Translate

วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สถานที่ที่เหมาะจะทำการเพาะเห็ดฟาง 
            ก่อนที่คุณจะลงทุนทำการเพาะเลี้ยงคุณควรมีข้อควรพิจารณาในเรื่องสถานที่ ๆ คุณจะทำการเพาะเลี้ยงก่อนว่าเหมาะสมกับที่จะทำการเพาะเลี้ยงหรือไม่ ดังนี้คือ
1.น้ำ เห็ดฟางเป็นพืชที่ไม่ชอบเกลือแกง หากน้ำในแหล่งน้ำของคุณมีโซเดียม จะทำให้คุณไม่มีน้ำใช้ ส่วนน้ำบาดาล หรือน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ คุณควรส่งตัวอย่างน้ำไปให้กรมวิชาการเกษตรตรวจดูว่า มีผลกับการเพาะเลี้ยงเห็ดฟางหรือไป วิธีเก็บตัวอย่างน้ำ ดูได้ที่กรมวิชาการเกษตร ปัญหาเรื่องน้ำนี้เป็นปัญหาเส้นผมบังภูเขา เกษตรกรบางรายทำงานแทบตาย เหนื่อยสายตัวแทบขาด ก็ทำไม่ได้ดี เพราะไม่รู้ว่าน้ำที่ใช้มีผลทำให้สร้างใยเห็ดเกิดไม่ได้ และจับตัวเป็นตุ่มเห็ดไม่ได้ ถ้าค่า pH ต่ำ หรือมีสารไม่พึงประสงค์ เช่น โซเดียม หรือ คลอรีน หรือเป็นน้ำที่ปนเปื้อน และที่สำคัญที่สุดคือน้ำที่ใช้ในการตัดแส้นใยเห็ดสำคัญมาก ถึงใช้ไม่มากแต่มีผลกับผลผลิตเห็ดของคุณเลย
2.ภูมิอากาศ หากพื้นที่ที่จะทำการเพาะปลูก มีช่วงที่จะมีอุณหภูมิต่ำกว่า 27 องศา จะทำให้เห็ดไม่งามเท่ากับช่วงที่มีอุณหภูมิสูง เพราะฉะนั้น เห็ดฟางจึงไม่เหมาะจะปลูกภาคเหนือ หรือที่ ๆ มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำ
3.ความชื้น ถ้าบ้านคุณฝนตกหนัก หรือมีปริมาณฝนตกบ่อย คุณจะมีต้นทุนในเรื่องค่าไฟฟ้าในการให้อากาศระบายความชื้น แต่เห็ดคุณจะได้ราคา
4.แรงงาน คุณต้องสามารถหาแรงงานได้ง่าย โดยเฉพาะแรงงานที่ทนต่อกลิ่นและแมลงไร เพราะตอนคุณทำงานใหม่ ๆ ปัญหานี้จะเกิดขึ้น ถ้าคนงานไม่ชอบจะบอกต่อๆไป ทำให้คนอื่นไม่อยากทำงานด้วย เพราะฉะนั้นคนงานชุดแรก ๆ ควรจะต้องมองให้ดี ถ้าโชคร้าย รับคนเรื่องมาก และปากมากด้วย คุณจะหาคนทำงานด้วยยาก และให้ดีการทำงานช่วงแรก ๆ ควรลงมือทำงานเองทั้งหมด โดยเริ่มจากการทำโรงเรือนเล็ก ๆ ขนาดกว้าง 2.5 ยาว สูง 3.5เป็นโรงเรือนชั้นเดี่ยว สร้างในที่มีร่มเงา ชั้นวางวัสดุเพาะขนาด กว้าง 1.3 ยาว 2.5 จำนวน ชั้น รายละเอียดอื่น ๆ ตามต่อในเรื่องการทำโรงเรือนและชั้น ซึ่งจะกล่าวภายหลัง เพื่อจะได้เห็นปัญหาก่อนลงทุนทำงานจริง
5.คุณควรทราบแหล่งรับซื้อเห็ดในท้องถิ่นของคุณ ส่วนใหญ่จะเป็นตลาดเช้า โดยเฉพาะร้านอาหาร หรือคนแถวบ้านคุณ หากคุณขายเห็ดให้เขาในราคาส่ง เขาซื้อแน่นอน ขอเพียงแต่คุณอย่านำเห็ดที่ไม่ได้คุณภาพไปให้เขา การขายผลผลิต ในช่วงแรก ๆ ที่คุณมีน้อยก็จะผ่านไปได้ หากคุณทำใหญ่ ต่อให้ต้องขนเข้ามาขายที่กรุงเทพยังคุ้มค่าเลยครับ ระยะทางไม่เกิน 300 ก.ม. อีกอย่างพ่อค้าขายส่งที่รับซื้อผลผลิตเกษตร ถ้าคุณบอกเขาเขาก็รับนะครับแต่อาจได้ราคาต่ำหน่อย ตลาดไท กับสี่มุมเมืองรับอยู่แล้ว การนำผลผลิตไปส่งขายที่ตลาดไท กับสี่มุมเมืองจะกล่าวถึงในภายหลัง
6.แหล่งระบายน้ำทิ้ง การเพาะเห็ดฟางจะมีน้ำเสียจำนวนมาก แต่โดยเฉพาะการใช้ทลายปาล์ม เป็นวัสดูเพาะ จะให้น้ำเสียที่ไม่สามารถนำไปทำประโยชน์ได้ แต่ถ้าเป็นวัสดุอื่น เช่น ขี้ผ้าย หรือ กากมัน น้ำเสียสามารถนำไปใช้กับต้นไม้ หรือบ่อเลี้ยงปลาได้เป็นอย่างดี เพราะมีไนโตรเจนสูงมาก ๆ
7.แหล่งกองวัสดุเพาะที่ใช้แล้ว ถ้าคุณทำใหญ่ คุณจะมีวัสดุเพาะใช้แล้วเป็นจำนวนมาก คุณจะต้องมีที่หมักวัสดุเพาะให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ และยังนำมาเป็นอาหารเสริมให้เห็ดฟางได้อีกด้วย แต่ต้องเติมสารช่วย จะกล่าวถึงภายหลัง ถ้าวัสดุเพาะเป็นกากมัน คุณสามารถนำบางส่วนไปเลี้ยงปลาประเภทกินพืช เข่น ปลาตะเพียง ยี่สก ปลาจีน ปลาสวาย โดยการนำไปกองที่ขอบบ่อเลี้ยงปลาให้ปลาค่อย ๆ กินให้ยุบลงไป อย่าใส่ลงไปในน้ำจะทำให้น้ำเสีย อันนี้เป็นผลพลอยได้ครับ ถ้าบ่อมีขนาด 1-2 ไร่ แล้วทำท่อระบายน้ำเสียของการทำเห็ดลงไป คุณจะมีรายได้เพิ่มขึ้น 3-7 หมื่นบาทต่อปี เป็นอย่างน้อย เป็นโบนัส
8.คนรับจ้างปลอกเห็ด ส่วนใหญ่จะเป็นคนแก่ หรือแม่บ้านที่ทำงานหนักไม่ได้ จะมารับจ้างปลอกโคนเห็ดจ่ายเป็น ก.ก. ละ 1-2บาท ถ้าคุณทำใหญ่ต้องมีคนประเภทนี้ ไม่เช่นนั้นจะทำงานได้ไม่ทันส่งตลาด
9.แหล่งหาวัสดุเพาะ คุณจะต้องรู้ก่อนว่า ในพื้นที่ของคุณสามารถ หาวัสดุเพาะดังนี้ได้อย่างไร
-ขี้ฝ้าย กากมันสำปะหลัง ทลายปาล์ม นอกจากนี้ไม่แนะนำ หากขนส่งไม่เกิน 300 ก.ม. คุ้มค่ากับการนำมาใช้ เพราะเห็ดฟางกำไรสูง ถ้าซื้อวัสดุเพาะเป็นปริมาณมาก ๆ แล้วขนทีเดียว ต้นทุนรับได้สบาย ๆ
-เปลือกถัวเขียว ถ้ามีจะดีมาก
-ฟางข้าว ถ้าซื้อเป็นมัดที่เขาขายเลี้ยงวัว ทำงานไม่ได้ ต้นทุนสูงมาก ต้องจองแล้วขอกับคนที่เขาทำนาช้าว จะไม่แพง จ้างเขาอัดเป็นก้อน จะได้ทำงานง่าย
-เศษผลไม้ โดยเฉพาะเปลือกสับปะรด ถ้ามีก็จะดีมาก ๆ
-อื่น ๆ ไม่ที่ต้องใช้นอกจากนี้ไม่ใช่ปัญหา
ที่กล่าวมานี้ อยากให้เกษตรรับรู้ปัญหาไว้เท่านั้น อย่าลืมว่าหัวข้อของเราคือ ปัญหาและอุปสรรค บางเรื่องอาจจะดูเป็นเรื่องหยุมหยิม แต่สร้างปัญหาให้ผมมาแล้วทั้งนั้น แต่อย่างไรก็ตาม คุณควรจะรู้ไว้และตามต่อไปครับ ผมว่าถ้าคุณรู้มากเท่าไร ปัญหาคุณยิ่งน้อย โอกาสทำงานสำเร็จจะมากขึ้น เลี้ยงเห็ดฟาง ต้องอดทนครับและต้องเป็นคนไม่วิตกกังวล มาก แก้ปัญหาไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวก็ดีของมันเอง ถ้าไม่อดทนก็จบ และไม่ควรทำ ไม่สำเร็จหรอกเสียเงินเสียเวลาครับ ส่วนข้อดีของการเลี้ยงเห็ดฟางมีอย่างเดียวคือ เงิน ซึ่งไม่มีรายละเอียดมากหรอกครับ
ตอนที่ 4
การสร้างโรงเรือน
ในการสร้างโรงเรือน ถ้าเกษตรกรรายใหม่ จะไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะใช้ขนาดที่เท่าไร เพราะในตำรามีหลายขนาดมาก ชั้นวางก็มีหลายขนาดความกว้างและความยาว บางรายทำแล้วพอไปปฏิบัติงานจริง จะมีปัญหา ดังนั้นควรต้องทราบข้อมูลดังต่อไปนี้
1.จำนวนของวัสดุที่ใช้เพาะ ไม่พอดีใช้ในโรงเรือน หนึ่ง เช่น ทลายปาล์ม หนึ่งคันรถ ใส่ไม่เต็มโรงเรือน หรือมีเศษเหลือ ขึ้ฝ้ายอัดแท่งใช้ได้มีเศษเหลือ อันเป็นเหตุทำให้ต้นทุนการทำงานสูงขึ้น
2.ขนาดของโรงเรือน ไม่เหมาะสมกับเตาที่ใช้ต้มอบไอน้ำ ทำให้ทำอุณหภูมิอบไอน้ำในโรงเรือนไม่สูงพอ
3.เห็ดฟางที่เพาะได้ในชั้นล่างสุด กับชั้นบนสุดได้ผลน้อย
4.ขนาดความกว้างและระยะห่างของชั้น ไม่สะดวกในการขนย้ายวัสดุเพาะ และการเก็บดอกเห็ด ทำให้เสียเวลาทำงานมาก สิ้นเปลืองค่าแรงงาน
5.ความกว้างของทางเดินระหว่างชั้น ไม่สะดวกในการขนย้ายวัสดุเพาะ 

ปกติการทำโรงเรือนเพาะเห็ดจะทำเป็นโรงเรือน ชั้น คือโรงเรือนหลัก และโรงเรือนรอง เหตุผลเพราะ ต้องอบไอน้ำจึงต้องใช้ผนังโรงเรือนรองเป็นพลาสติกกันไอน้ำ แต่พสากติกไม่ทนแดดลมทำให้เปื่อยง่าย จึงต้องทำโรงเรือนหลัก แต่ของผมใช้ผ้าไวนิล หรือผ้าพลาสติดโฆษณาที่ใช้แล้ว ซึ่งขอซื้อได้ตามร้านรับพิมพ์ป้ายโฆษณาบางร้านมีมาก แล้วนำมาต่อกันโดยใช้กาวร้อน ซึ่งซื้อที่คลองถมเป็นกล่องจะตกหลอดไม่ถึง 10 บาท ซื้อมา กล่องก็พอใช้ โรงเรือนสบาย ๆ การต่อผ้ารอยต่อจะต้องหนา นิ้ว เพราะต้องรับน้ำหนัก และรอยต่อต้องไม่ไห้รั่ว เพราะต้องเก็บไอน้ำให้อยู่ ผ้าไวนิลอยู่ได้ ปี เป็นอย่างน้อยครับ โรงเรือนหลักผมไม่ใช้ ผมใช้ลวดสลิงขึง ข้าง แล้วนำตาข่ายพลางแสงมาร้อยกับตาไก่ (ขอแบ่งซื้อจากร้านพิมพ์โฆษณา) เป็นช่วง ๆ แล้วร้อยเข้ากับลวดสลิง สูงจากโรงเรือน เมตร กว้างกว่าโรงเรือนเท่าไรก็ได้ ใช้รูดเปิดปิดจะทำให้ตาข่ายพลางแสงใช้ได้นานขึ้น ถ้าโรงเรือนร้อนเกินไปก็ให้ดึงตาข่ายพลางแสง ในหน้าหนาวก็ให้โรงเรือนตากแดด ไม่ใช้ก็รูดเก็บไปด้านข้าง อันนี้ทำให้ไม่ต้องสร้างโรงเรือนหลัก ประหยัดไปเยอะเลยครับท่าน และถ้าหากโรงเรือนของคุณสร้างในที่ที่มีร่มไม้ ก็ไม่ต้องมีตาข่ายพลางแสง เพราะผ้าไวนิลใช้ได้ ปี คุ้มแล้ว เสียแล้วทำใหม่คุ้มกว่าทำโรงเรือนหลัก
          ช่องลมของโรงเรือนรองให้ซื้อซีปแบบยาว ๆ เอาด้ายดิบร้อยรับน้ำหนัก แล้วเอาผ้าไวนิลแปะติดขอบไว้ด้วยกาวร้อน ส่วนขนาดกว้างยาวแล้วแต่ขนาดของซีปที่หาได้ จะมีกี่ช่องขึ้นกับขนาดของโรงเรือน ถ้าขนาดของโรงเรือน 50 ตารางเมตร ขนาดของช่องลมก็ประมาณ 50 ตารางเซนติเมตร ด้าน หัวท้ายเหนือประตู ให้มากที่สุด และต้องทำหูร้อยเชือกไว้เวลาเปิดช่องลมให้ผูกเชือกพับเปิดผ้าค้างไว้ได้
ช่องลมด้านล่างให้ใช้กระป๋องพลาสติกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางฝากระป๋องอย่างน้อย นิ้ว ยิ่งกว้างยิ่งดี ตัดก้นทิ้ง แล้วเจาะช่องผนังไวนิลเสียบกระป๋องเข้าไปเอาเศษผ้าไวนิลปิดทับอย่าให้ไอน้ำรั่วออกได้
ให้ทำสูงกว่าพื้นเล็กน้อย และต้องต่ำกว่าชั้นล่างสุดของชั้นวางวัสดุเพาะ ให้ทำ 2 ข้างประตูทั้ง ด้าน และต้องทำช่องนี้อีกช่อง เพื่อเอาไว้เป่าลมเพื่อให้อากาศด้วย ช่องนี้ให้ทำหลังจากซื้อเครื่องเป่าลมครับจะทำให้ช่องสูงพอดี
ประตูโรงเรือน ให้เจาะช่องประตูเป็นรูปประตู โดยกรีดด้านข้างทั้ง ด้าน แล้วต่อขอบของรอยตัดเพิ่มขึ้นอีกข้างละ นิ้วฟุตไว้พับแล้วหนีบไม่ให้ไอน้ำรั่วเวลาอบไอน้ำ เอาไม้ตีทำให้เป็นกรอบประตู ให้ทำประตู ละด้านหัวท้าย
ผนังโรงเรือน ต้องมีชายผ้าไวนิลละพื้นยาว 20 ซ.ม. เวลาอบไอน้ำให้ทับด้วยถุงผ้าบรรจุทราย เวลาล้างโรงเรือนให้ตลบชายผ้าขึ้นได้เพื่อทำความสะอาดโรงเรือน
พื้นโรงเรือน ถ้าทุนน้อยเวลาทำงานให้ปูด้วยผ้าพลาสติด เพื่อเก็บกวาดวัสดุเพาะที่ตกหล่น เสร็จแล้วให้เก็บขึ้น ถ้ามีทุนพอให้เทปูน
ส่วนไม้ที่จะใช้ทำโรงเรือน ควรเป็นไม้ยูคาลิปตัส เพราะทนน้ำกว่าไม่สน ราคาใกล้เคียงกัน จะอยู่ได้อย่างน้อย 
ปี พอดีกันกับผ้าไวนิล
การยึดผ้าไวนิลให้ติดกับโรงเรือนผมใช้ตะปูหัวล่มที่ใช้ติดล็อตตาลี่ สลากกินแบ่ง ตอก ส่วนท่านจะประยุกต์ใช้อะไรก็ได้ เพียงแค่ยึดติดโดยไม่ให้ผ้าขาดเท่านั้น
ความยาว ให้ยาวกว่าชั้นวางวัสดุเพาะข้างละ 1 เมตร
ความกว้าง ให้กว้างกว่าชั้นวางวัสดุเพาะบวกทางเดินระหว่างต๊ง (ต๊งคือ ชั้นวางเห็ด 1 แถว ซึ่งแต่ละแถวจะมี 3 หรือ 4 ชั้นวาง) ข้างละ 80 เซนติเมตร
ความสูงของโรงเรือน ให้ส่วนที่ต่ำที่สุดของหลังคาอยู่สูงกว่าชั้นวางวัสดุเพาะอย่างน้อย 70 ซ.ม. ไม่เช่นนั้น ชั้นบนสุดของวัสดุเพาะจะมีอุณหภูมิสูงเกินไป เห็ดจะไม่ค่อยได้ผล
เสากลางของโรงเรือน ต้องวางแผนให้ดี อย่าให้อยู่กลางทางเดิน จะขวางทางไปหมด น่ารำคาญใจมาก หลังคาโรงเรือนซ้ายขวาไม่จำเป็นต้องยาวเท่ากันนะครับ วางแผนให้ดีให้เสากลางทุกเสาอยู่ติดกับชั้นวางวัสดุ คือให้เว้นระยะห่างของเสาให้ตรงกับชั้นพอดี อย่าอยู่กลางทางเดิน
ตอนที่ 5
ชั้นวางวัสดุเพาะ
- ขนาดของโรงเรือนขึ้นอยู่กับขนาดชั้นวางวัสดุเพาะ แต่ทั้งนี้ไม่ควรมีพื้นที่มากกว่า 80 ตารางเมตร เพราะจะทำ ให้เตาอบไอน้ำ 3 ถังไม่พอ เตาอบไอน้ำควรทำ 3 ถัง 200 ลิตร ไว้ก่อน ใหญ่ไปหน่อยดีกว่าเล็กไปหน่อย ต้นทุนต่างกันอีกนิดหน่อยครับ ส่วนวิธีทำเตาจะกล่าวถึงในครั้งต่อไป
-ความยาวของชั้นวางของ ยิ่งยาวเท่าไร ก็ยิ่งทำให้ต้นทุนต่อหน่วยของคุณลดลง แต่ไม่ควรยาวเกิน 12 เมตร เพราะจะทำให้โรงเรือนของคุณใหญ่มาก และยังทำให้สภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนระหว่าง หัวกับท้ายแตกต่างกันมากเกินไป
-ความกว้างระหว่างชั้น ยิ่งกว้างเท่าไร ยิ่งต้นทุนต่อหน่วยลดลง แต่ถ้ากว้างมากจนเก็บดอกเห็ดไม่ถึง จะทำให้ทำงานไม่สะดวก ก็ดูว่าช่วงแขนคุณเท่าไร ก็คูณ 2 เข้าไปก็ใช้ได้ จะเก็บเห็ดทั้ง 2 ด้านได้ทั้งแปลง
-ความสูงระหว่างชั้นวาง ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ชนย้ายวัสดุ และต้องสูงพอให้ใช้ฝักบัวรดน้ำเข้าถึงตัววัสดุเพาะทุกตำแหน่ง ของผมเองใช้ 55 ซ.ม. ระยะห่างระหว่างชั้นถ้ามากจะทำให้ชั้นที่ 4 อยู่สูง ทำให้ขนาดของโรงเรือนสูงตามไปด้วย หากคุณมีวิธีให้น้ำวัสดุเพาะดัวยอุปกรณ์อื่น ซึ่งไม่ต้องให้ชั้นวางของห่างกันมาก ก็จะเป็นการดี
-ระยะห่างระหว่างพื้นกับชั้นล่างสุด ไม่ควรน้อยกว่า 35 ซ.ม. เพราะคุณจะต้องเก็บเห็ดใต้ชั้นวาง และต้องกวาดวัสดุเพาะที่ตกตามพื้น
-ส่วนระยะห่างของแต่ละต๊ง (หมายถึงชั้นวางวัสดุเพาะแต่ละแถว) ซึ่งใช้เป็นทางเดินต้องคำนึงถึงอุปกรณ์ที่แต่ละท่านใช้ในการขนย้ายวัสดุเพาะ เพราะถ้าไม่กว้างพอดี จะทำงานไม่สะดวกและใช้เวลาในการทำงานมาก เปลืองค่าแรงงานครับ ต้นทุนนี้ไม่ควรเสียไปเปล่า ๆ
-วัสดุที่วางในแต่ละชั้นจะมีน้ำหนักมาก ประมาณตารางเมตรละ 25 – 40 ก.ก แล้วแต่วัสดุเพะ และการทำงานในชั้นที่ 4 จะต้องปีนเป็นบางครั้ง เพราะฉะนั้น ท่านที่ไม่ได้เทพี้นปูน จะต้องรองตีนเสาไม่ให้เสาจมดิน
-วัสดุที่ใช้ทำชั้นวางวัสดุให้ใช้ไม้ยูคา เพราะโดนน้ำแล้วไม่เปื่อยง่าย ยิ่งโดนน้ำยิ่งเหนียว
-ไม้ที่ใช้ทำเสาควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 – 3 นิ้ว ความยาวเท่ากับ ระยะห่างของพื้นกับชั้นล่าง 35 ซ.ม. บวกด้วยระยะห่างระหว่างชั้น 3 ชั้น และให้มีไม้เหลือที่หัวเสาอีกอย่างน้อย 30 ซ.ม. เพื่อตีไม้ขวางยึดแต่ละต๊งให้เชื่อมโยงกันและกัน ไม่ให้ชั้นวางล้ม หรือเอียง เวลารับน้ำหนักมาก ๆ อันนี้สำคัญมาก จะไม่ทำไม่ได้ชั้นคุณจะเอียงไปมา สุดท้ายล้มแน่นอน ผมโดนมาแล้ว เสียอารมณ์มาก เสียกำลังใจด้วย ต้องทำนะครับท่าน
-ระยะห่างของเสาแต่ละต้น เสายิ่งน้อยยิ่งทำงานสะดวก แต่ถ้าห่างไปจะรับน้ำหนักไม่ได้ ขึ้นอยู่กับขนาดความยาวของไม้ที่ใช้ทำคาน และชนิดของวัสดุเพาะ โดยมากไม้ยูคาขนาดยาว 4 เมตร จะมีขนาดของหัวกับท้ายต่างกันอยู่ 1 ใน 3 เพราะฉะนั้น เสาควรห่างกันน้อยกว่า 2 เมตร
-ปลายไม้ทุกชิ้น เวลาตอกตะปูส่วนใหญ่จะแตก ให้เหลือเกินไว้หน่อย เอาลวดทบไว้ 2 เส้นรัดเอาไว้ก่อนแล้วค่อยตีตะปู ชั้นวางของคุณก็จะแน่นหนามาก
-ไม้ที่ใช้ปูรองวัสดุเพาะ เป็นไปได้ให้ใช้ไม้ไผ่หวาน จะทนดีมีปัญหาเรื่องมอดน้อยกว่าตัวอื่น และโคนจะตัน ปลายเวลาจะตีให้เอาลวดรัดไว้เหมือนกัน
-ระยะห่างของไม้ปูรองวัสดุเพาะ ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุเพาะ ที่สำคัญถ้าห่างไปจะทำให้วัสดุเพาะหล่น และถ้าเงินเยอะอยากปูถี่ๆ ก็ควรมีระยะห่างไม้อย่างน้อย 1 นิ้วฟุต เพราะจะต้องเหลือพื้นที่ไว้ให้เห็ดที่ออกดอกใต้ชั้นวางมีพื้นที่ขยายโคน ของผมใช้ฟางเป็นวัสดุรองเพาะ จึงใช้ระยะห่าง 2 นิ้วฟุต ส่วนชั้นล่างสุดผมใช้ระยะห่าง 1 นิ้วฟุต
-หากคุณอยู่ใกล้พื้นที่ที่ทำประมง ถ้าสามารถหาอวนเก่ามาใช้เป็นที่รองวัสดุเพาะ จะประหยัดต้นทุนไม้ที่ใช้ปูรองพื้นได้มากที่เดียว

ในการทำโรงเรือนและชั้น คุณต้องขึ้นโครงโรงเรือนก่อน ทำเสา คาน แปร เส ให้ เสร็จ แล้วเทพื้นปูน ถ้าไม่
เทปูนก็ต้องปรับพื้นไม่ให้น้ำขังอยู่ในโรงเรือน ต้องให้น้ำไหลออก แล้วจึงทำชั้นวาง เสร็จแล้วจึงคลุมผ้าไวนิล
การทำแบบนี้ไม่จำเป็นต้องติดไฟภายในโรงเรือน แสงที่ทะลุโรงเรือนเข้ามาเพียงพอแล้ว ระยะห่างของเสไม่ควรเกิน 1 เมตร เสที่จั่วบนให้อยู่ใต้คาน เสด้านล่างให้อยู่บนคาน เพราะจะทำให้น้ำขังบนหลังคา
จริง ๆ ผมควรวาดรูปให้ดู แต่ไม่มีความรู้ทางคอมว่าจะใช้อะไรวาด ต้องขอโทษด้วยที่อาจจะอ่านแล้วงง สงสัยอย่างไร ถามได้นะครับท่าน อยากให้เป็นประโยชน์แก่เกษตรกรที่ต้องการลงทุนทำงานครับ
ตอนหน้าจะพูดเรื่องเตาอบไอน้ำ
ตอนที่ 6

ในตอนนี้จะพูดถึงเตาอบไปน้ำ อย่างที่เคยบอกไว้ การอบไอน้ำเป็นหัวใจอันหนึ่งที่จะทำให้งานสำเร็จ ถ้าอบไอน้ำไม่ได้ การเพาะเห็ดฟางไม่สามารถประสบผลสำเร็จได้เลย ดังนั้นเรื่องนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญมาก ๆ
การอบไอน้ำ หากพื้นที่โรงเรือนขนาด 30 ตารางเมตร ต้องใช้ถังน้ำมันจำนวน ถัง มากกว่านั้นใช้ ถัง โรงเรือนที่ใช้พื้นที่มากกว่า 70 ตารางเมตร ไม่แนะนำให้ทำ เพราะอบไอน้ำได้ยาก และเกิดผิดพลาดขึ้นมาจะเสียหายมาก และการทำงานจำนวนมากขนาดนั้น ไม่ได้ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลง แต่เพิ่มความยุ่งยากในการทำงานให้มาก การใช้ถังอบไอน้ำ ให้ทำใหญ่กว่าหน่อย ดีกว่าเล็กไปหน่อย เพราะถึงจะเสียค่าใช้จ่ายทำเตาสูง แต่ประหยัดเชื้อเพลิง ครับ การทำอุณหภูมิโดยใช้ ถัง กับ ถัง ในโรงเรือนขนาด50 ตารางเมตร เตา ถังจะประหยัดเชื้อเพลิงมากกว่า 20 เปอร์เซ็น ผมทดลองมาแล้ว ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ประหยัดไม่ได้ ระยะยาวเสียค่าเชื้อเพลิงมาก
การเชื่อมถังอบไอน้ำ
-ใช้ถังน้ำมัน 200 ลิตร ต้องเป็นถังที่ไม่ได้บรรจุสารเคมีอันตราย
-ล้มถังนอนลงเรียงกัน โดยให้รูเติมน้ำหันมาทางเดียวกัน แล้วเชื่อมติดกัน โดยให้รูเติมน้ำช่องใหญ่ขนาด นิ้วฟุด อยู่ในตำแหน่งที่เติมน้ำเต็มได้ 55,65,75 เปอร์เซ็น ตามลำดับ ในการทดลองอบไอน้ำครั้งแรก ให้ทดลองอบโรงเรือนเปล่า ๆ ก่อน โดยไม่ต้องใส่วัสดุเพาะ เติมน้ำให้เต็มที่ถังที่มีรูเติมน้ำในตำแหน่ง 75 เปอร์เซ็น เพราะหลังจากทดลองอบไอน้ำให้ได้อุณภูมิที่ต้องการ และเวลาที่ต้องการแล้ว ให้ดูน้ำว่าเหลือมากน้อยเท่าใด ในการอบไอน้ำจริง ก็ให้ลดน้ำลง ให้เหมาะสม ตามแต่ว่าจะเป็น 55,65 หรือ 75 เปอร์เซ็น หากเติมน้ำที่ 75 เปอร์เซ็น แล้วทำอุณหภูมิไม่ได้ ให้ใช้พัดลมเป่าอากาศช่วยในการให้เชื้อเพลิง จะทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นได้อีก องศา ในโรงเรือนชนาด 70 ตารางเมตร หากใช้แค่ ถัง รูเติมน้ำให้อยู่ในตำแหน่ง 60,75 เปอร์เซ็น
-ในการทดลองอบไอน้ำ ให้สำรวจโรงเรือนที่สร้างไว้ ว่ามีไอน้ำรั่วในตำแหน่งใด ให้ทำการแก้ไช มิฉะนั้น คุณจะทำอุณหภูมิไม่ได้ โดยเฉพาะโรงเรือนขนาดใหญ่ต้องสำรวจอย่างดี เพราะทำอุณหภูมิยาก ใช้เชื้อเพลิงมาก เสียค่าใช้จ่ายสูง
-หลังจากเชื่อมถังติดกันแล้ว ให้เจาะรูด้านบนถัง ทั้ง ถัง ห่างจากขอบด้านก้นถัง 10 ซ.ม. ต่อท่อเหล็ก ขนาดนิ้วฟุต เชื่อมรูทั้ง ถัง เพื่อให้ไอน้ำทั้ง ถังออกในทางเดียวกัน ในท่อเหล็กของถังกลาง ให้ต่อท่อชี้ขึ้นฟ้า ให้ไอน้ำวิ่งขึ้นไป สูงอย่างน้อย 1.5 เมตร เมตรได้ยิ่งดี เพื่อกันไม่ให้น้ำในถังไหลเข้าไปในสายส่งไอน้ำ ทำให้สูญเสียน้ำในถัง จะทำให้น้ำในถังหมดเร็ว และสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง จากนั้นก็ให้ใส่ข้องอ เพื่อให้ทางออกไอน้ำชี้ลงดิน ในบริเวณที่พ้น ตัวเตา ปลายทางออกให้ใส่หางปลา แล้วใช้ปลอกรัดสายยางขนาด นิ้ว รัดสายยางส่งไอน้ำให้ตกห้อยลงมา
-ด้านใต้ถัง ให้เชื่อมถังแบบเดียวกับด้านบน เพื่อให้น้ำในถังทั้ง ใบ ถ่ายเทไปมา โดยให้เชื่อมห่างจากขอบถัง20 ซ.ม ให้เชื่อมยาวลงมา 20 ซ.ม. ส่วนที่เชื่อมนี้ เวลาวางถังบนเตา จะอยู่ในช่องให้เชื้อเพลิง คอยรับความร้อนที่จะวิ่งเข้าหาพนังเตา น้ำที่ร้อนจะวิ่งถ่ายไปมาระหว่างถัง ประหยัดพลังงานและให้ผลดีต่อความร้อนภายในถังมาก ถ้าให้ดีให้เชื่อมโยงไปมาเป็นแผงเรียงกัน แถวเลยยิ่งดีใหญ่ เปลืองหน่อยแต่คุ้มค่าครับ ทำแบบนี้ทั้ง 2ด้านของถัง เท่ากับมีท่อรับความร้อนที่ผนังเตาทั้ง ด้าน ด้านละ แถว
การสร้างเตา
-ให้ก่อผนังเตา ด้าน สูง 25 ซ.ม.
-ความหนาเท่ากับความยาวของอิฐแดง ก่อซ้อนสลับไปมา
-ระยะห่างของผนังเต่า เท่ากับระยะห่างของท่อที่เชื่อมด้านใต้ถัง เสียบลงไป อยู่พอดีชนผนังเตา ด้านใน
-ความยาว เท่ากับความยาวของถังที่เชื่อมต่อกัน บวกด้วย 80 ซ.ม. ฉาบภายในให้เรียบร้อย นำเหล็กข้ออ้อย มาวางพาดระหว่างผนัง เริ่มตั้งแต่ส่วนท้ายของเตาเข้ามา 20 ซ.ม. วางเรียงกันห่าง 20 ซ.ม. ต่อหนึ่งเส้น วางเรียงให้ได้ระยะความยาวของถังที่เชื่อม เหล็กนี้ถ้าใช้เล็กหรือวางห่างเกินไป เวลาถูกความร้อน จะทำให้เหล็กอ่อนลงตกท้องช้างที่กลางเตา ทำให้ใส่เชื้อเพลิงไม่ได้ถึงด้านใน


-ก่อผนังปูนสูงขึ้นอีก 25 ซ.ม. รอให้ปูนแห้ง 1คืน
-ยกถังที่เชื่อมไว้ลงเสียบลงระหว่างผนังเตา ให้ตัวถังนั่งอยู่บนผนังเตาที่ก่อ ห่างจากส่วนท้ายเข้ามา 20 ซ.ม. ก่อนปิดท้ายเตา โดยด้านล่างใต้เหล็กข้ออ้อยให้ก่อปิดท้ายเตาลึกเข้าไป 15 ซ.ม
-หลังจากนั้นให้ก่อปิดท้ายเตา ด้านบนของเหล็กข้ออ้อย โดยให้ก่อเป็นแท่นเว้าเข้าไป ให้เล็กลงจนสามารถวางปล่องไฟได้ ปล่องไฟให้วางไว้สูง 60 ซ.ม. นับจากเหล็กข้ออ้อย และให้วางปล่องไฟไว้ชิดตัวถังมากที่สุด วางเกยถังเลยยิ่งดี เพราะว่าความร้อนที่บริเวนทางออกที่ใช้ตั้งปล่องไฟนั้นสูงมาก ถ้าวางชิดตัวถังจะได้ประโยชน์มาก
-ปล่องไฟ ให้ใช้ท่อใยหิน ถ้าไม่ทำน้ำส้มควันไม้ ก็ให้ปล่องไฟสูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ ยึดสายลวดให้ดีอย่าให้ปล่องไฟล้ม ถ้าสูงมากเท่าไร ก็ยิ่งไม่ต้องใช้พัดลมเป่าอากาศข่วยเวลาให้เชื้อเพลิง ถ้าจะทำน้ำส้มควันไม้ก็ต้องทำปล่องแบบน้ำส้มควันไม้ แต่ต้องใช้พัดลมช่วยเป่าลมเวลาให้เชื้อเพลิง น้ำส้มควันไม้นี้ใช้ทาแก้โรงผิวหนังได้หลายชนิด และใช้ได้ดีมากกับโรงผิวหนังประเภทเชื้อรา คือทำแล้วใช้สด ๆ เลยดีที่สุด ไม่ต้องตั้งรอไว้ให้ตกตะกอนอีก เหลือเก็บไว้ได้ อื่นๆ ผมเห็นประโยชน์น้อย ใช้อย่างอื่นคุ้มค่ากว่าครับ ไม่ยุ่งยาก ถ้าซื้อเอาก็แพง ไม่คุ้ม
-ฉาบปูนปิดล้อมถังด้านข้าง ด้านบน และท้ายให้เรียบร้อย อย่าให้มีควันไฟ ทะลุออกมาได้
-ด้านหน้าเตา เหลือพนังอยู่ 60 ซ.ม. เพื่อกันไม่ให้เปลวไฟเลียออกนอกเตา ให้ก่อพนังสูงขึ้นไป เสมอกับด้านบนของถัง วางเหล็กเส้นเล็ก ๆ ปูด้วยโลหะแผ่นเรียบ เทปูนปิดด้านบน หนา นิ้ว
-นำเหล็กเส้น หนา ซ.ม. ยาวเท่ากับ ความยาวของถัง บวกด้วย 60 ซ.ม.
-ดัดปลายหนึ่งขึ้นเป็นมุม 40 องศา ที่ตำแหน่ง ความยาว 60 ซ.ม. นำเหล็กมาขวางเชื่อมต่อกันเป็นแพ ระยะห่างระหว่างเส้น 1.5 ซ.ม. ถ้าห่างกว่านี้ เศษเชื้อเพลิงจะหล่นไปใต้เตามาก
-ความกว้างของเหล็กที่เชื่อมเป็นแพ ให้พอเสียบเข้าออกเหนือเหล็กข้ออ้อยได้สะดวก
-เหล็กที่ดัดขึ้น จะอยู่หน้าเตา เวลาใส่เชื้อเพลิง เชื้อเพลิงจะตกไปอยู่ใต้ถังแรกพอดี
ผมไม่ใช้สถาปนิกในเรื่องเตา แต่จากการก่อเตาแล้วรื้อทิ้งทำใหม่ เที่ยว ทำให้ผม
ได้รูปแบบเตานี้มา ใช้เงินซื้อของประมาณ 6,500 บาท ใช้ถัง ใบ ไม่รวมค่าแรง ทดลองดูแล้วใช้กับโรงเรือนขนาด 60 ตารางเมตร ทำอุณหภูมิได้สูงสุด 73 องศา ได้โดยไม่ต้องใช้พัดลมเป่าอากาศช่วย เชื้อเพลิงใช้ฟืนครับ ถือว่าใช้งานได้ ถ้าใครมีรูปแบบที่ดีกว่านี้ช่วยบอกด้วยนะครับ จะได้เป็นทางเลือกให้เกษตรกร
ผมเสียดายที่ไม่มีรูป และไม่สามารถพอที่จะใช้คอมเขียนแบบ ท่านผู้ใดอ่านแล้วเข้าใจ ช่วยกรุณาเขียนรูปส่ง E-mail ให้หน่อยจะเป็นพระคุณอย่างสูง ถ้าแบบผิดผมบอกแก้ไขให้ครับ ถ้าอ่านแล้วไม่เข้าใจก็ E-mail มาถามได้นะครับ จะได้คุยกันในส่วนที่ไม่เข้าใจ
เชื้อเพลิง
โดยส่วนตัว ผมไม่แนะนำให้ใช้ยางรถยนต์เป็นเชื้อเพลิงครับ เพราะมีกลิ่น ควัน มาก และตัวคุณเองก็เสียสุขภาพด้วย การทำเห็ดฟางดีอย่างคือไม่ต้องยุ่งกับสารเคมีที่เป็นอันตรายกับมนุษย์เลย และในบริเวณรอบนอกโรงเรือนในระยะ 50 เมตร ห้ามใช้ยาฆ่าเชื้อรา ยาฆ่าหญ้า ในเรื่องแมลงนั้นถ้าทำความสะอาดสถานที่เพาะเลี้ยงอยู่เป็นประจำ จะไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่อง มดและแมลง ดังนั้นการเป็นเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงเห็ดฟาง จึงเป็นเกษตรกรที่เหนื่อยแบบได้ตัง และปลอดภัยมาก ๆ เพราะฉะนั้นไหน ๆ ก็ ไหน ๆ ยางรถยนต์ผมไม่ส่งเสริมครับ
ค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิง ถ้าโรงเรือนขนาด 30 ตารางเมตร ใช้จ่ายมากกว่า 250 บาท ถือว่าใช้ไม่ได้ ต้องหาตัวเลือกตัวอื่นเป็นเชื้อเพลิงครับ ซึ่งผมแนะนะเชื้อเพลิงดังนี้ครับ
1.ฟืน
2.ไม้พาเลท อัดแท่ง อันนี้ถ้าเสียค่าขนส่งสูงไม่น่าใช้
3.ถ้าท่านใดอยู่ในแหล่งที่มีการเผาถ่าน ให้นำดินเหนียว ส่วน แป้งมัน ส่วน ผสมน้ำให้เหลว พอเหนียว ใช้เศษถ่านมาคลุกเคล้าพอปั้นให้ขึ้นรูปได้ นำไปตากแดด ถ้าใช้ดินในหลุมเผาถ่านก็ได้แต่ให้ลดดินเหนียวลง ผสมให้พอขึ้นรูปได้เป็นพอ อันนี้ใช้ดีกว่า ฟืน แต่ไม่ดีเท่า ไม้พาเลทอัดแท่ง ในการอบไอน้ำ ในขี้เถ้าจะมีเศษถ่านบางส่วน ถ้าร่อนเอาไว้ใช้ก็จะเป็นการประหยัด แถมให้ไฟที่ดีด้วยครับ
ขี้เถ้าที่ได้จากเตา เวลาขนวัสดุเพาะที่ใช้แล้วไปกองเป็นปุ๋ยหมัก ให้ผสมขึ้เถ้าเป็นชั้นบาง ๆ จะทำให้กลิ่นลดน้อยลง และบนสุดของกองปุ๋ยหมัก ให้โรยขี้เถ้าทับไว้จะทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องแมลงครับ สถานที่ ๆ ใช้กองปุ๋ยหมักไม่ควรอยู่ในที่ร่ม แดดจะช่วยกลิ่นหายเร็วและย่อยสลายได้เร็วขึ้น
หากท่านใดมีปัญหาอะไรถามได้นะครับ คนที่เริ่มเพาะเห็ดฟางใหม่ ๆ จะมีปัญหาตัวเดียวกันเสมอ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไร เพราะหาแหล่งความรู้ทางวิชาการไม่ได้ บางปัญหาบางทีถามแล้วได้คำตอบในการแก้ไข 2 – 3 ทาง ไม่รู้จะแก้ไขแบบไหนจึงจะถูกต้องเพราะไม่รู้เหตุผลของปัญหา ทำให้แก้ปัญหาไม่ตรงจุด เลยไม่ประสบผลสำเร็จ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น