Translate

วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ใครมีปัญหาเรื่องราในเห็ดฟางมาอ่านกัน

เชื้อราในการเพาะเห็ดฟางและวิธีกำจัด

          เชื้อราที่ราเราพบเจอในการเพาะเห็ดฟางนั้นมีหลายชนิด แต่ละชนิดส่งผลต่อเห็ดมาก-น้อยต่างกัน โดยจะกล่าวถึงแค่ 7 ชนิด แบ่งเป็น 5ระดับ(แบ่งเอง อิอิ) ที่เจอกันบ่อยๆคือ
          1.ความน่ากลัวระดับ 1 ดาว
                 - ราเขียว มีสีเขียวอ่อน ไปจนถึงเขียวเข้ม เกิดจากเชื้อไตโคเดอมาและเพนนิซิเลียม เราจะเจอราเขียวได้เมื่ออุณหภูมิภายในโรงเรือนต่ำ ความชื้นในวัสดุสูง อากาศน้อย ในวัสดุที่เป็นฝ้ายจะเจอมากกว่าวัสดุอื่น เชื้อที่มากับเชื้อเห็ด ราเขียวเป็นราที่กำจัดง่ายไม่ส่งผลต่อเห็ดมากเพราะเติบโตและแพร่พันธ์ช้า กินพื้นที่เป็นจุดๆ จุดละไม่เกิน 30 เซนต์ พื้นที่ที่มีราเขียวถ้าวัสดุยังมีความร้อน หรือเชื้อแข็งแรงก้อสามารถเติบโตได้ปกติแต่ดอกเล็กอาจฝ่อบ้าง วิธีกำจัด ใช้EM ราด หรือใช้ บีเอส พลายแก้ว งดการให้น้ำโดนบริเวณที่เป็นเชื้อรา 
               -ราส้ม มีสีส้มเมื่อแก่จะมีสีส้มแกมน้ำตาล ราส้มเติบโตตรงข้ามกับราเขียวคือ อากาศเยอะ แสงเยอะ อุณหภูมิวัสดุสูง อากาศแห้ง เราจะเจอราส้มมากในช่วงแรกของการเพาะช่วงที่เห็ดเริ่มจับเม็ดไปจนถึงการเก็บเห็ดรุ่นแรก สาเหตุเชื้อราจะเจริญได้ดีเมื่อ การย่อยของวัสดุไม่สมบุรณ์ การเกิดแก้สจากวัสดุจะทำให้ราส้มเติบโตดียิ่งขึ้น วิธีกำจัด ราดด้วยEM หรือน้ำเปล่า หรือใช้ บีเอสพลายแก้ว ลดอุณหภูมิ ในห้อง เพิ่มความชื้นให้วัสดุ ลดแสง
          2.ความน่ากลัวระดับ 2 ดาว 
                - ราขาวราร้อน ราสองตัวนี้เป็นราชนิดเดียวกันแต่เกิดต่างที่ เกิดในกระบวนการหมักเรียกว่าราขาว เกิดในโรงเรือนหรือเมื่อทำการเพาะเรียกว่าราร้อน ราร้อนเป็นราที่ต้องการออกซิเจนต่ำ ลักษณะสีขาวคล้ายใยเห็ดแต่จะขาวกว่าและฟูกว่า เมื่อมีราร้อนแล้วจะทำให้เห็ดเกิดอาการอย่างหนึ่งเรียกว่าบ้าใยคือใยเดินแต่ไม่จับเม็ดเส้นใยเคลือบหน้าวัสดุเพาะเห็ดรุ่นหลังเกิดไม่ได้เพราะขาดอากาศ อาจจะมีอาการเห็ดเป็นขนร่วมด้วย วิธีแก้ใขและกำจัด เปิดอากาศเพิ่มออกซิเจนเข้าไป ราร้อนจะยุบตัว และหายไป หรือจะทำการฉีดน้ำบริเวณที่เป็นก้อได้
          3.ความน่ากลัวระดับ 3 ดาว 
               - รากะหล่ำ รากเน่า สาเหตุไม่แน่นอน ข้อมูลที่มีคือเกิดจากการย่อยของโปรตีน ของเชื้อบัคเตรีชื่อซูโดโมเนส ลักษณะคล้ายราร้อนเกิดแล้วขยายเป็นวงกลม มีสองชนิดคือเป็นแผ่นแข็ง และเป็นใยขาว อย่างที่สองจะส่งผลต่อเห็ดมากกว่าเพราะจะปล่อยกาซเสียทำให้เห็ดคล้ายมีฝุ่นติดและต่อมาเป็นตุ่มผิวคล้ายคางคก ดอกเล็กจะนิ่มคล้าเม็ดโฟม หากเกิดในช่วงที่เห็ดโตเห็ดจะมีอากรโดนหรือดอกแตก แล้วมีน้ำเหนียวไหลออกมา บางดอกมีอาการยืดเปลือกบางนิ่มผิวช้ำ อาจมีอาการเน่าด้านในขึ้นอยู่กับโดนเชื้อมากหรือน้อย วิธีกำจัด เนื่องจากราชนิดนี้จะซอกซอนไปตามเส้นใย ไม่เกิดเฉพาะหน้าวัสดุดังนั้นการกำจัดโดยการใช้ พลายแก้ว EM หรือปูนขาวนั้นไม่สามารถกำจัดให้ราตัวนี้ตายได้ วิธีที่ดีที่สุดคือการเก็บบริเวณที่เป็นออกไปทิ้งให้หมดแล้วใช้พัดลมใล่อากาศเสียทิ้งเอาอากาศไหม่เข้าไป เห็ดจะดีขึ้นใน 1-2 วัน
          4.ความน่ากลัวระดับ 4 ดาว 
                 - ราดำ ลักษณะทั่วไปคือเป็นสีดำเตลือบไปตามเส้นใยเห็ดเกิดจากเชื้อตระกูลเอสเพอจิลัสเมื่อเชื้อแก่จะเป็นตุ่มดำมีสปอร์พร้อมขยายพันธ์ เราจะพบราดำได้ในวัสดุเพาะที่เก่ามากๆ โดนน้ำโดนฝนบ่อยๆ วัสดุไม่มีความร้อนแต่ความชื้นสูง จากอาหารเสริมที่มีรำเป็นส่วนผสมไม่ผ่านการอบ จากรำที่เก็บไว้นานๆ จากสปอร์ที่ปลิวมาจากที่อื่น ราดำเมื่อเกิดแล้วสามารถลามไปได้อย่างรวดเร็ว ถ้าหากมีความชื้นสูงราดำจะลามเร็วเป็นพิเศษ สามารถลามในวัสดุที่เป็นฝ้ายใช้เวลา 2-3 วันลามได้ทั่วทั้งโรงเรือน ทลายปาล์ม 5-7 วัน นอกจากจะสังเกตจากเส้นใยสีดำแล้วเรายังสังเกตได้จากอาการของเห็ด ที่ดอกเล็กฝ่อแห้งเป็นกลุ่ม มีอาการดอกเล็กบานเร็วกว่าปกติ ดอกผิดรูปมีอาการบวมถ้าผ่าดูดูด้านในจะสีน้ำตาลเหมือนเห็ดแก่ ถ้าหากพบอาการดังนี้ให้ตรวจหาราดำแล้วเก็บออก งดการให้น้ำเพราะจะทำให้ราดำลามเร็วขึ้น
          5.ความน่ากลัวระดับ 5 ดาว 
                 - ราเมือกสีขาว ราเมือกสีเหลือง ราตัวนี้น่ากลัวมากเดินใยเป็นแผ่นคล้ายรากไม้ หากินคล้ายอมีบา เติบโตแพร่พันธ์เหมือนแบคทีเรีย สีขาวจะพบมากกว่าสีเหลือง ลักษณะเป็นเมือกคล้ายนมแช่แข็ง เวลาจับจะละลายคล้ายน้ำเรียกว่าไซโตพลาซึม เมื่อลามแรกๆจะเป็นกองแล้วหยดลงพื้นคล้ายอ้วกหมา (เห็นภาพเลยนะ ) ราตัวนี้จะเกิดในครั้งแรกของการเพาะเป็นส่วนมาก ลามทั่วโรงได้ในเวลา 20 ชั่วโมง จะส่งผลให้ เห็ดฝ่อ ไม่จับเม็ด เน่า และไม่โต กรณีที่โรงเรือนติดกันเชื้อสามารถลามไปโรงเรือนอื่นได้ในเวลาไม่กี่วันถ้ากำจัดไม่ถูกต้อง บอกได้เลยว่าเจ๊งแน่นอน เคยมีผู้ที่เจอราตัวนี้แล้วส่งผลให้เห็ดไม่เกิดทุกโรง เกือบ 20 โรง กินข้าวไม่ได้หลายเดือน สำหรับใครที่ทำโรงเรือนติดกันระวังราตัวนี้ให้ดี วิธีแก้ใขเมื่อเจอลดความชื้นภายในโรงเรือนราเมือกจะน้อยลงเมื่อเจออากาศแห้ง ราเมือกจะฝังตัวในวัสดุ พื้นดินเมื่อสภาพไม่เหมาะต่อการเติบโต แตเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมราเมือกก้อจะกลับมาเจริญเติบโตอีกครั้ง วัสดุที่ติดเชื้อควรเก็บทิ้งเผาทำลาย หากพบว่าหยดลงพื้นต้องต้มน้ำให้ร้อนมาราดบริเวณที่เจอ ใช้ความร้อนมากกว่า 65 องศา เป็นเวลา 30 วินาทีขึ้นไปจะสามารถกำจัดได้ การโดนแสงแดดหรือแสงยูวีโดยตรงทำให้ราเมือกตายอันนี้อาจจะต้องรื้อโรงถึงจะทำได้ หลังจากนั้นอาจจะต้องพักโรงทำความสะอาด ที่ไม้ที่พื่น ทั่วบริเวณ หลังทำความสะอาดให้ใช้ด่างทับทิมผสมฟอมาลีน ใส่ถ้วยแก้วตั้งทิ้งไว้ในโรงเรือนปิดโรงให้สนิท เนื่องจากเป็นสารอันตรายเมื่อผสมแล้วจะเกิดควันควรหาผ้าปิดจมูก และใช้อย่างระวัง
                                                                                                                  หัวหน้าชมรม.04 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น