Translate

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

การอบไอน้ำ

การอบไอน้ำฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ 
                    หลังจากเลี้ยงเชื้อราจนได้ที่แล้ว ให้เริ่มงานในตอนเช้ามืด โดยฉีดน้ำลดวัสดุเพาะให้ชุ่มแต่ไม่ให้ถึงขนาดน้ำไหลหยดลงมาใต้ชั้นเพาะมากนัก เพราะจะทำให้เสียธาตุอาหารไปกับน้ำ อันนี้เป็นเคล็ดลับในการอบไอน้ำ ไม่ค่อยมีผู้อบรมรายใดให้ความรู้ไว้ การให้น้ำจะเป็นการใช้น้ำเป็นสื่อในการนำความร้อนเข้ากองเพาะ ในกรณีที่ความชื้นในกองเพาะไม่พอ และมีการกองวัสดุหนามาก ถ้าไม่ให้น้ำจะอบไอน้ำไม่เข้าถึงข้างในกองเพาะหรือให้เข้าถึงก็จะเสียเวลาในการอบไอน้ำนานมาก ๆ
                    การอบไอน้ำไม่เข้าถึงกองเพาะจะทำให้พอเก็บเห็ดไปเกิน 10 วันจะมีปัญหา เรื่องวัชเห็ดกับแมลงไร อีกอย่างการอบไอน้ำเป็นการไล่ความชื้นส่วนเกินออกจากกองเพาะด้วย ส่วนอุณหภูมิที่จะใช้ในการอบให้ใช้อุณหภูมิสูงสุดของกองเพาะตอนหมักวัสดุเพาะ (สมมุติ 55 องศา) บวกด้วย 10 องศา (เป็น 65 องศา) ในกรณีที่เก็บเห็ดรอบเดียวคือ 5-7 วัน ให้อบนาน ช.ม. (โดยเริ่มจับเวลาตอนจับอุณหภูมิได้สูงถึง 65 องศา และเมื่อทำอุณหภูมิสูงได้แล้วต้องดูแลเชื้อเพลิง อย่าให้อุณหภูมิลดลงระหว่างจับเวลา) หากเก็บเห็ดรอบสองด้วย ประมาณ 10-14 วัน ต้องอบนาน ช.ม. หากเก็บเห็ดนานกว่านั้นให้อบที่ ช.ม. ในกรณีที่ใข้ฝางปูรองวัสดุเพาะ ถ้าอบไอน้ำไม่ถูกต้อง จะเริ่มมีปัญหาเรื่องแมลงไร เมื่อเก็บเห็ดเลย 12 วัน แต่ในกรณีใช้ทลายปาล์ม จะไม่ค่อยมีปัญหา 

                    เรื่องแมลงไรนี้บ้างคนไม่เข้าใจปัญหา ทำให้ต้องเลิกเลี้ยงไปเลยก็มี ในความเห็นของผม ถ้าเริ่มมีไรก็ควรจะรื้อทิ้งได้ แต่บางที่เห็ดมันยังออกมากอยู่ เกิดความเสียดาย ให้ใช้สารคาร์บาริล ชื่อการค้า เซฟวิน85หรือ เอส85 ฉีดพ่นบนแปลง สารนี้ไม่มีพิษในสัตว์เลือดอุ่น แต่เป็นพิษต่อปลา และในตัวเห็ดก็มีสารหุ้มตัวมันเอง ถ้าผู้บริโภคล้างน้ำก่อน ก็แทบไม่มีสารพิษที่ตกค้างในเห็ดเลย และถ้าคุณขยันให้ใช้ตะไคร้ ทั้งรากต้นและใบส่วน กระเพราะใบและดอก ส่วน โดยน้ำหนัก นำมาตำให้ละเอียด แช่ในน้ำ E.M. มักไว้ คืน กรองเอาน้ำที่ได้ ส่วนผสมน้ำ ส่วน นำมาใช้ฉีดพ่น เนื่องจากพืชทั้ง ชนิดมีน้ำมันหอมละเหย ซึ่งแมลงไม่ชอบกลิ่นจะใช้ไล่แมลงได้หลายชนิดครับ โดยให้ฉีดพ่นตั้งแต่เก็บเห็ดได้ วันให้ฉีดทุก 2วัน เพื่อเป็นการกลบกลิ่นพืช อันนี้ถ้าใครแก้ปัญหาไรไม่ได้ ต้องเพิ่มขั้นตอนงานตัวนี้ แต่ควรจะเน้นการอบไอน้ำที่อุณหภูมิสูงขึ้นและระยะเวลาการอบไอน้ำให้ยาวขึ้นมากกว่า การอบไอน้ำที่ถูกต้อง ถ้าอบได้อุณหภูมิสูงพอและเวลาที่เหมาะสม เมื่ออบไอน้ำเสร็จตอนเข้าไปในโรงเรือน เพื่อให้หัวเชื้อจะรู้สึกหอมครับ ถ้าไม่หอมก็แสดงว่ายังอบไอน้ำได้ไม่นานพอหรือที่อุณหภูมิไม่สูงพอ ในครั้งหน้าต้องเพิ่มครับ  
                    การวัดอุณหภูมิในโรงเรือน ให้ใช้ที่วัดแบบที่เป็นหลอดแก้ว ราคาประมาณ 100 บาท เสียบเข้าไปภายในโรงเรือน ให้วัดสูงกว่าพื้น เมตร โดยไม่ไห้ส่วนปลายปรอทสัมผัสถูกผนังโรงเรือน
จากนั้นให้รอจนอุณหภูมิภายในโรงเรือนลดลงเหลือ 38-40 องศาให้ทำการให้หัวเชื้อ อย่าให้หัวเชื้อในระหว่างที่อุณหภูมิภายในโรงเรือนต่ำกว่านี้ เพราะจะทำให้เส้นใยเดินไม่ดี และถ้าให้หัวเชื้อในขณะที่อุณหภูมิในโรงเรือนสูงกว่า 42 องศา ผู้ให้หัวเชื้อก็จะรู้สึกไม่สบายตัว และเชื้อก็อาจจะตายเพราะอุณหภูมิในกองเพาะสูงจะกว่าอุณหภูมิของโรงเรือน 

                    หัวเชื้อต้องพอแก่พอดีใช้ ถ้าใยเดินไม่เต็มถึงก้นถุงจะได้เส้นใยเห็ดน้อย เห็ดที่เกิดจากเส้นใยก็น้อยตาม ถ้าเป็นสีน้ำตาลแล้ว จะได้เส้นใยน้อยแต่เห็ดสามารถเกิดได้เลยจากวัสดุของหัวเชื้อ ไม่ได้เกิดจากการเดินของเส้นใย ทำให้ต้องใช้เป็นปริมาณมากคือ 1.5 ถุง ต่อตารางเมตร ปกติใช้ 0.8-1ถุงต่อตารางเมตร
                  หมดเวลาครับ เอาไว้ตอนหน้าจะพูดต่อเรื่องการให้หัวเชื้อครับ อย่าลืมแนะนำพูดคุยกันบ้างนะครับ ไม่อยากพูดคนเดียว

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆนะครับ มีประโยชน์มากๆครับ

    ตอบลบ