Translate

วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2560

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการตัดใยเห็ด

นำเสนอเรื่องนี้เพราะหลายคนเจอปัญหาเส้นใยเคลือบหน้าวัสดุ อยากชี้ชัดให้เข้าใจเกี่ยวกับการตัดใยที่ถูกต้อง. การตัดใยไม่ใช่แค่ฉีดน้ำ ใส่เส้นใยก็เสร็จ การตัดใยไม่ใช่การเพิ่มความชื้นเพราะถึงไม่ฉีดน้ำใส่ก็ตัดใยได้ การตัดใยจึงแบ่งเป็นสองแบบตามสภาพแวดล้อมและลักษณะของเส้นใย คือตัดแบบใช้น้ำ และตัดโดยอากาศ ไม่ใช่เราจะตัดโดยใช้น้ำได้อย่างเดียวเพราะนั่นคือคุณจะเข้าใจผิดตลอดไปนะครับ. การตัดใยที่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ที่ถูกคือทำยังไงก็ได้ให #้เส้นใยได้รับออกซิเจนมากที่สุด หากทำการตัดใยด้วยน้ำต้องตัดให้เส้นใยขาดจากกัน ไม่ใช่แค่ยุบ บางท่านอาจจะสงสัยทำไมต้องขาด แล้วแบบไหนเรียกว่าขาด ที่ต้องให้ขาดเพราะการตัดใยโดยใช้น้ำนั้นจะทำเมื่อเส้นใยเดินนอกวัสดุเพาะ แล้วมันจะฟูมาก ถ้าเราพ่นแต่ผ่านๆ เส้นใยจะแค่ยุบตัว แล้วจะมีปัญหาตามมาทีหลังคือ ใยเคลือบวัสดุหรือที่เรียกว่าหนังหมู มันจะแข็งแล้วเห็ดรุ่นต่อมาจะขึ้นได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็นเพราะใยเก่าจะปิดกั้นอากาศไว้ เราจึงต้องใช้น้ำที่มีความแรง ไม่ต้องกลัวว่าน้ำแรงมากเชื้อที่โรยจะหล่นแล้วเห็ดจะไม่ขึ้น เพราะเมื่อมีเส้นใยเกิดส่วนหนึ่งก็จะอยู่ในวัสดุแล้ว ดังนั้นตัดแรงๆไปเลย จนมองไม่เห็นเส้นใยนั่นแหละ และการที่จะตัดเส้นใยให้ดีไม่มีปัญหาทีหลังนั้นเราต้องย้อนไปถึง
1.ขั้นตอนโรยเชื้อ. หลังโรยเชื้อแล้วพยายามฉีดน้ำใส่เชื้อเห็ดให้ยุบติด วัสดุมากที่สุดเพื่อให้เส้นใยเดินในวัสดุ ไม่ให้มันฟูมากเกินไป ถ้าฟูมากมันตัดใยไม่ค่อยขาด เราเพาะเห็ดเพื่อให้ได้เห็ดที่สมบูรณ์ แข็งแรง เราไม่ได้เพาะเห็ดเพื่อโชว์ว่าใยเยอะ. เส้นใยบอกอะไรเราได้หลายอย่าง เพราะใยเยอะฟูมากหมายถึง มันหาอาหารไม่ได้ แม้อาหารจะมีเพียบก็ตาม บางคนชอบใยเยอะ ใยเยอะเห็ดจับเม็ดเยอะแต่แป้บเดียวมันก็บานครับ แถมลูกจะเล็กด้วย
ผมจึงอยากให้รดน้ำหลังจากโรยเชื้อไปแล้วเพื่อให้ใยมันติดวัสดุมันจะได้หาอาหารง่ายๆ เวลาตัดใยก็ง่าย เห็ดก็ออกสวยไม่เป็นกลุ่มไม่เป็นใข่ตุ๊กแก ไม่เป็นพวงองุ่น ตัดตูดก็ง่าย ชีวิตดี้ดี...
2.การตัดเส้นใย. ควรใช้ปั้มที่แรงดันสูงนิดนึงเพื่อที่เส้นใยจะได้ขาดจากกัน ถ้าเกิดตัดไม่ดี จะมีใยเหลือ แล้วใยจะเดินต่อ พอเราเห็นใยฟูส่วนมากจะเปิดอากาศ วิธีนี้จะทำให้เส้นใยแข็ง และเคลือบหน้าวัสดุ แก้ไม่ได้นะครับ ถ้าเจอปัญหาแบบนี้ ขั้นแรกให้ตรวจดูว่ามีเห็ดจับเม็ดมากไหม ถ้าไม่มาก เราต้องตัดสินใจ เลือกส่วนมากไว้ก่อน คือปิดโรงให้เส้นใยนิ่มแล้วตัดใยไหม่อีกที วิธีที่จะทำให้เห็ดที่เกิดแล้วรอดคือตัดในช่วงที่อุณหภูมิต่ำที่สุด เป็นช่วงกลางคืนดีที่สุด หลังตัดต้องระบายความชื้นออก คือเปิดให้อากาศถ่ายเทจนถึงเช้า
เมื่อเราตัดใยเสร็จแล้วเราต้องระบายอากาศเดิมที่อยู่ในโรงทิ้งเสียก่อน หากไม่ทำเห็ดจะเกิดเฉพาะจุด เช่น เกิดแค่ข้างชั้น เกิดแค่ด้านบน เกิดแค่ด้านล่าง เกิดเป็นจุดๆไม่สม่ำเสมอ หรือยังมีใยขึ้นเห็ดไม่ยอมจับเม็ด แบบนี้คือยังมีคาร์บอนไดออกไซด์อยู่มาก เราจึงต้องเอาอากาศไหม่เข้าไป ทำได้โดยเปิดโรงหน้าหลังให้อากาศถ่ายเทในช่วงที่เราตัดใย หรือพ่นฝอยไล่อากาศเอาจากนั้นค่อยปิดโรง และเปิดช่องระบายอากาศเพื่อให้อากาศมีการหมุนเวียนตลอดประมาณสองสามวันเห็ดจะจับเม็ด เมื่อจับเม็ดแล้วจึงลดระดับการใช้ช่องระบาย เพื่อที่วัสดุจะได้ไม่แห้ง จากนั้นปรับตามขนรอบดอก เรีียกใยรอบดอกจะน่ารักกว่านะ.... วิธีปรับปรับไม่ยาก ใยรอบดอกเยอะให้เพิ่มช่องระบาย ไม่มีใยเลยให้ลดจำนวนช่องระบาย เห็ดที่จะสวยสมบูรณ์ต้องมีใยรอบดอกแบบรำไรๆ
จะให้ดีที่สุดคือต้องละเอียดทุกขั้นตอนเราจะได้ไม่ต้องมาแก้ทีหลังครับ เพราะเกิดปัญหาแล้วแก้ยากจริงๆ เทคนิคการตัดในมีหลากหลาย นี่เป็นเพียงแนวทางเท่านั่น เมื่อเราเพาะไปนานๆเราก็จะพลิกแพลงได้เป็นสูตรของเราเอง
บทความจากกลุ่มย่อย เพาะเห็ดฟางอย่างมืออาชีพ by หัวหน้าชม รมคนแอบมัก

6 ความคิดเห็น:

  1. ถ้าเราตัดใยด้วยวิธีพ่นน้ำที่ผสมฮอร์โมนหรืออาหารเสริมจะได้ไหมครับ หรือแค่น้ำอย่างเดียว. ขอคำแนะนำด้วยครับ ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  2. ตัดใยสองรอบเเล้วยังไม่ได้เลยขอคำเเนะนำหน่อยคะ มือไหม่หัดทำ

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ

    ตอบลบ
  4. ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ แต่บางแปลงเหมือนมีจุดไฟคล้ายไข่ปลาเกิดจากสาเหตุอะไรค่ะ

    ตอบลบ
  5. ตัดใยใด้2วันแล้วค่ะ

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ4 มีนาคม 2566 เวลา 11:44

    แก้หนังหมูยังไงครับ

    ตอบลบ