Translate

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

วัสดุเพาะขึ้นชั้น


         การกองวัสดุเพาะในโรงเรือน ขั้นตอนนี้ผู้ให้ความรู้ส่วนใหญ่เพียงแต่บอกว่าให้ปูฟางหนาเท่านั้น กองวัสดุเพาะหนาเท่านี้แล้วก็จบ จริง ๆ แล้วสำหรับผู้เพาะเลี้ยงรายใหม่ 80 เปอร์เซ็นต์ ล้มเหลวเพราะกองวัสดุเพาะในโรงเรือนไม่ถูกต้อง
        
             การปูฟางรองวัสดุเพาะ ในชั้นบนสุดให้ใช้ฟางหนากว่าชั้น อื่น ๆ กว่า 1-2 นิ้วฟุต และในชั้นล่างให้ใช้ฟางน้อยกว่าเช่นเดียวกัน เพราะความร้อนชั้นบนร้อนกว่าเนื่องจากความร้อนของหลังคา ทำให้ความชื้นน้อยกว่าครับ  การกองวัสดุต้องปูฟางลองให้ครบทุกชั้นก่อน จากนั้นให้กองวัสดุเพาะจากชั้นบนลงมาชั้นล่าง โดยให้รดน้ำที่ฟางให้ชุ่มทุกชั้นแต่ไม่ให้หยดทิ้งมาก ก่อนกองวัสดุเพาะให้ทำทีละแถวหรือที่ละต๊งครับ 
วัสดุเพาะมี ส่วน คือส่วนที่ปูรองวัสดุเพาะ กับตัววัสดุเพาะ
วัสดุที่ปูรองวัสดุเพาะ
          ส่วนใหญ่จะใช้ฟางข้าว หากคุณมีไม่กี่โรงเรือนและไม่มีปัญหาเรื่องแรงงาน คุณควรจะมักวัสดุปูรองโดยนำฟางแช่น้ำ 1คืน จากนั้นนำขึ้นสะเด็ดน้ำ ให้แห้ง อัดลงในกระบะหมัก ฐานกว้างยาว ด้านละ เมตร สูง เมตร ด้านบนกว้างยาวด้านละ 80ซ.ม. เพื่อให้ถอดกระบะออกได้ง่าย เหยียบอัดฟางให้แน่น แล้วถอดกระบะออก ใช้ E.M. 500 c.c. ผสมปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16กับปุ๋ยยูเรีย ในอัตราส่วน ต่อ น้ำหนัก ขีด ผสมน้ำ ลิตร รดให้ทั่วด้านบน คลุมผ้าทิ้งไว้ คืน และก่อนนำไปใช้จะต้องทำการกลับกองเพื่อให้แก๊สแอมโมเนียระเหยออกไป การหมักวัสดุปูรองจะทำให้กองเพาะคุณสามารถเก็บความชื้นได้ดีขึ้น และช่วยเพิ่มผลผลิตให้คุณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ นี่เป็นประสบการณ์ที่ผมเคยใช้ครั้งแรกนะครับแต่ปัจจุบันไม่ใช้แล้วเพราะความขี้เกียจครับ

วัสดุเพาะ
          หลังจากที่คุณหมักวัสดุเพาะเรียบร้อยแล้ว หากคุณมีเครื่องตีป่น ก็ให้ตีป่นวัสดุเพาะ แต่ถ้าไม่มีในการกลับกองแต่ละครั้ง คุณจะต้องพยายามทำให้กากมัน  แกลบ และวัสดุอื่น ๆ เข้ากันให้มากที่สุด การตีป่นวัสดุเพาะไม่ได้ทำให้คุณประหยัดวัสดุเพาะ แต่ประหยัดแรงงานในการกลับกองเพาะ หากคุณทำโรงเรือน โรงเรือนขึ้นไปควรจะมีไว้ใช้
ปกติวัสดุปูรองเป็นแหล่งเก็บความชื้นให้กับกองเพาะ หากปูรองน้อยเกินไปจะทำให้กองเพาะแห้ง ปูมากไปไม่มีผลเสียแต่เปลือง ปกติให้ปูรองหนา 4-5 นิ้ว ทุกฤดู หลักจากปูเรียบร้อยแล้วให้รดน้ำให้ชุ่ม จากนั้นให้ปูวัสดุเพาะทับหน้า ส่วนว่าจะหนาเท่าไร ขึ้นอยู่กับอายุการหมักวัสดุเพาะ ชนิดของวัสดุเพาะ ความชื้นของวัสดุเพาะ และอุณหภูมิของอากาศ ปกติให้กองหนา 4-5 นิ้ว แล้วให้จับอุณหภูมิในกองเพาะตอนตี หรือตี ว่าอุณหภูมิในกองเพาะสูงถึง 41 องศาหรือไม่ (ไม่ใช่อุณหภูมิภายในโรงเรือน) ถ้าไม่ได้ให้กองเพิ่มให้หนาขึ้น หากอุณหภูมิภายในกองเพาะน้อยกว่า 38 องศา จะทำให้เห็ดเกิดน้อยมาก ถ้าหมักวัสดุเพาะถูกต้องกองวัสดุเพาะหนาเพียงพอ จะสามารถเก็บดอกเห็ดได้ 2 - 3.5 ก.ก. ต่อตารางเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บเห็ด หากเก็บเห็ดแค่ รอบจะได้ไม่น้อยกว่า 2 – 2.5 ก.ก. ต่อตารางเมตรครับ
หลังจากปูวัสดุเพาะแล้ว ให้ปิดโรงเรือนให้สนิท เพื่อเลี้ยงเชื้อราต่อ อุณหภูมิในโรงเรือนจะอยู่ประมาณ 42-50 องศา ถ้าทำทุกอย่างถูกต้อง จะเมื่อเห็นว่าวัสดุเพาะเป็นผ้าบาง ๆ ตามผิววัสดุเพาะคล้ายสำลีอยู่ทั่ว ถือว่าใช้ได้ จำนวนวันที่เลี้ยงเชื้อราให้ดูจากผ้าบาง ๆ เกิดขึ้นทั่วแล้ว ผ้าจะขึ้นเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับอุณหภูมิภายในโรงเรือนเป็นหลัก ส่วนใหญ่จะอยู่ประมาณ 2-3 วัน 


 
ตอนต่อไปจะพูดถึงวิธีการอบไอน้ำฆ่าเชื้อ อันนี้เป็นพระเอกของงานเพาะเลี้ยงเห็ดแบบโรงเรือนครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น