Translate

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

การให้หัวเชื้อ

การให้หัวเชื้อ
หัวเชื้อที่จะใช้ ต้องตรวจดูก่อนว่าไม่มีสีดำ สีเขียว ถ้าสังเกตดี ๆ จะเห็นเป็นเชื้อรา ให้ทิ้งไปเลยทั้งถุงอย่าเสียดาย เมื่อตรวจหัวเชื้อเรียบร้อยแล้ว ให้อาบน้ำล้างมือให้สะอาด ทำความสะอาดกระมังที่พอใส่หัวเชื้อ 4 ถุง ให้ฉีกหัวเชื้อเป็นขิ้นเล็กที่สุด อย่าใช้วิธีการขยี้เพราะจะทำให้เส้นใยช้ำ ที่ให้ทำทีละ 3 ถุงเพราะว่าถ้าหัวเชื้อติดเชื้อราอื่นจะได้ไม่กระจายออกไปมาก หลังจากฉีกเสร็จแล้วให้ใช้แป้งข้าวเหนียว ให้แน่ใจว่าสะอาดก็พอ 2 ช้อนโต๊ะ (แป้งเป็นแหล่งคาร์บอนที่มีผลต่อการเจริญเติบโตสูงที่สุด)
ผสมคลุกเคล้าให้ทั่ว นำไปโรยให้ทั่วแปลงเพาะ การโรยให้โรยห่างจากขอบวัสดุเพาะลึกเข้าไป 4 – 5 นิ้วฟุต และกะให้โรยพอดีหมดใน 3 - 4 ตารางเมตร

หลังจากให้หัวเชื้อเรียบร้อยแล้ว ให้ใช้ E.M. 300 c.c วิตามินบี 1 (Thiamime มีผลเร่งการเจริญของเส้นใย) ซื้อได้ที่ร้านขายยา 1 เม็ด ผสมน้ำ 5 ลิตร น้ำที่ใช้ต้องให้แน่ใจว่าสะอาดไม่มีคลอรีน ถ้าใช้น้ำประปาต้องขังน้ำทิ้งไว้ 5 วัน ให้ดีรองน้ำใส่โอ่งใหญ่ทิ้งไว้เลยเอาไว้ใช้กับเห็ดโดยเฉพาะ เมื่อผสมกันแล้วใช้รดลงแปลงเพาะกะให้หมดใน 5 ตารางเมตร น้ำที่ใช้รดนี้ถ้าโดยหัวเชื้อจะทำให้มันยุบตัวแนบติดกับวัสดุเพาะ และน้ำจะพาเชิ้อเขากองเพาะ ถ้ารดแล้วยังมีส่วนที่ยังไม่ยุบก็ให้เพิ่มน้ำเข้าไปอีก หัวเชื้อที่ไม่ถูกน้ำส่วนใหญ่จะให้เส้นใยน้อยและแห้งเกินไป แต่ต้องระวังให้ดีอย่าให้จนวัสดุเพาะเปียกมากเกินไปจะทำให้เชื้อเดินเข้าไปในวัสดุเพาะได้ไม่ดี
หลังจากให้หัวเชื้อเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้เห็ดสร้างเส้นใยเห็ด จะต้องปิดโรงเรือนให้สนิท เพื่อไม่ให้ไนโตรเจนซึ่งอยู่ในกองเพาะสูญเสียไป (ไนโตรเจนเห็ดจะใช้ในการสร้างเส้นใย) ในระหว่างนี้อุณหภูมิในโรงเรือนจะลดลงไปเรื่อย ๆ ให้รักษาอุณหภูมิในโรงเรือนไว้ที่ 34-38 องศา อย่าให้อุณหภูมิสูงกว่านี้ ถ้าสูงกว่าให้เปิดช่องลงเพื่อลดอุณหภูมิ จนได้ที่แล้วต้องรีบปิด ถ้าทุกอย่างถูกต้อง หลังจากให้หัวเชื้อแล้ว 6 ช.ม. จะเห็นเส้นใยเห็ดเริ่มเดิน ถ้าผ่านไป 12 ช.ม. แล้วยังไม่เห็นเส้นใยเห็ดเดิน หรือเดินน้อย ก็เตรียมใจได้ครับ ต้องมีขั้นตอนใดพลาดไป สาเหตุมีหลายอย่างเช่น
-วัสดุเพาะเป็นกรดสูง อาจจะเนื่องมาจาก หมักนานไป หรือกลับกองวัสดุเพาะน้อยเกินไป
-ฟ่างมีสารตกค้าง เช่น ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าเชื้อรา ตอนแช่ฟางต้องย่ำด้วย หลังจากแช่ไว้ 1 คืนให้สะเด็ดน้ำทิ้งให้แห้งก่อนนำมาใช้
-หัวเชื้อไม่ดี เขาเรียกว่าเชื้อเป็นหมัน
-อุณหภูมิภายในกองเพาะต่ำกว่า 36 องศา อุณหภูมิในกองเพาะนี้ เป็นตัวตัดสินใจว่าจะเก็บเห็ดต่อไปหรือไม่ ถ้าต่ำกว่า 36 องศา เก็บเห็ดเสร็จรอบแล้วก็รื้อทิ้งได้เลยครับ ถึ่งเกิดก็ไม่มากแล้ว ยกเว้นแต่คุณมีโรงเรือนมาก อยากจะเก็บต่อไปขายได้วันละ 100 - 300 บาทต่อวัน ก็ตามใจแต่ถ้านานมากไปจะมีแมลงไรนะครับ
-วัสดุเพาะที่กองบนชั้นต้องกองให้หนาแต่ไม่ใช่แน่น ถ้าแน่นแล้วจะเกิดก๊าซซึ่งเป็นพิษกับเห็ด
-กองเพาะเปียกเกินไป เรื่องแห้งไปไม่เป็นเพราะให้น้ำตอนให้หัวเชื้อ
ตอนต่อไปจะพูดเรื่องการตัดเส้นใยเห็ดครับ ใครที่ทดลองเพาะแล้ว นำมาเล่าให้ฟังกันบ้างนะครับ คนอื่นจะได้รู้ปัญหาด้วย

1 ความคิดเห็น: