาก อาชีพการเพาะเห็ดฟางจึงเป็นอาชีพที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรมากอย่างหนึ่ง สิ่งสำคัญประการหนึ่งสำหรับผู้เพาะเห็ดฟางคือ อัตราเติบโตของปริมาณผลการผลิตเห็ดฟาง มีอัตราต่ำกว่าการเติบโตของการบริโภค และยังมีตลาดรองรับที่แน่นอน ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ
การเพาะเลี้ยงเห็ดฟางมีหลายแบบ แต่หากคิดที่จะผลิตเห็ดเพื่อขายในเชิงพาณิชย์ จะต้องใช้วิธีการการเพาะเลี้ยงแบบโรงเรือน ทั้งนี้เพาะในช่วงหน้าฝนและหน้าหนาว สามารถผลิตเห็ดได้ดีกว่าการเพาะเลี้ยงในรูปแบบอื่น ๆ ทำให้มีรายได้สม่ำเสนอทั้งปี ยิ่งในช่วงที่ฝนตก หรือมีอากาศหนาว ราคาเห็ดฟางจะมีราคาสูงขึ้นกว่าช่วงอื่น ๆ อีกทั้งการเพาะเลี้ยงในโรงเรือน สามารถการดำเนินงานได้สะดวก รวดเร็ว ใช้พื้นที่น้อยกว่าการเพาะเห็ดฟางแบบอื่นๆ การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนนี้ก็ยังมีข้อเสียคือ มีการลงทุนในขั้นแรกที่ค่อนข้างจะสูง มีหลักวิธีการปฏิบัติและขั้นตอนการเพาะมากพอสมควร ดังนั้นผู้ที่จะทำการเพาะเห็ดฟางในเรือนจำเป็นต้องศึกษาให้ทราบ และเข้าใจเป็นอย่างดีเสียก่อน เพราะหากกระทำไม่ถูกวิธีแล้วจะทำให้เกิดความเสียหายขึ้นได้
เหตุใดเห็ดฟางจึงเป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนสูง
การเพาะเลี้ยงเห็ดฟาง ครั้งหนึ่ง ๆ จะให้ผลตอบแทนหลังหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าแรงงาน ค่าวัสดุเพาะ ค่าหัวเชื้อ ค่าเชื้อเพลิง ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ แล้ว จะมีกำไรอยู่ประมาณ 50-65 เปอร์เซ็นต์ โดยคิดราคาถั่วเฉลี่ยที่ขายได้อยู่ประมาณ 65 บาท ต่อกิโลกรัม แต่เหตุใด หรือทำไม จึงมีผู้ประสพผลสำเร็จ ได้น้อย อันเป็นเหตุให้ราคาเห็ดฟางคงที่อยู่ตลอดทั้งปี และในบางช่วงราคาอาจสูงถึง ก.ก. ละ 70 – 90 บาท ซึ่งมีเหตุผลดังต่อไปนี้
1.เห็ดฟาง เป็นพืชที่อ่อนไหวต่อการดูแลรักษาการผลิตมาก มีขั้นตอนการทำงานมาก ซึ่งถ้าหากมีการทำงานผิดพลาดในขั้นตอนต่าง ๆ เพียงขั้นตอนเดียว ก็จะมีผลต่อปริมาณของผลผลิตแล้ว
2.ผู้เพาะเลี้ยง ส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ในเชิงทฤษฏี รู้แต่วิธีและขั้นตอนการเพาะเลี้ยงที่ถูกกำหนดไว้ตายตัว ซึ่งเห็ดฟางเป็นพืชที่อ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น แสง อากาศ หากสภาพแวดล้อมเปลี่ยน ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงจะต้องปรับเปลี่ยนตามไปด้วย มิเช่นนั้นจะ ทำให้มีผลผลิตที่ต่ำลง
3.ในการเพาะเลี้ยงเห็ดฟาง จะมีปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็น (ก๊าซแอมโมเนีย) และมีปํญหาเรื่องแมลงไร ทำให้หาแรงงานได้ยาก แต่ถ้าหากขั้นตอนการทำงานถูกต้อง ปัญหานี้จะน้อยลงไปมาก
ด้วยเหตุผลทั้ง 3 ประการข้างต้น จึงทำให้ผู้เพาะเลี้ยงรายเดิมเลิกเพาะเลี้ยง หรือหยุดเพาะเลี้ยงในบางช่วงที่อากาศหนาว
ในขณะที่ผู้เพาะเลี้ยงรายใหม่ ก็ไม่มีประสบการณ์ในการเพาะเลี้ยง ทำให้ประสพปัญหาขาดทุน และเลิกเลี้ยงไปในที่สุด ซึ่งส่งผลให้อัตราการผลิตน้อยลงไปทุกที ในขณะที่การบริโภคไม่ลดลง ซึ่งทำให้ราคาผลผลิตสูงอยู่ตลอด และบางช่วงราคาสูงมาก เพื่อเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกร ยังคงต้องเพาะเลี้ยงต่อ
อย่างไรก็ดี หากเกษตรกรรายใด มีคุณสมบัติครบ คือ
1.มีความรู้ในเชิงทฤษดี ซึ่งสามารถหาอ่านได้ทั่วไป
2.มีเงินทุน เริ่มต้น 300,000 บาท พอใช้สำหรับ 5 โรงเรือน ในเวลา 4 - 5 เดือน
3.มีพื้นที่ทำงาน 1 – 2 ไร่
4.มีความอดทน และเข้าใจว่าในระหว่างหาประสบการณ์ ประมาณ 10 – 20 ครั้ง การผลิต หรือ ประมาณ 3 – 6 เดือน จะต้องขาดทุนค่าแรงงาน
5.มีแหล่งหาความรู้ในการทำงานเพาะเลี้ยง หรือสอบถามปัญหา
6.ไม่มีปัญหาเรื่องแรงงาน
7.เป็นคนมีวินัยในการทำงาน และเป็นคนทำงานจริงจัง
คุณก็สามารถจะสร้างรายได้ ขั้นต่ำเดือนละ 2-30,000 บาท ได้อย่างสบาย ๆ ไม่ยาก และถ้าสามารถขยายงานออกไปได้ สามารถทำการตลาดเองได้ คุณก็สามารถที่จะเป็นผู้ที่ไม่มีความเดือดร้อน ในเรื่องการเงิน
ปัญหาและอุปสรรคในการเพาะเลี้ยง
จากที่กล่าวมาข้างต้น เกษตรที่คิดจะเป็นผู้เพาะเลี้ยงเห็ดฟางรายใหม่ อาจจะพอเห็นปัญหาและอุปสรรคในการเพาะเลี้ยงบางแล้ว แต่อะไรก็ตามที่ปัญหามาก ผลตอบแทนก็สูงตามปัญหาและอุปสรรค ซึ่งต้องยอมรับว่าผลตอบแทนที่สูง เป็นแรงจูงใจที่ดี อีกอย่างหนึ่ง ถ้าคุณมีความมุ่งมั่นและตั้งใจจริงที่จะสร้างอนาคต ไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคใดที่แก้ไขไม่ได้ ดังนั้นถ้าคุณผ่านอุปสรรคต่าง ๆ ไปได้ คุณก็จะเป็นผู้ประสพผลสำเร็จได้ในอนาคต
จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของผม และคิดว่าผู้เพาะเลี้ยงรายใหม่จะต้องเจอมีดังนี้
1.วิธีการเพาะเลี้ยงและขั้นตอนการเพาะเลี้ยง ส่วนใหญ่จะได้รับการอบรมเป็นขั้นตอนที่ตายตัว แต่ถ้าสิ่งแวดล้อมเปลี่ยน ทำให้มีปัญหาตามมาหลากหลาย และถ้าไม่มีความรู้ในเชิงทฤษฏี ก็จะไม่เข้าใจเหตุผล ทำให้ปัญหาเดิม ๆ เกิดขึ้นโดยไม่ได้แก้ไข
2.ในภาคทฤษฏี มีการทดลองในเชิงภาคปฏิบัติมามากแล้ว ไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องทำการทดลองลองถูกลองผิดอีก เพราะจะทำให้เกิดผลเสียหายเพิ่มขึ้น
3.ในการเริ่มต้นหาประสพการณ์ทำงานจริง จะเกิดปัญหาขึ้นมาก และเป็นอะไรที่คาดไม่ถึง อันเนื่องจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือคิดไปเองว่าเป็นเช่นนั้น แต่พอทำงานจริง จึงเห็นปัญหาแล้วจึงเข้าใจว่าไม่ใช่ เช่น ตอนผมไปดูการเพาะเลี้ยงตามที่ต่าง ๆ จะไม่มีผู้อบรมรายใด ให้ความสำคัญในเรื่องเตาที่ใช้ในการอบไอน้ำ ทั้งนี้เพราะมันไม่ใช่ขั้นตอนการเพาะเลี้ยง แต่การสร้างเตา ถ้าผิดไปจะทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงสูงมาก หรือไม่ถ้าไม่สามารถทำความร้อนได้พอ ก็จะทำให้ผลผลิตเสียหาย ผมไปมอง ๆ ดูว่าเตาเขาทำอย่างไร คิดว่าง่ายและไม่มีอะไร แต่จริงๆ แล้วเตาเป็นหัวใจของการเพาะเลี้ยงเห็ดอย่างหนึ่งเลย ถ้าไม่ถูกต้องก็ไม่มีโอกาสสำเร็จ
4.ในระหว่างหาประสบการณ์ ผลผลิตที่ได้จะน้อย ทำให้หาแหล่งขายได้ยาก แต่ถ้าคุณทำงานเข้าที่แล้ว มีผลผลิตที่มากพอ แน่นอนและสม่ำเสมอ คุณก็จะไม่มีปัญหาเรื่องการขายผลผลิต ตรงกันข้ามจะมีผู้คำประกันราคารับซื้อให้คุณเลยละ และยังมารับซื้อถึงที่อีกด้วย
ข้อดีของการเพาะเลี้ยง
อ่าน ๆ ผ่านมา หลายคนคงไม่คิดที่จะทำการเพาะเลี้ยงแล้ว มีแต่ปัญหาและอุปสรรคมากมาย ไม่น่าจะดี แต่จริงแล้ว การเพาะเลี้ยงเห็ดฟาง เป็นพืชตัวหนึ่งในไม่กี่ชนิด ที่มีแรงจูงใจที่ดีคือ
1.ไม่มีปัญหาในเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ ไม่ว่าเศรษฐกิจจะตกต่ำอย่างไร เห็ดของคุณก็ยังคงขายดี เห็ดฟางราคาสูงเท่าไร ก็ยังคงมีผู้จำเป็นต้องใช้เป็นวัตถุดิบในร้านอาหาร ไม่ต้องกลัวขายผลผลิตไม่ได้
2.ถ้าคุณมีผลผลิตสม่ำเสมอ คุณจะได้ราคาขายที่ตายตัว ผู้ซื้อบางรายรับประกันราคาขั้นต่ำให้คุณทั้งปีได้เลย ซึ่งถ้าคุณผ่านปัญหาไปได้ คุณจะมีรายได้เป็นที่แน่นอน สม่ำเสมอตามผลผลิตของคุณ และในช่วงที่เห็ดราคาสูง (บางครั้ง ก.ก 90-100 บาท จากปกติ 55-60 บาท) ถ้าคุณมีความรู้ในการเพาะเลี้ยงเพียงพอ คุณจะยิ่งมีรายได้สูงขึ้นไปอีก
3.หากคุณมีอาชีพเป็นช่างทำผม สมมุติคุณมีรายได้เดือนละ 10,000 บาท หากคุณต้องการเพิ่มรายได้เป็น 20,000 บาท บนอาชีพเดิมทำไม่ได้ แต่เห็ดฟาง ถ้าคุณทำเพิ่มได้เท่าไร ขยายกำลังการผลิตได้เท่าไร มีคนรับซื้อครับ รับไม่จำกัดจำนวนด้วย เพียงมีเงื่อนไขเดียวให้คุณ คือคุณต้องทำให้ได้ปริมาณสม่ำเสมอ
4.หากคุณมีความรู้และประสบการณ์เพียงพอ อาชีพเพาะเห็ดฟาง จะเป็นอาชีพหนึ่ง ที่คุณไม่มีโอกาสขาดทุน ไม่ว่าจะมีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น
หากคุณคิดว่าข้อดีในการเพาะเลี้ยงเห็ดฟางทั้งหลายนี้ เป็นแรงจูงใจที่ดีที่จะทำให้คุณฟันฝ่าอุปสรรคและปัญหาต่างๆ ได้ มันก็จะมีผลทำให้คุณมีฐานะที่มั่นคงในอนาคตได้ และผมก็ยังขอยืนยันคำเดิม ให้คุณมั่นใจได้เลยว่าคุณจะเป็นผู้ที่ไม่มีความเดือดร้อน ในเรื่องการเงิน

ความรู้ทางทฤษฏี
โดยความเข้าใจของคนทั่วไป มักจะเข้าใจวิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดฟาง เป็นความรู้ทางทฤษฏี จริง ๆ แล้วเป็นเพียงขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการเพาะเลี้ยงเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ในการอบไอน้ำวัสดุเพาะเห็ด บางตำราให้อบไอน้ำที่อุณหภูมิ 60 องศา เป็นเวลา 4-6 ช.ม บางทีให้อบที่อุณหภูมิ 65 องศา เป็นเวลา 4-5 ช.ม บางทีให้อบที่อุณหภูมิ 70 องศา เป็นเวลา 2-4 ช.ม ถามว่าแล้วอันไหนถูก อันไหนผิด ตอบว่าถูกทั้งหมดครับ
ในการเพาะเลี้ยงเห็ดจะต้องมีการหมักวัสดุเพาะ อุณหภูมิของอากาศ ความชื้นของกองวัสดุเพาะ ความสูงของการกองวัสดุเพาะ ความหนาของการกองวัสดุเพาะ ประเภทของวัสดุที่ใช้เป็นวัสดุเพาะ มีผลต่ออุณหภูมิของกองวัสดุเพาะ หากคุณกองวัสดุเพาะและวัดอุณหภูมิได้เท่าใด คุณต้องอบไอน้ำให้ได้เท่านั้น บวกกับ 10 องศา เพื่อให้ราที่เกิดในวัสดุเพาะอ่อนแอลงเป็นอาหารให้กับเห็ดฟาง หากคุณอบไอน้ำน้อยกว่า 10 องศามาก ๆ จะทำให้ราเหล่านี้ยังแข็งแรงและจะกินเชื้อเห็ดฟางเป็นอาหาร หากคุณอบไอน้ำมากกว่า 10 องศามาก ๆ จะทำให้ราอาหารเห็ดอ่อนแอจนเกินไป ไม่สามารถจะแพร่ขยายต่อไปจะทำให้เห็ดฟางที่จะเก็บในรอบที่ 2 หรือ รอบที่ 3 มีขนาดดอกเล็กและน้อยลง เพราะขาดอาหาร
ส่วนระยะเวลาในการอบไอน้ำ ถ้าคุณวางแผนจะเก็บดอกเห็ดแค่รอบแรกแล้วรื้อทิ้งทำใหม่ คุณก็อบแค่ 2-3 ช.ม. ก็พอ หากคุณคิดจะเก็บรอบสองหรือสามด้วย ก็ต้องอบไอน้ำให้นานขึ้นไม่เช่นนั้น เห็ดอื่นจะขึ้นงามกว่าเห็ดฟางในการเก็บเห็ดรอบหลัง ๆ
เหล่านี้เป็นความรู้ทางทฤษฏีที่คุณต้องรู้ ไม่เช่นนั้น คุณก็จะเพาะเห็ดได้มากบางน้อยบาง ขึ้นอยู่กับ อุณหภูมิของอากาศ ความชื้น ความสูงและความหนาของกองวัสดุเพาะ จำนวนวันในการหมักวัสดุเพาะ ของแต่ละครั้ง ทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่สม่ำเสมอ
พูดแบบนี้เกษตรกรบางท่านคงพอจะเข้าใจได้ว่า ทำไมบางคนจึงทำแบบเดียวกับเราแล้วได้ผลผลิตที่ดี แต่ทำไมเราทำแบบเดียวกับเขาไม่ได้ผลเหมือนกัน
ในการอบรมการเพาะเลี้ยงหรือคำแนะนำขั้นตอนปฏิบัติการเพาะเลี้ยง ไม่มีผู้ใดให้รายละเอียดเหล่านี้ เพราะจะทำให้ดูยุ่งยาก และเสียเวลาในการอบรม ทำให้เกษตรกรดูยากไม่อยากเพาะเลี้ยง
ที่กล่าวนี้เป็นเพียงรายละเอียดเกี่ยวกับอุณหภูมิและระยะเวลาในการอบไอน้ำเท่านั้นนะครับ จริงแล้วในแต่ละขั้นตอนการปฏิบัติทุกขั้นตอนมีเหตุผลของการปฏิบัติอยู่ ถ้าคุณรู้เหตุผลมันก็ไม่มีอะไรเป็นปัญหาให้คุณ แต่ถ้าคุณไม่รู้ ปัญหาของคุณก็ยังวนเวียนเกิดขึ้นเรื่อย ๆ โดยไม่ได้แก้ไข

 2/4/68


 ช่องระบายอากาศ

ไม่ได้เข้ามานานมาก เห็นมีคนเข้ามาสนใจอ่านการเพาะเห็ดฟางเป็นจำนวนมากเลยเข้ามาเขียน Blog เพิ่มเผื่อมีรายได้เข้ามา 555

วันนี้ขอเสนอเรื่อง ช่องระบายอากาศศศศศศศ


เรื่องอากาศในการเพาะเห็ดฟางเป็นเรื่องสำคัญ สามารถชี้วัดอัตราการเกิด ปริมาณการรอดของเห็ดได้ หลังจากที่ทำการตัดใยแล้ว ทุกคนรู้ดีว่าต้องเปิดให้อากาศ ใน Blog นี้เพื่อใชhออกแบบ ขนาดและความสูงต่ำช่องระบายเพื่อที่เห็ดจะได้รับประโยชน์มากที่สุด และสูญเสียประโยชน์น้อยที่สุด สามอย่างที่ผู้เพาะเห็ดควรจดจำเกี่ยวกับอากาศคือ
1.
ความชื้นจะออกไปพร้อมกับอากาศเสมอ
2.
ในโรงเรือน ออกซิเจนจะมีมากด้านลล่าง และคาร์บอนไดออกไซด์มีมากข้างบน
3.
เห็ดดอกเล็กและเห็ดดอกใหญ่ต้องการอากาศมากน้อยต่างกัน

หลังจากนี้จะขออธิบายเรื่องช่องระบายคร่าวๆ ครับ การออกแบบช่องระบายอากาศที่ดี ควรจะมี 3 ระดับคือ

ระดับที่ 1 ล่างสุด สำหรับอากาศเข้า จะอยู่บริเวณ ต่ำกว่าชั้นเพาะล่างสุดนิดนึง เพื่อให้อากาศเข้า และป้องกันเห็ดคล้ำเวลาลมพัด เราจะใช้รูระบายนี้เมื่อต้องการเพิ่มออกซิเจนในโรงเรือน เช่นเมื่อเห็ดเป็นขน หรือหลังตัดใย เมื่อ ออกซิเจนเพียงพอแล้ว ควรจะปิดหรืองดใช้ช่องนี้เพราะ เป็นช่องที่จะพาความชื้นออกไปมากทำให้หน้าชั้นแห้ง เราจะเปลี่ยนไปใช้ระดับสองแทน
*
ไม่ควรเปิดหรือทำช่องระบายติดพื้น เพราะจะทำให้เชื้อโรคจากดินเข้าไปง่าย รวมทั้ง งู หนู แมลง จะเข้าไป

ระดับที่ 2. จะทำบริเวณ ชั้นบนสุดของชั้นเพาะ เป็นช่องที่ใช้ระบายอากาศ ออก และให้อากาศเข้าได้ ไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไป. เราจะใช้ช่องระบายนนี้เมื่อ ต้องการระบายอากาศน้อยๆคือหลังจากเห็ดจับเม็ด แล้วโดยเริ่มเปิดจากน้อยไปหามาก ตามการเติบโตของเห็ดจากเล็กไปหาไหญ่ เมื่อเริ่มใช้ช่องระบายระดับนี้ ควรจะเริ่มปิดช่องระบายด้านล่าง หรือเปิดเป็นครั้งคราว ข้อดีของช่องระบายระดับนี้คือ คุมไม่ให้วัสดุสูญเสียความร้อน และความชื้นเร็ว

ระดับที่3. บริเวณ จุดสูงสุดของโรง ได้แก่ หลังคา หรือจั่ว ถ้าโรงเรือนเราใช้แสลนคลุมไม่ควรทำรูระบายบนหลังคาเพื่อป้องกันฝน แต่ให้ทำหน้าจั่วแทน แต่ขนาดรูตัองใหญ่พอ หรือจะติดพัดลมดูดอากาศแทนก้อได้ แต่ต้องออกแบบแยกจากกันไม่ให้มีปัญหาตอนอบไอน้ำ การติดพัดลมช่วยได้เยอะ โดยใช้ร่วมกับช่องระบายระดับ1 และ2 เราจะได้ไม่ต้องเจาะรูระบายเยอะ เห็นบางคนเจาะซะพรุน 
รูบนสุดนี้ใช้สำหรับระบายอากาศเสีย เราจะเปิดช่องนี้ตั้งแต่ตัดใยจนถึงเก็บหมดรุ่น 
.......
จบแค่นี้ครับ

วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2560

แทนนิน

แทนนิน
ช่วงหน้าฝนแบบนี้ผลไม้ต่างมากมายมีมาขายตามท้องตลาด วันนี้ผมจะพามารู้จักสารสกัดจากเปลือกของผลไม้ ที่ส่วนมากกินเสร็จก็ทิ้งไม่เกิดประโยชน์ สารที่ทีในเปลือกของผลไม้ที่มีรสฝาดมีอยู่ตัวนึงที่ค่อนข้างมีประโยชน์ในการต่อต้านและป้องกันการเกิดของเชื้อราต่างๆได้ เรียกว่า แทนนิน สารแทนนินกำจัดและยับยั้งเชื้อราในการเพาะเห็ด สารแทนนินมีมากในผลไม้ชนิดต่างๆเปลือกไม้รสฝาด ใบของพืชบางชนิดเช่น เปลือกมังคุด เปลือกเงาะ ใบฝรั่ง เปลือกของเม็ดบัว ใบชา สารแทนนินที่ผ่านการสกัดสามารถยับยั้งการเติบโตของเชื้อรา ที่ส่งผลต่อเห็ดเช่น ราดำ ราส้ม ราเขียว รากระหล่ำ และราอื่นๆ แนะนำใช้ในการป้องกันคือใช้ในขั้นตอนอบไอน้ำ โรยเชื้อ ตัดใย
วิธีสกัดเพื่อนำมาใช้ นำมาตากให้แห้งแล้วนำมาต้มกับน้ำเปล่า สัดส่วน 1 กก/น้ำเปล่า 2 ลิตร ต้มที่ความร้อน จะใช้เวลา 2 ชั่วโมงหรือจนนำลดลงครึ่งหนึ่งสามารถนำไปใช้ได้ น้ำที่ได้จะมีลักษณะสีเหลือง **ควรใช้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังต้มเสร็จ สารแทนนินไม่ส่งผลต่อใยเห็ดสามารถใช้ผสมน้ำฉีดที่วัสดุเพาะได้ในช่วง 1.อบไอน้ำ ผสมน้ำที่ใช้อบไอน้ำ อัตราส่วน 1:5 2.ฉีดช่วงโรยเชื้อและตัดใยอัตราส่วน 1:10 3.เมื่อเจอเชื้อรา อัตราส่วน 1:1 (บางชนิด)

light

24-06-2017 #แสง
. เป็นหนึ่งสิ่งที่จะว่าสำคัญก็ได้หรือไม่สำคัญเลยก็ไม่ผิด อยู่ที่ความเข้าใจ แสงเป็นตัวช่วยที่ทำงานพร้อมกับออกซิเจนให้เห็ดจับดอก มีแค่แสงไม่มีออกซิเจนเห็ดจับเม็ดไม่ได้ มีออกซิเจนไม่มีแสงเห็ดจับเม็ดได้ แต่ถ้ามีทั้งแสงทั้งออกซิเจนเห็ดจะจับเม็ดได้ดีกว่าเพราะดึงเอาอากาศได้มากและเร็วกว่า โดยบางสถานะการณ์เราจะให้แสงพร้อมกับอากาศหลังจากที่ตัดใยแล้วเพื่อบังคับให้เห็ดจับเม็ด แสงที่ใช้กระตุ้นดอกใช้ได้ทั้งแสงสว่างธรรมชาติและแสงจากหลอดไฟ การให้แสงควรให้ในปริมาณที่พอดีมีความเข้มที่เหมาะสม ถ้ามากเกินไป จะทำให้เห็ดดำไม่สวย หากน้อยไปเห็ดจะจับเม็ดช้า. แสงที่พอดีควรประมาณแสงที่เราอ่านหนังสือได้ จะเป็นแสงสีฟ้า สีขาว หรือเหลือง ก้อได้ กรณีใช้หลอดไฟ ควรหลีกเลี่ยงหลอดใส้ที่มีความร้อน และใช้หลอด แอล อี ดี แทน
แสงนั้นแม้จะไม่มีความสำคัญมาก.แต่ถ้าเข้าใจเรื่องแสงแล้ว เราจะสามารถบังคับให้เห็ดเกิดได้ไม่ยาก เป็นเสมือนเบี้ยตัวหนึ่งในเกมส์กระดาน ที่จะพาเราชนะหากเดินถูกวิธี ซึ่งในการเพาะแบบโรงเรือนนั้นสามารถชี้ถึงเปอรเซนต์การเกิดและความสำเร็จในการเพาะแต่ละรุ่นได้เลย
แล้วถ้าไม่มีแสงเห็ดจะสามรถเกิดและโตได้ไหม คำตอบคือเกิดและโตได้ปกติ เพราะตัวที่จะทำให้เห็ดจับเม็ดจริงๆนั่นคือออกซิเจน หากรู้วิธีป้อนออกซิเจนให้เห็ดทั่วถึงเราจะไม่ใช้แสงมาช่วยก็ได้ เห็ดฟางก็เหมือนกับคนเหมือนสัตว์ที่มีสัญชาติญาณการเอาตัวรอด สัญชาติญาณการสืบพันธ์ุ การเพาะเห็ดฟางตะกร้า กองเตี้ย หรือโรงเรือน ก็คือการจำลองสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับความต้องการ ของเห็ด สมัยปู่ย่าตายายเมื่อก่อนกว่าจะได้เห็ดฟางมากินนี่ก็ยุ่งยาก ไม่มีเชื้อเห็ดเหมือนทุกวันนี้ จะกินทีต้องใช้เวลาเป็นเดือน อาจจะออกหรือไม่ออกก็ได้ ตอนเด็กๆ อยู่ท้องนา พ่อจะเอาฟางมากอง เอาขี้วัวใส่หน่อยแล้วก็รดน้ำทุกวัน ครบอาทิตย์ ก็โกยเอาด้านล่างขึ้นมา ไม่นานก็จะมีเห็ดฟางให้เก็บ จะว่าไปมันก็คงคล้ายทุกวันนี้ที่เราเพาะเห็ด ที่ต้องมีการให้อาหาร มีอากาศ มีอุณหภูมิ มีความชื้นที่เหมาะสม นอกจากนั้นเรายังสามารถบังคับให้เห็ดออกดอก ให้เห็ดเดินใย ให้เห็ดสะสมอาหาร ปัจจัยหลักๆก็เป็นแค่พื้นฐาน มีแค่ อาหาร อากาศ ความชื้น อุณหภูมิ วนเวียนกันอยู่แบบนี้ คนที่เข้าใจพื้นฐานเหล่านี้แล้วสามารถลดค่าใช้จ่ายได้เยอะ ใช้ในสิ่งที่ควรใช้ ไม่จำเป็นต้องมีฮอร์โมน ไม่จำเป็นต้องใช้อาหารเสริม ไม่จำเป็นต้องมีเตาอบสตรีมแพงๆ ไม่จำเป็นต้องมีตัวควบคุมอุณภูมิหรูๆ เขาก็ยังเพาะเห็ดออกมาได้จริงไหม..



สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการตัดใยเห็ด

นำเสนอเรื่องนี้เพราะหลายคนเจอปัญหาเส้นใยเคลือบหน้าวัสดุ อยากชี้ชัดให้เข้าใจเกี่ยวกับการตัดใยที่ถูกต้อง. การตัดใยไม่ใช่แค่ฉีดน้ำ ใส่เส้นใยก็เสร็จ การตัดใยไม่ใช่การเพิ่มความชื้นเพราะถึงไม่ฉีดน้ำใส่ก็ตัดใยได้ การตัดใยจึงแบ่งเป็นสองแบบตามสภาพแวดล้อมและลักษณะของเส้นใย คือตัดแบบใช้น้ำ และตัดโดยอากาศ ไม่ใช่เราจะตัดโดยใช้น้ำได้อย่างเดียวเพราะนั่นคือคุณจะเข้าใจผิดตลอดไปนะครับ. การตัดใยที่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ที่ถูกคือทำยังไงก็ได้ให #้เส้นใยได้รับออกซิเจนมากที่สุด หากทำการตัดใยด้วยน้ำต้องตัดให้เส้นใยขาดจากกัน ไม่ใช่แค่ยุบ บางท่านอาจจะสงสัยทำไมต้องขาด แล้วแบบไหนเรียกว่าขาด ที่ต้องให้ขาดเพราะการตัดใยโดยใช้น้ำนั้นจะทำเมื่อเส้นใยเดินนอกวัสดุเพาะ แล้วมันจะฟูมาก ถ้าเราพ่นแต่ผ่านๆ เส้นใยจะแค่ยุบตัว แล้วจะมีปัญหาตามมาทีหลังคือ ใยเคลือบวัสดุหรือที่เรียกว่าหนังหมู มันจะแข็งแล้วเห็ดรุ่นต่อมาจะขึ้นได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็นเพราะใยเก่าจะปิดกั้นอากาศไว้ เราจึงต้องใช้น้ำที่มีความแรง ไม่ต้องกลัวว่าน้ำแรงมากเชื้อที่โรยจะหล่นแล้วเห็ดจะไม่ขึ้น เพราะเมื่อมีเส้นใยเกิดส่วนหนึ่งก็จะอยู่ในวัสดุแล้ว ดังนั้นตัดแรงๆไปเลย จนมองไม่เห็นเส้นใยนั่นแหละ และการที่จะตัดเส้นใยให้ดีไม่มีปัญหาทีหลังนั้นเราต้องย้อนไปถึง
1.ขั้นตอนโรยเชื้อ. หลังโรยเชื้อแล้วพยายามฉีดน้ำใส่เชื้อเห็ดให้ยุบติด วัสดุมากที่สุดเพื่อให้เส้นใยเดินในวัสดุ ไม่ให้มันฟูมากเกินไป ถ้าฟูมากมันตัดใยไม่ค่อยขาด เราเพาะเห็ดเพื่อให้ได้เห็ดที่สมบูรณ์ แข็งแรง เราไม่ได้เพาะเห็ดเพื่อโชว์ว่าใยเยอะ. เส้นใยบอกอะไรเราได้หลายอย่าง เพราะใยเยอะฟูมากหมายถึง มันหาอาหารไม่ได้ แม้อาหารจะมีเพียบก็ตาม บางคนชอบใยเยอะ ใยเยอะเห็ดจับเม็ดเยอะแต่แป้บเดียวมันก็บานครับ แถมลูกจะเล็กด้วย
ผมจึงอยากให้รดน้ำหลังจากโรยเชื้อไปแล้วเพื่อให้ใยมันติดวัสดุมันจะได้หาอาหารง่ายๆ เวลาตัดใยก็ง่าย เห็ดก็ออกสวยไม่เป็นกลุ่มไม่เป็นใข่ตุ๊กแก ไม่เป็นพวงองุ่น ตัดตูดก็ง่าย ชีวิตดี้ดี...
2.การตัดเส้นใย. ควรใช้ปั้มที่แรงดันสูงนิดนึงเพื่อที่เส้นใยจะได้ขาดจากกัน ถ้าเกิดตัดไม่ดี จะมีใยเหลือ แล้วใยจะเดินต่อ พอเราเห็นใยฟูส่วนมากจะเปิดอากาศ วิธีนี้จะทำให้เส้นใยแข็ง และเคลือบหน้าวัสดุ แก้ไม่ได้นะครับ ถ้าเจอปัญหาแบบนี้ ขั้นแรกให้ตรวจดูว่ามีเห็ดจับเม็ดมากไหม ถ้าไม่มาก เราต้องตัดสินใจ เลือกส่วนมากไว้ก่อน คือปิดโรงให้เส้นใยนิ่มแล้วตัดใยไหม่อีกที วิธีที่จะทำให้เห็ดที่เกิดแล้วรอดคือตัดในช่วงที่อุณหภูมิต่ำที่สุด เป็นช่วงกลางคืนดีที่สุด หลังตัดต้องระบายความชื้นออก คือเปิดให้อากาศถ่ายเทจนถึงเช้า
เมื่อเราตัดใยเสร็จแล้วเราต้องระบายอากาศเดิมที่อยู่ในโรงทิ้งเสียก่อน หากไม่ทำเห็ดจะเกิดเฉพาะจุด เช่น เกิดแค่ข้างชั้น เกิดแค่ด้านบน เกิดแค่ด้านล่าง เกิดเป็นจุดๆไม่สม่ำเสมอ หรือยังมีใยขึ้นเห็ดไม่ยอมจับเม็ด แบบนี้คือยังมีคาร์บอนไดออกไซด์อยู่มาก เราจึงต้องเอาอากาศไหม่เข้าไป ทำได้โดยเปิดโรงหน้าหลังให้อากาศถ่ายเทในช่วงที่เราตัดใย หรือพ่นฝอยไล่อากาศเอาจากนั้นค่อยปิดโรง และเปิดช่องระบายอากาศเพื่อให้อากาศมีการหมุนเวียนตลอดประมาณสองสามวันเห็ดจะจับเม็ด เมื่อจับเม็ดแล้วจึงลดระดับการใช้ช่องระบาย เพื่อที่วัสดุจะได้ไม่แห้ง จากนั้นปรับตามขนรอบดอก เรีียกใยรอบดอกจะน่ารักกว่านะ.... วิธีปรับปรับไม่ยาก ใยรอบดอกเยอะให้เพิ่มช่องระบาย ไม่มีใยเลยให้ลดจำนวนช่องระบาย เห็ดที่จะสวยสมบูรณ์ต้องมีใยรอบดอกแบบรำไรๆ
จะให้ดีที่สุดคือต้องละเอียดทุกขั้นตอนเราจะได้ไม่ต้องมาแก้ทีหลังครับ เพราะเกิดปัญหาแล้วแก้ยากจริงๆ เทคนิคการตัดในมีหลากหลาย นี่เป็นเพียงแนวทางเท่านั่น เมื่อเราเพาะไปนานๆเราก็จะพลิกแพลงได้เป็นสูตรของเราเอง
บทความจากกลุ่มย่อย เพาะเห็ดฟางอย่างมืออาชีพ by หัวหน้าชม รมคนแอบมัก

เพาะเห็ดในฤดูร้อน

          เข้าสู่หน้าร้อนกันแล้วนะพี่น้องชาวเห็ดฟางมืออาชีพ ช่วงนี้เป็นช่วงที่ต้องบอกว่าเห็ดออกดีที่สุด ได้เยอะเก็บกันจนขี้เกียจเลยทีเดียว แต่อย่าเผลอเชียวเพราะกำไรคุณอาจจะบานได้ อิอิ ....
ฤดูร้อนนี่เป็นฤดูกอบโกย แต่ก็เป็นฤดูที่ควบคุมเรื่องอากาศความชื้นสัมพัทได้ยาก บางครั้งเราตื่นไม่ทันเก็บเห็ด ยังไม่ทันตี5 ก็บานกันแล้ว นอกจากนั้นปัญหาจากเชื้อราและวัชเห็ดก็ใช่ว่าจะลดน้อยลง มันก็แอบมาตีท้ายครัว เอ้ย...ท้ายโรง ให้เราเจ็บช้ำได้เหมือนกัน ราที่ชอบความร้อนแบบนี้ได้แก่ราคี เอ้ย..ราคา..เอ้ย...ราขาว..เอ้ย...ถูกแล้ว อย่าว่ากันชงเองกินเอง 55+. ต่อๆ นอกจากราขาวแล้วราเม็ดผักกาด ราส้ม ก็มาด้วย วัชเห็ดอย่าง เห็ดโคนน้อย เห็ดขี้ม้า หรือแม้แต่เห็ดผักชี ก็สามารถเกิดได้ สาเหตุก็เพราะว่า เรารดน้ำบ่อยกว่าฤดูปกตินั่นเอง เอาละเรามาดูสิว่าเราจะเตรียมรับมือกับฤดูร้อนที่กำลังมาถึงได้อย่างไร
#เตรียมเชื้อเห็ดให้ตรงกับฤดูกาล หลายคนเริ่มสงสัย อธิบายอย่างนี้ครับ เชื้อเห็ดที่เขาขายกันในท้องตลาดมี 3 สายพันธุ์ พูดแบบบ้านๆคือ เบา-กลาง-หนัก ซึ่งแต่ละสายพันธ์ุมีข้อดีและข้อด้อยในตัวของเขาเอง แล้วหน้าร้อนแบบนี้ควรใช้เชื้อแบบไหน ถ้าเรายังไม่เก่งเรื่องการควบคุมอากาศ การไล่อากาศ และความชื้นขอแนะนำให้ใช้เชื้อพันธ์ุหนัก เป็นหลัก ข้อดีและข้อเสียของเชื้อสายพันธุ์หนักก็คือ โตช้า เปลือกหนา มีน้ำหนัก ออกไม่เยอะ แต่ทนต่อสภาพแวดล้อม เมื่อเราเอามาใช้ในฤดูร้อน มันจะพอดี เพราะความร้อนจะเป็นตัวเร่งให้เห็ดโตเร็วขึ้นจากที่มันโตช้า มันจะโตแบบพอดี ไม่ช้าและเร็วเกินไป ปกติทั่วไปเห็ดจะใช้เวลาตั้งแต่จับเม็ดถึงเก็บ ประมาณ 4 วันครับ เป็นเวลาที่เหมาะสม
#เตรียมโรงเรือนใหม่ ปัญหาเกี่ยวกับโรงเรือนที่ได้รับผลกระทบมากในฤดูร้อนคือ โรงเรือนที่ทำจากผ้าใบล้วน หลังคาเป็นผ้าแสลน เพราะความร้อนที่สูงมากเกินไปมักจะทำให้ผู้เพาะประสบปัญหาเห็ดยืด หัวสูง และบานก่อนกำหนด แต่เราสามารถแก้ปัญหานี้ได้ง่ายๆครับ. คือ
1.ยกแสลนให้สูงกว่าเดิม เพราะแสลนสีดำจะดูดความร้อน เป็นความร้อนสะสมไปถึงโรงเรือน ส่งผลต่อเห็ด จะให้ดีต้องยกให้ห่างจากผ้าใบครับ ยิ่งสูงก็จะยิ่งช่วยลดความร้อนและระบายอากาศได้ดี
2.ช่องระบายอากาศ ไม่ควรมีมากเกินไป ยิ่งช่องระบายมีเยอะความร้อนจะยิ่งเยอะตาม การเปิดช่องระบายอากาศในช่วงฤดูร้อนมากไปจะทำให้ความชื้นหาย ช่วงนี้จึงควรลดช่องระบาย แล้วใช้เทคนิคการระบายอากาศเข้าช่วย (อ่านเพิ่มเติมในโพสเก่าเรื่อง ช่องระบายอากาศ 3 ระดับ)
#การระบายความร้อน. วิธีการระบายความร้อนในช่วงที่อุณหภูมิร้อนสุดๆแบบนี้ วิธีลดอุณหภูมิที่ง่ายที่สุดคือการรดน้ำหรือพ่นฝอย. แต่ไม่ใช่ว่าปุบปั๊บ จะไปรดเลยไม่ได้เดี๋ยวได้เก็บเห็ดบานยกโรงพอดี การรดน้ำในหน้าร้อนแบบนี้ต้องอิงหลักวิทยาศาสตร์กันสักหน่อย ..ใหนใครรู้จักความกดอากาศบ้าง ?? ...จักแหล่ว อิหยังน้อกดอากาศ. เคยแต่กดอย่างอื่น ..ฮี้ววว...^ ^". หยุดครับ. เข้ากูเกิ้ลแล้วพิมพ์ว่าความกดอากาศ. แล้วมาอ่านต่อ
.
.
.
.
เชื่อเถอะไม่มีใครพิมพ์หรอก ที่นั่งอ่านยิ้มๆนี่ก้อไม่ทำ ่ใช่ไหมละ. แต่ไม่เป็นไรผมอธิบายคร่าวๆ ตามนี้คือ ความร้อนจะวิ่งไปหาหรือแทนที่ความเย็น เราใช้หลักการนี้ เพื่อเพิ่มหรือลดความร้อนในโรงเรือนได้ ตั้งแต่1-5 องศาเซลเซียส อาจมากกว่านี้ขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างความร้อนในโรงและนอกโรง. ด้วยเหตุผลนี้เราจึงรดน้ำในโรงเรือนได้ในช่วงที่อุณหภูมิภายนอกต่ำ เช่นเช้าหรือเย็น. และรดด้านนอกโรงเรือนได้ในช่วงกลางวัน และอากาศร้อนจัด. การรดน้ำในโรงช่วงกลางวันหรือช่วงที่อากาศร้อนมากๆจึงเป็นความคิดที่ผิด เพราะความร้อนจากด้านนอกจะเข้าแทนที่ความเย็นในโรง ทำให้โรงร้อนยิ่งขึ้น ใน 1 ชม.หลังจากรดน้ำเห็ดคุณจะยืดและบานครับ แก้ใขไม่ได้นะครับ
น่าจะมีคำถามนี้นะ. ติดสปริงเกอร์ได้ไหม ตอบครับ. ได้ ถ้าทุนเยอะ
#วัสดุเพาะลดต้นทุน. เห็นใจพี่ๆน้องที่ใช้ทลายปาล์มครับ ช่วงนี้ทลายขาดตลาด บางที่ก้อแสนจะแพง ค่าขนส่งก้อแรง. ได้แต่ทัมใจ กับปวดหาย โอกาสคุณมาถึงแล้วครับ เพราะฤดูร้อนเป็นฤดูที่ใช้อะไรเพาะก็ได้ ฝ้ายเป็นทางเลือกหนึ่งครับ เปรียบเทียบกับปาล์ม วัดกันที่ปริมาณ ปาล์ม 10000. บาท กับฝ้าย 10000 บาท. ได้เห็ดต่างกันมาก. ฝ้ายเก็บไว้ใช้ได้นาน. หลายเดือน สำหรับคนที่มีโรงเป็นผ้าใบ หน้าร้อนนี้ลองเปลี่ยนมาใช้ฝ้าย หรือกากมัน ดู การลดต้นทุนก็คือการเพิ่มกำไรแบบง่ายๆ ไม่มีสูตรถามในกลุ่มได้ไม่มีใครหวงจร้า
 โดย  หัวหน้าชมรมคนแอบมัก เพจ เห็ดฟางมืออาชีพ

การดูแลเห็ดฟางหลังจากการตัดใย



          การดูแลเห็ดฟางให้ออกมาสวย ให้ออกมามากหรือน้อยนั้นเป็นเทคนิคการบังคับเฉพาะบุคคล สำหรับมือไหม่ต้องใช้เวลาสักระยะเพื่อเรียนรู้ความต้องการของเห็ด เพื่อความเข้าใจง่ายผมจึงแบ่งการดูแลเห็ดออกเป็นสามระยะ เพื่อเป็นแนวทางในการดูแล เห็ดฟางนั้นมีอายุเฉลี่ยตั้งแต่จับเม็ดจนถึงเก็บอยู่ที่ 4 วัน ถ้าหนาวอาจจะมากกว่านี้หรือร้อนอาจจะน้อยกว่านี้
ช่วงที่ 1 (ตั้งแต่ตัดใยจนถึงจับเม็ด) เมื่อเราทำการตัดใยแล้ว เราต้องทำการเปิดอากาศ เพื่อให้ออกซิเจนไปกระตุ้นให้เห็ดจับเม็ด วิธีที่จะได้ผลเร็วที่สุดและเห็ดจะจับเม็ดทั่วชั้นควรจะทำดังนี้จะทำพร้อมกับตัดใย หรือหลังตัดใยก็ได้ ใช้เวลาไม่นานประมาณ 5-10 นาที
1. เปิดให้โรงเรือนให้ลมโกรกเพื่อระบายอากาศเก่าในโรงออกให้หมด เปิดหน้าโรง หลังโรงถ้าทำได้ ถ้าไม่ได้ให้เอาพัดลมมาเป่าใล่อากาศ
2.ปิดโรงเรือนแล้วเปิดช่องระบาย ครึ่งหนึ่งจากปกติ เน้นอากาศเข้าด้านล่างสุด แต่อย่าเปิดมากไปหน้าจะแห้ง
3.ถ้าโรงมืดให้ติดหลอดไฟ แสงสว่างจะทำให้เส้นใยรับออกซิเจนได้มากขึ้น ส่งผลให้จับเม็ดเร็วขึ้น กระบวนการนี้จะใช้เวลาประมาณ 2-4 วันตามสภาพอากาศ ค่อยๆสังเกตุจุดใหนที่เห็ดเกิดน้อยให้ย้ายหลอดไฟไปจุดนั้น เมื่อเห็ดจับทั่วชั้นแล้ว ทำโรงให้มืดที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เห็ดรับอากาศมากไป
ช่วงที่ 2 (ตั้งแต่จับเม็ดจนถังอายุ 2 วัน)เมื่อเห็ดจับเม็ดแล้วเราลดการให้แสงแล้วเห็ดจะค่อยๆโต ช่วงนี้ต้องระวัง ความร้อน อย่าให้ร้อนเกิน 35 องศา อย่าให้ชื้นเกิน เพราะเห็ดอาจจะเน่าได้ การเปิดอากาศ ให้ระวังลมให้มากเพราะลมจะทำให้หน้าแห้ง เพราะลมจะเอาความชื้นออกมาด้วย ส่งผลให้เห็ดดอกเล็กที่พึ่งจับเม็ดฝ่อ ช่วงนี้ควบคุมอุุณภมิให้ร้อน-ชื้น คือร้อนประมาณ 32-35 ความชื้นสัมพัท 80% ถ้าหากมีปัญหาโรงเรือนไม่ร้อนให้ปิดช่องระบายอากาศทุกช่อง งดการให้น้ำโดยไม่จำเป็นเพราะหากไม่ชำนาญจะทำให้เห็ดฝ่อได้ ดูแลไปเรื่อยๆตามลักษณะของเห็ดในช่วงนี้ คือ
1.เห็ดเป็นขน แสดงว่าขาดอากาศให้เพิ่มอากาศอีก 2.สีคล้ำ เกิดจากลม /ความเย็น
3.เห็ดพุ่ง ยืด เกิดจากอากาศและความร้อนมากไป เห็ดจะโตเร็วกว่าอายุ
 อย่าลืมสังเกตสิ่งปกติ ได้แก่รา ถ้าเจอให้เก็บทิ้งทันที ราที่เจอในช่วงนี้ได้แก่ ราเม็ดผักกาด รากะหล่ำ
ช่วงที่ 3 (เห็ดอายุ2 วันจนถึงเก็บผลผลิต)การให้น้ำ เราสามารถให้น้ำพ่นฝอยได้เมื่อเห็ดอายุ 2-3 วันนับจากจับเม็ด การฉีดน้ำจะทำหรือไม่ทำก็ได้ ตามสภาพแวดล้อมในโรงถ้าแห้งมาก ก็ฉีดได้แต่อย่าเยอะ ทำโรงให้มืด การฉีดหรือพ่นฝอยห้ามแช่นะครับให้พ่นผ่านๆ เท่านั้น อ้ออีกอย่างคืออย่าเปิดเข้าออกโรงเรือนบ่อยๆ
สงสัยฝากคำถามไว้ครับ..........
โดย หัวหน้าชมรมคนแอบมัก เพจเห็ดฟางมืออาชีพ
ในภาพอาจจะมี อาหาร